ภาวะเกลือโพแทสเซี่ยมต่ำ hypokalemia

หมายถึงภาวะที่มีระดับเกลือโพแทสเซี่ยมในเลือดต่ำเกินไป ซึ่งอาจจะทำให้เกิดโรคหรือปัญหาตามมามากมาย

  • สาเหตุของเกลือโพแทสเซี่ยมต่ำ อาจจะเกิดจาก อาเจียน ท้องเสีย โรคของต่อมหมวกไตทำให้มีการผลิตฮอร์โมนบางชนิดมา การใช้ยาขับปัสสาวะทำให้มีการขับน้ำ เกลือโซเดียม โพแทสเซี่ยมออกจากร่างกายมาก
  • เกลือโพแทสเซี่ยมต่ำอาจจะทำให้รู้สึกกล้ามเนื้ออ่อนแรง ตะคริว กล้ามเนื้อกระตุก หรืออ่อนแรงแขนขาจนยกไม่ขึ้น หัวใจเต้นผิดปกติหรือหยุดเต้น
  • เราจะทราบภาวะนี้ได้โดยการเจาะเลือดตรวจหาระดับโพแทสเซี่ยม
  • การป้องกันต้องรับประทานอาหารที่มีโพแทสเซี่ยมสูง

สาเหตุของโพแทสเซี่ยมต่ำ

  1. สูญเสียโพแทสเซี่ยมทางเดินอาหาร

เป็นสาเหตุที่สำคัญที่สุด ผู้ป่วยอาจจะรับประทานอาหารที่มีโปตสเซี่ยมต่ำ หรืออาจจะสูญเสียไปจากการอาเจียน หรือท้องเสียซึ่งเกิดจากการรับประทานยาระบายบ่อย

  1. สูญเสียโพแทสเซี่ยมทางปัสสาวะ

โรคที่ทำให้เกิดการสูญเสียโพแทสเซี่ยมทางปัสสาวะได้แก่ โรคของต่อมหมวกไต ภาวะแมกนีเซี่ยมต่ำ โรคไต ยาขับปัสสาวะยาที่ทำให้เกลือแร่โพแทสเซี่ยมต่ำ

  • ยาขับปัสสาวะThiazide diuretics
  • Loop diuretics
  • Corticosteroids
  • Amphotericin B (Fungizone)
  • ยากระเพาะAntacids
  • Insulin
  • ยารักาาเชื้อรา Fluconazole (Diflucan): Used to treat fungal infections
  • ยารักาาโรคหอบหืดTheophylline (TheoDur): Used for asthma
  • ยาระบายLaxatives
  1. ภาวะที่โพแทสเซี่ยมเข้าเซลล์

โรคที่ทำให้โพแทสเซี่ยมเข้าเซลล์ได้แก่ ภาวะต่อมไทรอยด์เป็นพิษ การใช้อินซูลิน ยารักาาโรคหอบหืด

คลื่นไฟฟ้าหัวใจ

 

อาการของโรคเป็นอย่างไรและทราบได้อย่างไร

ผู้ที่มีเกลือแร่ต่ำเล็กน้อยมักจะไม่มีอาการอะไร อาจจะมีอาการแน่ท้อง หากระดับต่ำมากจะมีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ ยกแขนขาไม่ขึ้น ยกสีรษะไม่ขึ้น แต่ยังรู้สึกตัวและไม่มีอาการชา แต่หากขาดมากจะทำให้มีการเต้นของหัวใจผิดปกติ และอาจจะหยุดเต้นได้

หากมีอาการดังกล่าวแพท์จะซักประวัติเพื่อหาสาเหตุ เช่นการถ่ายเหลว อาเจียน หรือการใช้ยาขับปัสสาวะ แพทย์จะให้เจาะเลือดเพื่อหาระดับโพแทสเซี่ยมในเลือด

การรักษา

จะต้องรักาาแก้ภาวะที่เป็นสาเหตุของโพแทสเซี่ยมต่ำ หลังจากนั้นจึงให้โพแทสเซี่ยมเพื่อเพิ่มระดับโพแทสเซี่ยมในเลือด สำหรับผู้ที่ต่ำไม่มากอาจจะให้รับประทานอาหารที่มีโพแทสเซี่ยมสูง การรับประทานโพแทสเซี่ยมเสริมควรจะรับประทานครั้งละไม่มาก แต่ไม่แนะนำให้วื้อรับประทานเองเพราะอาจจะอันตรายเสียชีวิตได้ การให้โพแทสเซี่ยมจะให้ในกรณี

  • โพแทสเซี่ยมในเลือดต่ำมากจนอันตราย
  • ไม่สามารถรับประทานทางปากได้
  • เสียโพแทสเซี่ยมมากกว่าการรับประทาน
  • โปแตสเวี่ยมต่ำจนหัวใจเต้นผิดปกติ

การดูแลตัวเองเมื่อมีภาวะโพแทสเซี่ยมในเลือดต่ำ

ภาวะโพแทสเซี่ยมในเลือดต่ำ | ภาวะโพแทสเซี่ยมสูง | ภาวะโซเดี่ยมต่ำ | ภาวะโซเดี่ยมสูง

โซเดี่ยม | โพแทสเซี่ยม | คลอไรด์ | ไบคาร์โบเนต | เกลือแกง | เกลือและสุขภาพ

เพิ่มเพื่อน