เส้นเลือดขอดที่เท้า varicose vein

เส้นเลือดดำที่เท้าจะมีสองระบบคือเส้นเลือดดำที่ผิวเรียก superficial vein จะนำเลือดจากผิวหนังไปสู่ระบบที่สองคือเส้นเลือดดำที่อยู่ลึกเรียก deep vein ซึ่งนำเลือดกลับสู่หัวใจ โดยมีการบีบตัวของกล้ามเนื้อ เป็นตัวไล่เลือดจากขาไปเส้นเลือดดำใหญ่ในท้อง โดยมีลิ้นๆกั้นเลือดมิให้ไหลกลับ หากลิ้นดังกล่าวเสียซึ่งอาจจะเกิดจากโรคของ valve เอง หรือจากการเสื่อมตามอายุทำให้ไม่สามารถกั้นเลือดไหลกลับเลือดจึงค้างอยู่ในหลอดเลือดดำ จึงเกิดโป่งพองโดยมากเกิดในผู้หญิงอายุ 30-70 ปี

เส้นเลือดโป่งและคด

เส้นเลือดที่ผิวและเส้นเลือดลึก

แสดงลิ้นหลอดเลือดดำรั่ว




สาเหตุของเส้นเลือดขอดและเส้นเลือดฝอย

  1. มีความผิดปกติของลิ้นในหลอดเลือดดำ
  2. เป็นกรรมพันธุ์
  3. มีการอักเสบของหลอดเลือดดำ thrombophlebitis
  4. ปัจจัยส่งเสริมเช่น การยืน การนั่งนานๆ 
  5. คนท้อง
  6. อายุมากมีการหย่อนของลิ้นหลอดเลือด
  7. การผ่าตัดโดยเฉพาะบริเวณสะโพก
  8. ผู้ป่วยหัวใจวาย

 

เส้นเลือดขอดและเส้นเลือดฝอยจำเป็นต้องรักษาหรือไม่

ไม่จำเป็นต้องรักษาการรักษาเป็นเพียงในแง่ความงามเท่านั้น

ปัจจัยที่ทำให้เกิดเส้นเลือดขอด

  • อายุมากจะเพิ่มอุบัติการณ์ของการเกิดเส้นเลือดขอด
  • ประวัติครอบครัวเป็นโรคนี้ก็จะมีความเสี่ยงเพิ่ม
  • การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน เช่นวัยรุ่น การตั้งครรภ์ หรือวัยทอง แม้กระทั่งการรับประทานยาคุมกำเนิดก็จะส่งเสริมทำให้เกิดเส้นเลือดขอด
  • การตั้งครรภ์ เนื่องจากมีปริมาณเลือดมาก และมดลูกกดหลอดเลือดทำให้เกิดเส้นเลือดขอด อาการจะดีขึ้นหลังคลอด 3 เดือน
  • อ้วน
  • การนั่งหรือยืนนานๆ
  • การสัมผัสแสงนานๆก็จะเกิดเส้นเลือดฝอยที่ใบหน้า

อาการของเส้นเลือดขอดที่เท้า

 

พบผิวหนังสีน้ำตาล

 

แผลที่เกิดจากเส้นเลือดขอด

  1. ปวดเท้าปวดหนักๆ ตึงๆ
  2. อาจจะเกิดตะคริวของกล้ามเนื้อ
  3. เห็นเส้นเลือดดำพอง
  4. บวมหลังเท้า
  5. เลือดไปเลี้ยงผิวหนังน้อยลง ผิวหนังบริเวณข้อเท้าจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ผิวบาง แห้งและค่อนข้างแข็ง
  6. หากมีการคั่งของน้ำมากๆ อาจจะเกิดการอักเสบของผิวหนังที่เรียกว่า stasis eczamaซึ่งจะมีอาการคัน หรืออาจจะเกิดแผล
  7. เลือดออกจากเส้นเลือดขอด

