เกลือโซเดี่ยม Sodium


โซเดียม เป็นธาตุทที่อยู่ในสารละลายนอกเซลล์ Extracellular fluid ซึ่งแสดงประจุไฟฟ้าเป็นบวก (cation) โดยมีปริมาณส่วนใหญ่อยู่ภายนอกเซลล์ ด้วยความเข้มข้นประมาณ 140 mEq/L ดังนั้นโซเดียมจึงเป็นตัวควบคุมแรงดันออสโมติก (osmotic pressure)
สำหรับของเหลวหรือน้ำภายนอกเซลล์เม็ดเลือดแดง Extracellular fluid ขณะเดียวกันก็สร้างแรงดันภายในหลอดเลือด ทำให้สามารถวัดความดันเลือดได้ หากมีโซเดียมมากเกินไปก็จะเกิดสภาวะบวมน้ำ เช่น ในกรณีกินเกลือหรืออาหารเค็มมากเกินไป หรือไตเสื่อม หรือรับประทานยาบางชนิด ทำให้ไตไม่อาจขับโซเดียมทิ้งออกทางน้ำปัสสาวะได้ โซเดียมจะเกินทำให้บวมบริเวณขาหรือหลังเท้า

บทบาทของโซเดี่ยมในร่างกาย

  • เป็นตัวสำคัญที่กำหนดออสโมลาลิตี้ (osmotic pressure) ของของเหลวนอกเซลล์  Extracellular fluid เพราะเป็นแร่ธาตุหรือไอออนที่มีความเข้มข้นสูงที่สุดภายนอกเซลล์  และผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ได้น้อย จึงเป็นตัวที่ช่วยปรับแรงดันออสโมติกและการกระจายตัวของน้ำในส่วนต่างๆ  ป้องกันไม่ให้ร่างกายเสียน้ำมาก
  • โซเดียมในของเหลวนอกเซลล์ร่วมกับคลอไรด์  และไบคาร์บอเนท  มีหน้าที่ควบคุมดุลกรดและด่าง
  • เป็นส่วนประกอบร่วมในการทำงานเกี่ยวกับการกระตุ้นประสาทกล้ามเนื้อทำให้กล้ามเนื้อมีการหดตัวและเคลื่อนไหวได้
  • ช่วยในการดูดซึมน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวและกรดอะมิโน
  • สร้างความสมดุลของโปแทสเซียมและอิเล็กโทรไลท์อื่นๆ
  • เป็นส่วนประกอบของโครงสร้างกระดูกและฟัน
  • เป็นส่วนประกอบของน้ำย่อยอาหาร น้ำที่หลั่งออกมาในระบบทางเดินอาหารซึ่งมีประมาณ 8 ลิตร จะมีโซเดียมร่วมอยู่ 1,000 มิลลิลิตร

การกระจายตัวของโซเดียมในร่างกาย

ในร่างกายคนปกติมีโซเดียมประมาณ 58 มิลลิโมลต่อน้ำหนักตัวหนึ่งกิโลกรัม หรือประมาณ 3,000–3,500 มิลลิโมล ส่วนใหญ่อยู่ในน้ำนอกเซลล์มากกว่าร้อยละ 90 การกระจายของโซเดียมในส่วนต่างๆ ของร่างกายมีดังนี้

  • อยู่ในส่วนประกอบของกระดูกประมาณร้อยละ 43
  • อยู่ในส่วนของน้ำนอกเซลล์ Extracellular fluid ประมาณร้อยละ 55
  • อยู่ในส่วนของน้ำในเซลล์ประมาณร้อยละ 2

กลไกการควบคุมโซเดี่ยม

การรับโซเดียมเข้าสู่ร่างกาย

ปกติร่างกายรับโซเดียมจากอาหารประมาณวันละ1-2 มิลลิโมล แต่เราจะได้รับจากอาหารประมาณวันละ 130-260 มิลลิโมล หรือเท่าๆ กับปริมาณโซเดียมที่ขับถ่ายออกทางปัสสาวะ อุจจาระ และเหงื่อในแต่ละวัน   โซเดี่ยมที่เราได้รับส่วนมากอยู่ในรูปของเกลือโซเดียม  (NaCl)  โดยเฉพาะ ในอาหารปรุงแต่งที่มีรสเค็มจากเครื่องปรุงรสอาหารต่างๆ  เช่น ซี่อิ้ว ซ็อส กะปิและน้ำปลา  เป็นต้น  เมื่อเกลือโซเดียม  (NaCl)  ผ่านระบบทางเดินอาหารจะถูกดูดซึมอย่างรวดเร็วที่บริเวณส่วนต้นของสำไส้เล็ก  โซเดียมไหลเข้าออกผ่านเซลล์ที่เป็นเยื่อบุของลำไส้ด้วยวิธีที่ต้องอาศัยพลังงาน

