เริมที่ปาก herpes labialis

เป็นการติดเชื้อเริมที่ริมฝีปากเกิดจากเชื้อ herpes โดยมีลักษณะเป็นตุ่มใสๆเล็ก บริเวณริมฝีปาก ปาก เหงือกและมีอาการปวด

สาเหตุของเริมที่ปาก

เกิดจากการติดเชื้อ herpes simplex type 1 ผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อครั้งแรก อาจจะไม่มีอาการหรือเกิดตุ่มใส เชื้อนั้นจะไปยังปมประสาท และอยู่โดยไม่มีการแบ่งตัว จนมีภาวะแวดล้อมเหมาะสมเชื้อจะแบ่งตัว และทำให้เกิดตุ่มใสที่ปากลักษณะเป็นกลุ่มของตุ่มน้ำใส แสบและคันเล็กน้อย ตุ่มน้ำใสนี้จะแตกออกง่ายแล้วตกสะเก็ด หายไปในเวลาประมาณ 7-8 วัน ก่อนจะเกิดตุ่มน้ำใส อาจมีอาการตึงๆ ร้อนวูบวาบบริเวณริมฝีปากนำมาก่อนได้ในผู้ป่วย บางรายอาการครั้งแรกจะรุนแรง มีแผลตุ่มน้ำจำนวนมาก มีไข้ ต่อมน้ำเหลืองโตได้ หลังจากอาการหายแล้ว เชื้อไวรัสจะหลบซ่อนภายในปมประสาท ต่อมาเมื่อร่างกายอ่อนแอลง มีอารมณ์เครียด ถูกแสงแดด ฯลฯ เชื้อไวรัสนี้จะออกจากปมประสาทมายังบริเวณที่เคยมีอาการติดเชื้อครั้งแรก ทำให้โรคเป็นๆ หายๆ อยู่บ่อยๆ โดยทั่วไปการติดเชื้อเริมมักจะไม่รุนแรง แต่ในคนที่มีภูต้านทานต่ำกว่าปกติ เช่น คนที่กำลังได้รับยารักษาโรคมะเร็งหรือกำลังได้รับการฉายรังสี เป็นต้น อาการที่เป็นอาจรุนแรงได้

 

การติดต่อเริมที่ปาก

การติดต่อเชื้อนี้จะติดต่อโดยการสัมผัสโดยตรงเช่นการจูบ หรือการใช้ของร่วมกัน เช่น การใช้ใบมีดโกน การใช้ผ้าเช็ดหน้าร่วมกัน หลังจากได้รับเชื้อ 7-10 วันจะเริ่มเกิดอาการแสบร้อนและตามด้วยตุ่มใสเล็กๆ ตุ่มใสนี้จะอยู่เป็นเวลา 7-10 วันแล้วจึงเริ่มหาย

อาการของเริมที่ปากherpes

  • เริ่มด้วยอาการปวดแสบปวดร้อน คันๆบริเวณปากก่อนเกิดผื่น 2 วัน
  • ต่อมาเกิดตุ่มใสที่ปากหรือริมฝีปาก ตุ่มอาจจะรวมกันเป็นแผลใหญ่
  • อาจจะมีไข้ต่ำๆ

การวินิจฉัยเริมที่ปาก

  • จากลักษณะเฉพาะของผื่น
  • จากการเพาะเชื้อ
  • จาการตรวจ Tznack test

การรักษาเริมที่ปาก

  • เมื่อเกิดอาการครั้งแรกในระยะตุ่มน้ำใส ควรรับไปพบแพทย์ เพื่อการวินิจฉัยถูกต้องแน่นอน ซึ่งอาจได้รับยาที่ช่วยให้อาการระยะเฉียบพลันดีขึ้น

  • รักษาความสะอาดของร่างกายรวมทั้งล้างมือให้สะอาดทันทีหลังจับต้องแผล เพราะอาจจะนำเชื้อไปสู่ส่วนอื่นของร่างกายได้

  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้อื่น เช่น การจูบ ใช้ผ้าเช็ดตัวร่วมกันโดยเฉพาะกับเด็กเล็กๆ หรือผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำเพาะมีโอกาสติดเชื้อง่าย

  • ผู้ที่ไม่ได้รับการรักษาอาจจะหายได้เองใน 1-2 สัปดาห์
  • ให้ทำความสะอาดผื่นด้วยสบู่ฆ่าเชื้อ
  • การรับประทานยาฆ่าเชื้ออาจจะทำให้หายเร็วขึ้น

โรคแทรกซ้อนเริมที่ปาก

  • ตาบอดได้หากเชื้อนี้เกิดที่ตา
  • เชื้อนี้แพร่ไปติดเนื้อเยื่อข้างเคียง
  • มีการติดเชื้อแบคทีเรียที่ผื่น
  • มีการกลับเป็นซ้ำของผื่น
  • ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องการติดเชื้อนี้อาจจะทำให้เสียชีวิต

การป้องกันเริมที่ปาก

  • ระวังการสัมผัสกับผู้ป่วยที่เป็นเริมและยังมีผื่นในระยะติดต่อ
  • อย่าใช้ของร่วมกัน
  • หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยกระตุ้นในการกลับเป็นซ้ำและการรักษา โรคเริมที่ปาก โรคเริมที่อวัยวะเพศ โรคเริม

งูสวัส เริม เริมที่ริมฝีปาก หูด เริ่มที่นิ้ว หัดเยอรมัน หัด หัดญี่ปุ่น ไข้สุกใส คางทูม ไข้กาฬหลังแอ่น ฝีดาษ มือปากเท้าเปื่อย