การนั่งหรือยืนนานๆจะทำให้อาการดังกล่าวเป็นมากขึ้น

เมื่อไรจะต้องไปพบแพทย์

  • เส้นเลือดขอดบวมขึ้น แดง ร้อนและกดเจ็บ
  • มีแผลหรือผื่นบริเวณข้อเท้า
  • ผิวหนังบริเวณเท้า หน้าแข้งและข้อเท้าหนาตัวและมีสีคล้ำ
  • มีเลือดออกจากเส้นเลือดขอด
  • อาการของเส้นเลือดขอดรบกวนคุณภาพชีวิต
  • ภาพที่ปรากฎหน้าเกลียด

เส้นเลือดดำโป่งมีกี่ชนิด

  • หลอดเลือดดำใหญ่โป่งมักจะเห็นโป่งนูนขึ้นมาชัดเจน สามารถคลำได้เป็นลำ โดยมากจะมีขนาดเกิน 4 มม
  • หลอดเลือดเล็กซึ่งจะทำให้เห็นเป็นใยแมงมุม คลำไม่พบใักจะพบบริเวณต้นขา ข้อเท้า เท้า อาจจะพบที่หน้า ทางการแพทย์เรียก telangiectasias.
ชนิดของหลอดเลือดดำโป่ง
หลอดเลือดดำใหญ่
เส้นเลือดขอด
หลอดเลือดเล็ก

 

การวินิจฉัย

  • หากพบเห็นหลอดเลือดดำพองและบิดขดตำแหน่งที่พบบ่อยคือบริเวณน่องก็สามารถวินิจฉัยได้
  •  บางรายอาจจะใช้ doppler ultrasound
  • การฉีดสีเข้าหลอดเลือดดำที่เรียก venogram

การดูแลตัวเอง

  1. การออกกำลังกาย การเดินเป็นวิธีดีที่สุดจะเป็นการทำให้การไหลเวียนดีขึ้นแพทย์จะแนะนำวิธีการออกกำลังกายที่เหมาะสม
  2. ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
  3. ให้สวมรองเท้าส้นเตี้ยซึ่งจะเพิ่มการไหลเวียนของเลือด หลีกเลี่ยงการใส่กางเกงที่ฟิตๆ
  4. ให้ยกขาสูงครั้งละ10-15 นาที วันละ 3-4 ครั้งโดยยกสูงระดับหน้าอก หรือยกขาสูงเมื่อนอนหรือนั่ง
  5. หลีกเลี่ยงการยืนหรือนั่งนานๆ
  6. ใช้elastic bandage พันตั้งแต่ข้อเท้าถึงบริเวณเข่า
  7. ห้ามนั่งไขว่ห้าง
  8. ห้ามสวมชุดที่คับเกินไปโดยเฉพาะบริเวณเอว ขาหนีบ
  9. ลดอาหารเค็มเพื่อป้องกันอาการบวม
  10. ถ้าหากต้องนั่งนานให้ลุกเดินทุกชั่วโมง และขณะนั่งให้บริหารข้อเท้าตามเข็มและทวนเข็มนาฬิกาสลับกัน เหยียดเท้าและกระดกเท้าทำสลับกัน

เป็นเส้นเลือดขอดอันตรายหรือไม่

ทั้งเส้นเลือดขอด และเส้นเลือดฝอยมักจะไม่ก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพ แต่ก่อให้เกิดความรำคาญ เช่น เท้าหนัก คัน แต่ก็อาจจะทำให้เกิดปัญหาได้

  • แผลที่เท้าซึ่งหายยากเนื่องจากการคั่งของเลือดเป็นระยะเวลานาน
  • เลือดออก เนื่องจากผิวหนังบริเวณเส้นเลือดขอดจะบาง ทำให้เกิดแผลและเลือดออกง่าย
  • เส้นเลือดดำอักเสบ เนื่องจากเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดฝอย
  • ลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ ทำให้เท้าบวม และมีอาการปวด หากมีลิ่มเลือดหลุดลอยไปที่ปอดก็จะเกิดปัญหาอันตราย

