โรคหัดเยอรมัน Rubella

 

เป็นโรคติดต่อเกิดจากเชื้อไวรัส Paramyxovirus ทำให้เกิดอาการคือมีไข้ ผื่น และต่อมน้ำเหลืองโต ส่วนใหญ่มักจะหายเองโดยที่ไม่มีโรคแทรกซ้อน หากเกิดในหญิงมีครรภ์อาจจะทำให้เด็กที่เกิดมาพิการ

โรคหัดเยอรมันคืออะไร

เป็นโรคติดเชื้อไวรัส ซึ่งทำให้เกิดลักษณะทางคลินิกที่สำคัญคือ ไข้ ผื่นที่ผิวหนัง และต่อมน้ำเหลืองแถวคอโต ถ้าเป็นในเด็กอาการไม่รุนแรง แต่ถ้าเป็นในหญิง มีครรภ์อ่อน จะทำให้เด็กที่เกิดมามีโอกาสพิการ

สาเหตุโรคหัดเยอรมัน

เกิดจากเชื้อไวรัส RNA จัดอยู่ในกลุ่ม Paramyxovirus

การติดต่อโรคหัดเยอรมัน

หัดเยอรมัน
หัดเยอรมัน

ติดต่อจากคนหนึ่งไปอีกคนหนึ่งโดยการหายใจเอาเสมหะ หรือน้ำลายของผู้ป่วยซึ่งจามหรือไอออกมา ระยะติดต่อ 1 อาทิตย์ก่อนและหลังออกผื่น 

อาการโรคหัดเยอรมัน

  • ระยะฟักตัว หลังจากได้รับเชื้อ (หลังสัมผัสกับผู้ป่วย ) 14-24 วัน
  • ร้อยละ 25-50 อาจจะไม่มีอาการหรืออาการน้อย อาการนำในเด็กไม่ค่อยมีอาการอะไร ก่อนออกผื่นโดยมีอาการอ่อนเพลีย ปวดศีรษะ เยื่อบุตาอักเสบจะมีไข้ 1-5วัน น้ำมูกไหล ไอเล็กน้อย
  • ระยะออกผื่น โดยเริ่มที่หน้าผากแถบไรผม กระจายมายังรอบปาก และใบหู แล้วลามลงมาที่คอ ลำตัว แขนขา ขณะที่ผื่นกระจายมาลำตัว ใบหน้าจะไม่ค่อยมีผื่น ผื่นอาจจะมีอาการคันหรือไม่ก็ได้ ผื่นมีลักษณะสีชมพูอ่อน แบนราบ และมักอยู่แยกจากกัน ผื่นเป็น 3 วันจะเริ่มจาง มีต่อมน้ำเหลืองหูโต คลำได้เป็นก้อน บางรายอาจมีปวดข้อ ถ้าหากเป็นในคนท้องระยะ 3 เดือนแรก เด็กที่เกิดมาอาจมีพิการแต่กำเนิ เช่น ปัญญาอ่อน หัวใจผิดปกติ ตาผิดปกติ

การวินิจฉัยโรคหัดเยอรมัน

เนื่องจากโรคนี้หากเด็กปรกติจะมีอาการไม่มากการวินิจฉัยทำได้จากอาการ และการตรวจร่างกายเท่านั้น หากคนตั้งครรภ์จะต้องเจาะเลือดเพื่อยืนยันการวินิจฉัย

การป้องกันโรคหัดเยอรมัน

ป้องกันโดยการฉีดวัคซีน MMR(หัด หัดเยอรมัน คางทูม ) ยังไม่มีรายงานว่าได้รับวัคซีนขณะตั้งครรภ์แล้วจะทำให้เกิดพิการแต่กำเนิด แต่แนะนำให้คุมกำเนิดหลังฉีดวัคซีน

 

การรักษาโรคหัดเยอรมัน

โรคนี้หายได้เอง ให้วัดไข้วันละ 2 ครั้ง ควรพบแพทย์ถ้าไข้มากกว่า 38ํ  ห้ามใช้ aspirin ในการลดไข้เนื่องจากอาจจะทำให้เกิด Reye's syndrome

โรคแทรกซ้อนที่สำคัญ อาจพบสมองอักเสบ เกล็ดเลือดต่ำ ถ้าเกิดกับหญิงมีครรภ์ อาจทำให้ทารกเกิดมาพิการ เช่น ตาพิการ ต้อกระจก ต้อหิน หัวใจพิการ หูหนวก สมองเสื่อม

ภาวะแทรกซ้อนโรคหัดเยอรมัน

  1. ข้ออักเสบ เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยที่สุด มักเป็นข้อเล็กๆ เช่นข้อนิ้ว
  2. ภาวะแทรกซ้อนในระบบประสาทกลาง พบไม่บ่อย ที่พบคือสมองอักเสบ

ทารกที่เกิดจากแม่ที่ป่วยด้วยโรคหัดเยอรมัน

ทารกที่เกิดจากมารดาที่ติดเชื้อโรคหัดเยอรมันอาจจะมีความพิการตามมาโดยเฉพาะการตั้งครรภ์ในระยะ 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ ความพิการได้แก่

  • หูหนวก อาจจะเกิดข้างเดียวหรือสองข้าง อาการจะปรากฏประมาณอายุ 2 ปี
  • ต้อกระจกมักจะเป็นกับตาทั้งสองข้าง
  • ความผิดปกติของหัวใจ

การป้องกันโรคหัดเยอรมัน

  • โรคนี้สามารถป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีน MMRโดยฉีดครั้งแรกตอนอายุ 9-15 เดือน ครั้งที่ 2 เมื่ออายุ 4-6 ปี
  • ผู้หญิงที่จะแต่งงาน หรือตั้งใจจะมีลูก ถ้ายังไม่เคยฉีดวัคซีน ต้องฉีดวัคซีนก่อนตั้งครรภ์อย่างน้อย 28 วัน ระวังนี้ให้คุมกำเนิด
  • สำหรับหญิงคู่และไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน ควรคุมกำเนิดไว้ก่อนจนพ้นการระบาดของโรค
  • ผู้ป่วยที่เป็นโรคหัดเยอรมันควรหยุดเรียน หยุดทำงาน พักผ่อนอยู่กับบ้านเป็นเวลาประมาณ 7 วันหลังจากมีผื่นขึ้นเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่น
  • เด็กทารกที่คลอดออกมาและได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นหัดเยอรมันแต่กำเนิด ควรหลีกเลี่ยงการพาไปที่สาธารณะเป็นเวลา 1 ปี เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ เพราะเด็กเหล่านี้ยังมีเชื้อไวรัสอยู่ในตัว
  • ผู้ที่เคยติดเชื้อหัดเยอรมัน หรือได้รับการฉีดวัคซีนมาแล้วจะมีภูมิคุ้มกันไปตลอดชีวิต แต่มีความเป็นไปได้ที่การได้รับเชื้ออีก จะทำให้ติดเชื้อได้ เพียงแต่จะไม่แสดงอาการ

โรคหัด โรคไข้สุกใส