การตั้งครรภ์และสารพิษ

 

สิ่งแวดล้อมที่น่าจะมีผลต่อการตั้งครรภ์ได้แก่

การเลี้ยงแมว

มูลของแมวจะมีพยาธิ์เมื่อคนตั้งครรภืณับประทานเข้าไปจะทำให้เกิดโรค Toxoplasmosis ดังนั้นคนตั้งครรภ์ไม่ควรจะดูแลแมว

นมที่ไม่ผ่านการ Unpasteurized Milk Products: การดื่มนมสดที่ไม่ผ่านการเชื้อโรคด้วยวิธี pasteurized จะทำให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียที่เรียกว่าโรค Listeriosisซึ่งอาจจะทำให้เกิดการแท้ง หรือทารกเสียชีวิตในครรภ์

การรับประทานอาหารทะเลและปลา

อาหารทะเลบางชนิดจะมีสารปรอทซึ่งจะส่งผลเสียต่อทารกในครรภ์ หลีกเลี่ยงปลาที่มีสารตะกั่ว เช่น swordfish, shark, fresh/frozen tuna, lake trout and walleyeโดยลดการรับประทานเหลือเพียง 1 มื้อต่อเดือน

การได้รับอุบัติเหต

สำหรับคนตั้งครรภ์ที่นั่งรถและไม่ได้รัดเข็มขัดนิรภัยจะได้รับอุบัติเหตุสูง ผู้ที่ตั้งครรภ์เมื่อเดินทางควรจะคาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้ง การรัดต้องทำให้ถูกต้อง โดยรัดที่ระดับสะโพกไม่ผ่านหน้าท้อง ส่วนอีกจุดหนึ่งต้องผ่านไหล่

น้ำยาดัดผมและน้ำยาย้อมผม

สารเคมีในน้ำยาย้อมผมหรือน้ำยาดัดผมอาจจะมีสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อทารก ดังนั้นจึงไม่ควรที่จะใช้ในขณะตั้งครรภ์

 

ยาทากันแมลง

ควรจะใช้วิธีอื่นเพื่อหลีกเลี่ยงยุงและแมลง เช่น การใส่เสื้อแขนยาวหรือกางเกงขายาว ไม่ควรไปอยู่ในช่วงที่ยุงมาก หรือสถานที่ยุงมาก อย่างไรก็ตามจากการวิจัยพบว่ายังไม่มีหลักฐานว่าสารดังกล่าวมีผลเสียต่อการตั้งครรภ์

โรคที่สัมผัส : Chicken Pox, Rubella,, & STI's

สารทำละลายมีผลเสียต่อทารกหรือไม่

สารทำละลายได้แก่สารเคมีที่ใช้ความสะอาด หรือตัวทำละลาย เช่น แอลกอฮอลล์ ทินเนอร์ น้ำยาล้างคราบ Lacquers หากคุณแม่ดมสารเคมีเหล่านี้จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดพิษต่อตับ ไต และสมอง หากได้รับสารเคมีมากก็อาจจะเป็นอันตรายถึงกับเสียชีวิต

สำหรับผลต่อทารกโดยเฉพาะคุณแม่ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสารเคมีเหล่านี้อาจจะทำให้เกิดการแท้ง เด็กพัฒนาการช้า คลอดก่อนกำหนด การป้องกันการได้รับสารทำละลาย

  • ปรับเรื่องระบบระบายอากาศให้ถ่ายเทอย่างดี
  • สวมหน้ากากอนามัย ถุงมือ เสื้อผ้าที่ป้องกันสารทำละลาย
  • อย่ารับประทานอาหาร หรือดื่มน้ำในบริเวณที่ทำงาน

มลภาวะมีผลต่อการตั้งครรภ์หรือไม่

มลภาวะคือสภาพอากาศที่มีก๊าซ ควัน ฝุ่นหรือสารเคมีในอากาศสูง หญิงมีครรภ์ที่อยู่ในมลภาวะจะมีอุบัติการณ์ของการคลอดก่อนกำหนด และทารกตัวเล็กกว่าคนทั่วไปเล็กน้อย หากคุณแม่อยู่ในสภาพมลภาวะให้หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายกลางแจ้ง

สารเคมีที่ใช้ในกครัวเรือน:

อุปกรณ์ซักล้าง เช่น สบู่ ฝงซักฟอก ที่ใช้ทำความสะอาดบ้านหรือเครื่องนุ่งห่มจะไม่เป็นอันตรายต่อทารก หากท่านจะซื้อท่านต้องอ่านสลากว่ามีส่วนประกอบที่เป็นพิษเป็นภัยต่อตัวท่านและทารกหรือไม่ น้ำยาที่ใช้ล้างเตาอบ หรือพรมมักจะมีสารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ สารทำความสะอาดที่มีส่วนประกอบของแอมโมเนีย หรือ คลอรีนไม่มีอันตรายต่อทารก แต่อาจจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน วิธีป้องกันได้แก่

  • เปิดประตูและหน้าต่างเพื่อให้อากาศระบาย
  • สวมถุงมือยาง
  • อย่าผสมสารเคมีด้วยตัวเอง เพราะอาจจะเกิดสารพิษที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