จะไปพบแพทย์เมื่อไร

  • เส้นเลือดขอดโป่งพองมาก ผิวหนังแดง และเจ็บ ผิวอุ่น แสดงว่ามีการอักเสบ
  • เกิดแผลและผื่นใกล้กับข้อเท้า
  • ผิวหนังบริเวณข้อเท้าและน่องหนาและมีการเปลี่ยนสีผิว
  • เลือดออกจากเส้นเลือดขอด
  • ปวดน่องมาก

การรักษาเส้นเลือดขอดมีกี่วิธี

จุดประสงค์ของการรักษา

  • เพื่อบรรเทาอาการ
  • เพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อน
  • เพื่อทำให้ดูดี

เส้นเลือดขอดที่เท้ารักษาอย่างไร

ที่นิยมใช้การฉีดสารเคมีที่ระคายต่อผนังหลอดเลือดทำให้ผนังหลอดเลือดบวม เลือดในหลอดเลือดแข็งในที่สุดหลอดเลือดนั้นจะตีบตันเรียก sclerosing therapy

จุดประสงค์ของการรักษาเส้นเลือดขอดมีดังนี้

  • บรรเทาอาการ
  • ป้องกันโรคแทรกซ้อน
  • ทำให้ดูดี

แพทย์จะแนะนำการปรับพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดหลอดเลือดขอด หากโรคมีอาการมากแพทย์จะแนะนำการรักษาดังนี้

การใส่ถุง Support

การใส่ Support มีอยู่ด้วยกันหลายชนิด การใส่ Support เพื่อเพิ่มแรงดันต่อหลอดเลือดมิให้โป่งพอง ชนิดทางการแพทย์จะดีที่สุดเพราะสามารถเพิ่มแรงดันต่อหลอดเลือดได้ดี การวัดขนาดควรจะวัดในขณะที่เท้าไม่บวม support นี้ควรจะใส่ทุกครั้งที่ยืน ถุง support มีด้วยกัน 3 ชนิดได้แก่

1ถุง support ทั่วไปที่ระดับความดันเท่าๆกันทั้งถุง
2ถุง support ที่ขายตามร้านขายยา ร้านค้าทั่วไปที่ให้ความดันต่างกันบ้าง
3มีขายตามร้านขายยา

 

การฉีดสารเคมีที่มำให้หลอดเลือดตีบ Sclerotherapy

เป็นวิถีการรักาาที่ได้ผลทั้งหลอดเลือดขอด และหลอดเลือดฝอยใยแมงมุม วิธีการแพทย์จะแทงเข็มฉีดยาเข้าไปยังหลอดเลือดที่ต้องการรักษา และฉีดสารเคมีเข้าไป สารเคมีนี้จะทำให้ผนังหลอดเลือดบวม และติดกันทำให้เลือดไม่สามารถผ่านไปได้ เพียง2-3 สัปดาห์หลอดเลือดที่โป่งพองก็จะยุบและจางหายไป อาจจะต้องฉีดยาซ้ำโดยทั่วไปทำทุก 4-6 สัปดาห์ หลังจากการฉีดแพทย์จะแนะนำการใส่ถุงน่องที่มีการไล่ระดับความดัน

ผลข้างเคียงของการรักษา

  • บริเวณที่ฉีดอาจจะมีบวมแดง หรือเลือดออก ซึ่งจะหายไปเอง
  • รอยหลอดเลือดซึ่งอาจจะเป็นสีน้ำตาลซึ่งจะจางหายไปเอง
  • เกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดทำให้เกิดการอักเสบ เมื่อประคบด้วยความร้อนและรับประทานแอสไพรินอาการจะดีขึ้น