การขับโซเดียมออกจากร่างกาย

การขับโซเดี่ยมออกจากร่างกายมีด้วยกัน

  1. การขับโซเดียมออกทางไต ร่างกายจะขับโซเดียมส่วนเกินออกทางไตโดยร่วมอยู่ในปัสสาวะมากที่สุด หรือเกือบเท่ากับปริมาณโซเดียมที่ได้รับ ไตจะมีความสามารถขับโซเดียมออกทิ้งน้ำปัสสาวะ ได้ประมาณ 450-500 mEq ต่อวัน ถ้ากินอาหารไม่เค็มจัดจนเกินไป ก็จะไม่มีปัญหาต่อไตมากนัก โซเดียมที่ขับออกทางปัสสาวะจะมากหรือน้อย จึงขึ้นอยู่กับจำนวนโซเดียมที่มีในอาหาร ดังนั้นหากรับประทานเค็มก็จะทำให้ไตทำงานหนักซึ่งจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคไต
  2. การขับโซเดียมออกทางเหงื่อไม่ใช่กลไกหลักในการควบคุมปริมาณโซเดี่ยมในร่างกาย ร่างกายจะสูญเสียโซเดียมทางเหงื่อวันละประมาณ 25 มิลลิโมล การขับโซเดียมออกทางเหงื่อนั้น เป็นผลจากร่างกายต้องการขับความร้อนออกมา เพื่อรักษาอุณหภูมิร่างกายให้ปกติ แต่ในสภาวะที่อากาศร้อนหรือหลังการออกกำลังกายหรือมีไข้จะทำให้เสียเหงื่อมากถึง 5 ลิตร/วัน  ก็จะทำให้ขับโซเดียมออกมามากขึ้นด้วย (> 250 มิลลิโมล) 
  3. การขับโซเดียมทางอุจจาระ ร่างกายจะสูญเสียโซเดียมโดยปะปนออกไปกับอุจจาระไม่มากนัก ประมาณ 1-2  มิลลิโมลเท่านั้น พร้อมกับน้ำประมาณ 100-200 มิลลิโมลต่อวัน แต่ในระบบทางเดินอาหารจะมีการหลั่งน้ำออกมาประมาณ 8 ลิตรต่อวัน ซึ่งจะถูกดูดกลับเกือบทั้งหมด  และในน้ำส่วนนี้จะมีอิเล็คโตรไลท์อยู่ด้วย การสูญเสียน้ำในช่องทางเดินอาหาร เช่น ในกรณีอุจจาระร่วง หรือมีการอาเจียนอย่างรุนแรง จะส่งผลให้มีการสูญเสียโซเดียมเพิ่มขึ้น

ในกรณีที่เรารับประทานอาหารจืดทำให้เกลือแร่โซเดี่ยมในเลือดต่ำ ร่างกายก็จะมีการปรับตัวโดยการหลั่งฮอร์โมน  ACTH  และ aldosteron ทำให้เราเสียโซเดี่ยมทางเหงื่อลดลง และมีการดูดซึมโซเดี่ยมที่ไตเพิ่มมากขึ้น หากเรารับประทานอาหารเค็มหรือมีเกลือมาก ร่างกายจะเร่งการขับเกลือออกทางปัสสาวะ และเหงื่อเพิ่มมากขึ้น

ความผิดปกติของโซเดี่ยม

Hyponatremia

Hypernatremia

ค่าปกติของโซเดียม (Na)

ค่าปกติทั่วไป

  • ผู้ใหญ่/ผู้สูงอายุ    Na : 136 – 145 mEq/L

โซเดี่ยม | โพแทสเซี่ยม | คลอไรด์ | ไบคาร์โบเนต | เกลือแกง | เกลือและสุขภาพ