เส้นเลือดฝอย
เป็นเส้นเลือดฝอยที่ใกล้ผิวหนังรวมกันเป็นกลุ่มเป็นสีแดงหรือเขียวทำให้เห็นได้ สามารถเกิดได้ทุกที่แต่ที่พบบ่อยคือ หน้า ต้นขา น่อง เส้นเลือดนี้ไม่มีผลต่อสุขภาพ
สาเหตุเส้นเลือดฝอยขอด
ยังไม่มีใครทราบแน่นชัดเชื่อว่าเป็นผลจากฮอร์โมน กรรมพันธุ์ การตั้งท้อง คนอ้วน การทำงานที่ต้องนั่งหรือยืนนาน ภาวะนี้พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย หรือเกิดจากความผิดปกติของลิ้นหลอดเลือดดำ
เส้นเลือดฝอยนี้ต่างจากเส้นเลือดขอดอย่างไร
เส้นเลือดฝอยเป็นเส้นเลือดที่อยู่ใกล้ผิวหนังขนาดของเส้นเลือดไม่ใหญ่ อาการปวดเท้าไม่มาก แต่เส้นเลือดขอดมักเป็นเส้นเลือดใหญ่ หลอดเลือดจะโป่งมาก มีอาการปวดมากกว่า มีโรคแทรกซ้อนมากกว่า
เราสามารถป้องกันเส้นเลือดฝอยนี้ได้หรือไม่
ผู้ป่วยส่วนหนึ่งไม่สามารถป้องกันได้แต่มีผู้ป่วยบางส่วนสามารถป้องกันได้โดยพัน elastic bandage ตั้งแต่ข้อเท้าไปถึงบริเวณเข่า การออกกำลังกายจะช่วยให้ระบบไหลเวียนดีขึ้น การควบคุมน้ำหนักให้ปกติจะช่วยลดความดันในหลอดเลือดดำ การรับประทานอาหารที่มีใยสูง การใส่รองเท้าส้นเตี้ย รวมทั้งการทาครีมกันแดดซึ่งจะช่วยบรรเทา
ปัจจัยที่ทำให้เส้นเลือดขอดเป็นมากขึ้น
- อายุมากขึ้นลิ้นที่หลอดเลือดก็อ่อนแอตามอายุ
- การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน เช่น วัยรุ่น ตั้งครรภ์ วัยหมดประจำเดือน
- การตั้งครรภ์ เนื่องจากปริมาณเลือดเพิ่มขึ้นทำให้หลอดเลือดดำมีการขยาย นอกจากนั้นมดลูกที่มีขนาดใหญ่ก็กดหลอดเลือด
- อ้วน
- การยืนนานหรือการนั่งงอขาทำให้หลอดเลือดมีเลือดคั่งมาก
- การถูกแสงแดดโดยเฉพาะบริเวฯหน้าและจมูก
เส้นเลือดฝอยมักจะพบร่วมกับโรคอะไรบ้าง
เส้นเลือดฝอยใยแมงมุมมักจะพบในผู้ป่วยที่มีฮอร์โมน estrogenสูงได้แก่
- การตั้งครรภ์
- ตับแข็งจากสุรา
- โรคตับแข็งจากตับอักเสบ
การรักษาหลอดเลือดฝอยใยแมงมุม
การฉีดเคมีเข้าหลอดเลือด
วิธีการคือแทงเข็มเข้าหลอดเลือด และฉีดสารเคมีเข้าหลอดเลือด สารเคมีนี้จะระคายเคืองผนังหลอดเลือดซึ่งในที่สุดหลอดเลือดจะแฟบและสีจะจางลงเรียกว่า Sclerotherapy
การทำ Laser
เป็นการยิงลำแสงLaser ไปยังหลอดเลือดเป้าหมาย ลำแสงเลเซอร์จะทำให้หลอดเลือดดำแฟบและในที่สุดจะจางหายไป อ่านการทำ Laser หลอดเลือดฝอย
การดูแลตัวเองหลังการรักาา
สัปดาห์แรกหลังการรักษา
- แนะนำให้ใส่ถุง suppor 3-6 สัปดาห์หลังทำ
- หลีกเลี่ยงการยกของหนัก การวิ่ง การกระโดด
- บริเวณที่รักษาอาจจะมีรอยจ้ำเขียว
- อย่ายืนหรือนั่งท่าเดียวเกิน 2 ชั่วโมง
- แนะนำให้เดิน
ภายในหนึ่งเดือน
- รอยช้ำจะจางลง