การทำ Laser

การใช้ laser ของหลอดเลือดที่อยู่ใกล้ผิวหนังซึ่งเป็นเส้นเลือดฝอยจะต้องทำหลายครั้ง เส้นเลือดจึงจะยุบ วิธีการนี้จะทำกับหลอดเลือดที่เล็กกว่า 3 มม ผู้ป่วยที่เป็นเส้นเลือดฝอยใยแมงมุงหรือหลอดเลือดขอดเส้นเล็กๆสามารถใช้laserรักษาได้ หลักการจะส่องรังสีlaserไปยังหลอดเลือดเป้าหมายซึ่งจะทำให้หลอดเลือดตีบและจะค่อยดีขึ้น วิธีการนี้ไม่ต้องผ่าตัด แต่จะมีอาการปวดเนื่องจากความร้อน อ่านการทำlaser หลอดเลือดขอด

การทำ Laser หรือคลื่นวิทยุในหลอดเลือด

การทำ Laser หรือคลื่นวิทยุในหลอดเลือดการรักษานี้จะทำกับหลอดเลือดขอดที่มีขนาดใหญ่ วิธีการจะใส่สายเข้าหลอดเลือดปลายสายจะมีอุปกรณ์ที่ให้แสงlaser หรือ คลื่นวิทยุ ซึ่งจะทำให้หลอดเลือดตีบจึงใช้รักษาหลอดเลือดขอดได้

การผ่าตัด

การผ่าตัดจะทำกับหลอดเลือดขอดเส้นใหญ่ ซึ่งจะผ่าเอาหลอดเลือดขอดเส้นนั้นออก ส่วนวิธีการผ่าตัดทำได้หลายวิธี ขึ้นกับสภาพของโรค สภาพของผู้ป่วย ความชำนาญของแพทย์

โรคแทรกซ้อนของการรักษามีอะไรบ้าง

  • การผ่าตัด จะมีโรคแทรกซ้อนจากการดมยา เช่นคลื่นไส้อาเจียน การติดเชื้อที่แผลผ่าตัด และยังเกิดแผลเป็นบริเวณที่ผ่าตัด
    • เพิ่มความเสี่ยงต่อการผ่าตัด และดมยาสลบ
    • เลือดออก
    • การติดเชื้อที่แผลผ่าตัด
    • แผลเป็น
    • มีการทำลายเส้นประสาทที่อยู่กับหลอดเลือด ทำให้เกิดอาการชา
    • อาจจะเกิดลิ่มเลือดอุดหลอดเลือด
  • sclerotherapy โรคแทรกซ้อนขึ้นกับสารที่ใช้ บางชนิดทำให้เกิดอาการแพ้ บางชนิดทำให้เกิดอาการปวด บางชนิดทำให้เกิดรอยดำ
  • การรักษาแต่ละชนิดจะไม่หายขาด เนื่องจากร่างกายอาจจะสร้างเส้นเลือดขึ้นมาใหม่หรือเส้นเก่าเกิดพองเหมือนก่อนรักษา และยังไม่มีวิธีป้องกันการเกิดใหม่

เส้นเลือดขอดป้องกันได้หรือไม่

ผู้ป่วยเส้นเลือดขอดมักจะมีอาการปวดน่อง บวมหลังเท้า สีผิวเปลี่ยนแปลง และอาจจะมีแผลที่เท้า เส้นเลือดขอดมักจะพบในผู้ป่วยที่ตั้งครรภ์ ผูัสูงอายุ อ้วน หรือผู้ที่ต้องยืนนานๆ และพบมากในผู้ที่มีประคนในครอบครัวเป็นโรคนี้ เส้นเลือดขอดไม่สามารถป้องกันได้แต่ชลอการเกิดโรคแทรกซ้อนได้ สำหรับผู้ที่ต้องยืนนานควรจะมีการพัก หลีกเลี่ยงการนั่งไขว่ห้าง ยกเท้าสู่ในขณะนั่งหรือนอน และให้ออกกำลังกาย