เริมหรือโรคเริมที่ผิวหนัง

 

เริมที่ผิวหนังบริเวณปลายอวัยวะเพศเป็นโรคติดต่อทางสัมผัสกับคนที่มีเชื้อเกิดจากเชื้อเริมที่เรียกว่า herpes simplex viruses type 1 (HSV-1) หรือ type 2 (HSV-2)

เริมที่อวัยวะเพศส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อ HSV-2 ผู้ที่ได้รับเชื้อส่วนใหญ่มักจะไม่มีอาการ หากมีอาการจะเกิดตุ่มน้ำที่อวัยวะเพศ เมื่อตุ่มน้ำแตกจะเกิดแผลเล็กซึ่งมีอาการปวดแสบปวดร้อน แผลเริมจะใช้เวลาหายประมาณ 2-4 สัปดาห์ เมื่อหายแล้วสามารถเกิดเป็นซ้ำได้

อาการของโรคเริม

เกิดจากการสัมผัสกับผู้ที่เคยเป็นโรคนี้มาก่อน หรือกำลังมีอาการของโรคนี้อยู่ อาการเริ่มแรกจะมีตุ่มน้ำพองใสเป็นกลุ่ม มีอาการปวดแสบและคันมาก ต่อมาตุ่มน้ำจะแตกออกเป็นแผล เมื่อแผลหายแล้วเชื้อไวรัสยังคงหลบซ่อนในปมประสาท และโรคจะกลับเป็นอีกเมื่อมีปัจจัยส่งเสริมบางอย่าง เช่น ความเครียด ภาวะขาดอาหาร แสงแดด การเสียดสีของผิวกับเสื้อผ้า เช่น กางเกงที่คับๆ เป็นต้น

สำหรับผู้ที่ได้รับการติดเชื้อครั้งแรกจะเกิดอาการหลังจากได้รับเชื้อประมาณ 2 สัปดาห์แผลจะใช้เวลาหายใน 2-4 สัปดาห์ นอกจากนั้นจะมีไข้ ต่อมน้ำเหลืองโต ในปีแรกอาจจะมีการกลับเป็นซ้ำ 4-5 ครั้งต่อปี หลังจากนั้นความถี่ของการเกิดซ้ำจะลดลง

 

การติดต่อโรคเริม

เริม

คนได้รับเชื้อจากการมีสัมผัสกับผู้ที่ติดเชื้อนี้ ซึ่งจะเชื้อที่ตุ่มและแผล แต่การติดเชื้อก็สามารถเกิดขึ้นได้แม้ว่าจะไม่มีแผล นอกจากนั้นเชื้อ HSV-1 ยังทำให้เกิดเริมที่ริมฝีปากเชื้อว่าเชื้อนี้สามารถติดต่อแบบ ปากและอวัยวะเพศได้ oral-genital

การวินิจฉัยโรคเริม

การวินิจฉัยทำได้โดยดูลักษณะผื่น และการนำสารหลั่งจากก้นแผลไปส่องกล้องจะพบเซลล์ที่มีลักษณะเฉพาะ

การรักษาโรคเริม

ยังไม่มียาที่รักษาโรคนี้ให้หายขาด ยาเพียงทำให้ลดอาการ และแผลใช้เวลาหายสั้นลง

 

โรคแทรกซ้อนโรคเริม

  • ปวดที่แผล และส่งผลต่อภาวะเครียดของผู้ป่วย
  • สำหรับผู้ที่มีภูมิบกพร่องอาการจะเป็นมาก
  • หากติดเชื้อในช่วงใกล้คลอดอาจจะส่งผลเสียต่อทารก
  • การติดเชื้อนี้จะเพิ่มการติดโรคเอดส์

การปฏิบัติตน

  1. รักษาความสะอาดของร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณอวัยวะเพศในระหว่างมีตุ่มน้ำมีแผลควรทำความสะอาด โดยแช่นำอุ่นวันละ 2-3 ครั้ง และซับให้แห้ง เพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำซ้อน
  2. งดการนอนด้วยกันหรือสัมผัสโดยตรงกับแผล
  3. สตรีที่กำลังตั้งครรภ์และกำลังเป็นโรคเริม หรือมีประวัติว่าเคยเป็นรวมทั้งผู้ที่ไม่ได้เป็น แต่สามีเป็นโรคนี้อยู่ ควรบอกประวัติเหล่านี้แก่สูติแพทย์ทุกครั้งด้วย เพราะอาจมีผลต่อเด็กในระหว่างคลอดได้
  4. ในรายเป็นครั้งแรกในระยะตุ่มน้ำควรปรึกษาแพทย์ เพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้อง และในรายเป็นซ้ำๆ ก็ควรพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยที่แน่นอนเช่นกัน
  5. หลีกเลี่ยงสิ่งที่เป็นตัวกระตุ้นให้โรคกำเริม เช่น อารมณ์เครียด แสงแดด การเสียดสีของผิวกับเสื้อผ้า

ปัจจัยกระตุ้นในการกลับเป็นซ้ำและการรักษา โรคเริมที่ปาก โรคเริมที่อวัยวะเพศ โรคเริม