- สีของหลอดเลือดขอดจะจางลง
- ออกกำลังกายได้ตามปกติ
- อย่านั่งหรือยืนท่าเดียวเกิน 2 ชั่วโมง
การเตรียมตัวก่อนการรักษา
- หลีกเลี่ยงยากลุ่ม NSAID ยาสมุนไพร
- หยุดสูบบุหรี่
- รับประทานยาเท่าที่จำเป็น
ผลข้างเคียงของการรักษามีอะไรบ้าง
- ปวดบริเวณที่ฉีด บางรายเป็นตะคริวอาการจะหายไป 10-15 นาทีหลังฉีด
- ผิวที่ฉีดจะแดงอาการนี้จะหายไปในไม่กี่วัน
- เส้นสีน้ำตาลซึ่งเกิดจากธาตุเหล็กในเลือดรอยแนวสีน้ำตาลนี้อาจจะหายใน 1 ปี แต่บางรายอาจจะอยู่ได้หลายปี
- เกิดหลอดเลือดฝอยใหม่ได้
- แผลเจ็บปวดบริเวณที่ฉีดเนื่องจากการรั่วของสารเคมีหากมีอาการดังกล่าวรีบแจ้งแพทย์
- รอยจ้ำเขียวเนื่องจากเลือดออกใต้ผิวหนังอาการนี้หายเองได้
- บางรายอาจจะเกิดการแพ้สารเคมี
- มีการอักเสบของเส้นเลือดทำให้ปวดเส้นเลือด
หลังการรักษาจะกลับเป็นซ้ำหรือไม่
มีโอกาสเป็นใหม่ได้ทั้งเส้นเลือดขอดและเส้นเลือดฝอย
วิธีการฉีด sclerotherapy |
ก่อนฉีด |
หลังฉีด 1 เดือน |
หลังฉีด 3 เดือน |
การป้องกันเส้นเลือดขอด
เส้นเลือดขอดไม่สามารถป้องกันได้ 100 % แต่สามารถป้องกันมิให้หลอดเลือดใหญ่ขึ้น หรือการเกิดเส้นเลือดขอดใหม่
- หลีกเลี่ยงแสงแดด และสวมเครื่องป้องกันแสงแดดโดยเฉพาะบริเวณบนใบหน้า
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอเพื่อให้ระบบไหลเวียนดีขึ้นโดยเฉพาะส่วนเท้าสองข้าง
- อย่าให้อ้วน
- ไม่ควรนั่งไขว่ห้าง
- ยกเท้าสูงทุกครั้งที่มีโอกาศ
- อย่านั่งหรือยืนนาน หากต้องนั่งนาน ให้มีการลุกขยับทุกครึ่งชั่วโมง
- ไม่นุ่งกางเกงที่รัดบริเวฯขาหนีและย่อง
- หลีกเลี่ยงการใส่ส้นสูงเป็นเวลานาน
- ลดอาหารเค็ม ให้รับประทานอาหารที่มีใยอาหาร
เส้นเลือดขอดและ spider veins อันตรายหรือไม่
เส้นเลือดใยแมงมุม Spider veins ไม่ค่อยมีปัญหาต่อสุขภาพจะมีเพียงทำให้เกิดความรำคาญที่เท้าเท่านั้น เช่นคัน หรือปวดแสบร้อน
ส่วนเส้นเลือดขอดอาจจะไม่มีปัญหาหรืออาจจะมีปัญหาต่อสุขภาพซึ่งอาจจะรุนแรงได้
- แผลที่เท้าเนื่องเป็นเส้นเลือดขอดอย่างยาวนาน แผลนี้จะรักษายากหากไม่ไดซ่อมหลอดเลือด
- เลือดออก เนื่องจากหลอดเลือดขอดขะโป่งพอง และมีผนังบางทำให้เกิดการฉีกขาดได้ง่าย
- หลอดเลือดที่ผิวอักเสบ Superficial thrombophlebitis เนื่องจากมีลิ่มเลือดอุดเส้นเลือดที่ผิวหนัง
- ลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดดำใหญ่ Deep vein thrombosis หรือที่เรียกว่าโรคชั้นประหยัด ซึ่งจะมีอาการบวมแดงบริเวณน่อง กดเจ็บบริเวณน่อง
แผลที่เท้า |
หลอดเลือดที่ผิวอักเสบ |
|
เส้นเลือดขอด | เส้นเลือดฝอย | การผ่าตัดแก้เส้นเลือดขอด | เส้นเลือดขอดที่ขา