สารเคมีที่อยู่ในพลาสติกเป็นอันตรายต่อคนตั้งครรภ์และทารกหรือไม่

สารเคมีในพลาสติกที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพได้แก่ phthalates และ bisphenol A (BPA) phthalates จะอ่อนนุ่ม สารประกอบทั้งสองชนิดจะพบใน ของเด็กเล่น อุปกรณ์ทางการแพทย์ แชมพู เครื่องสำอาง บรรจุภัณฑ์ ส่วนสาร BPA จะทำให้พลาติใส และแข็ง มักจะใช้ผลิตขวดนมเด็ก กระบอกใส่น้ำ เชื่อว่าสารดังกล่าวทั้งสองจะมีผลเสียต่อการตั้งครรภ์ ปัจจุบันสารทั้งสองได้เลิกใช้ไปแล้ว วิธีป้องกันการได้รับสาเคมีจากพลาสติก

  • เมื่อจะเลือกซื้อพลาสติกให้ดูที่ใต้กล่องอย่าเลือกเลข3หรือ7ในสามเหลี่ยม
  • หลีกเลี่ยงการใช้อาหารกระป๋อง
  • อย่าอุ่นอาหารด้วยไมโครเวปโดยใส่อาหารในภาชนะพลาสติก
  • ให้ดื่มนมแม่แทนนมขวด
  • ขนนมสำหรับเด็กให้ใช้ขวดแก้ว
  • ใชภาชนะพลาสติกที่ผลิตหลังปี คศ 2009
  • ให้ตรวจสอบอุปกรณ์ก่อนซื้อ

สภาพการทำงานที่ทุกท่านทำงานอยู่อาจมีผลต่อเด็กในครรภ์ได้ การที่จะมีผลต่อเด็กมากน้อยแค่ไหนขึ้นกับ

  • ชนิดของสารที่ได้รับซึ่งมีผลต่อเด็กต่างกัน
  • ปริมาณที่ได้รับถ้ารับมากก็เกิดพิษมาก
  • ระยะเวลาที่ไดรับสารนั้น ถ้าได้รับในช่วงแรกจะมีผลต่อเด็กมากกว่าช่วงหลัง

ดังนั้นท่านที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสารเคมี ยา หรือรังสี ควรปรึกษาแพทย์ที่ดูแลท่านด้วย

สารพิษ

ผู้ที่สัมผัส

ผลของการสัมผัส

ยาเคมีบำบัด เช่น methotrexate

เภสัช พยาบาล

เกิดการแท้ง พิการตั้งแต่ในครรภ์

สารตะกั่ว

ผู้ที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม เช่นโรงสี โรงหลอมตะกั่ว โรงงานแบตเตอรี่เซรามิค

เกิดการแท้ง เด็กตายก่อนคลอด

สารรังสี X-ray

เจ้าหน้าที่ X-ray

การเจริญเติบโตของร่างกายและสมองช้า

สำหับเจ้าหน้าที่ X-ray ให้ติดเครื่องตรวจไว้และไม่ควรได้รับเกิน 0.05 rad ต่อเดือน การX-ray ปอดแต่ละครั้งสัมผัสรังสีแค่ 0.008 rad จึงไม่เป็นอันตราย

การตั้งครรภ์ที่สมบูรณืจะต้องประกอบไปด้วยการรับประทานอาหารที่ครบหมู่ การฝากครรภ์ การดูแลสิ่งแวดล้อมทั้งที่บ้าน และที่ทำงาน เช่นรังสี สารเคมี โลหะหนักเป็นต้น

สารพิษสามารถเข้าสู่ร่างกายโดยผ่านทางผิวหนัง ทางลมหายใจ การรับประทาน หรือทางน้ำดื่ม อาชีพบางอาชีพจะเสี่ยงการได้รับสารพิษ เช่น โรงงาน เกษตรกร ดังนั้นคุณแม่จะต้องดูแลตัวเองเป็นพิเศษ

รังสีจะเป็นอันตรายต่อทารกหรือไม่

รังสีจะเกาะกับฝุ่น ฝง หรือน้ำ รังสีจะมีพลังงาน เราสามารถพบรังสีได้ปริมาณเล็กน้อยในธรรมชาติซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ รังสีนี้มาจาก แสงแดด เครื่อง microwave เครื่อง x-ray คุณแม่ที่ตั้งครรภ์เมื่อได้รับรังสีปริมาณน้อยร่างกายคุณแม่จะกำจัดรังสีออกจากตัวซึ่งจะป้องกันลูก ดังนั้นลูกจะปลอดภัยจากรังสีปริมาณเล็กน้อย

ผลกระทบต่อเด็กทารกในครรภ์จะขึ้นกับ ปริมาณรังสีที่ได้รับ ชนิดของรังสี ระยะเวลาที่สัมผัสรังสี สำหรับคุณแม่หากได้รับรังสีปริมาณมาก(ไม่ว่าจะทางรับประทาน หรือทางหายใจ)รังสีนั้นจะถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือด และจะผ่านจากรกไปสายสะดือ และเข้าสู่ทารก นอกจากนั้นแหล่งรังสีที่อยู่ใกล้มดลูกรังสีก็สามารถแพร่มายังทารก

รังสีที่มายังทารกจะส่งผลเสียแก่ทารกได้แก่ พิการแต่กำเนิด ทารกเจริญเติบโตช้า การพัฒนาของสมอง และมะเร็ง

ผลต่อสุขภาพทารกจากรังสี | ผลกระทบจากโลหะหนัก | ยาฆ่าแมลงมีผลต่อทารกหรือไม่ | ผลกระทบจากสารเคมี | ผลกระทบจากยา | nutrition | สารเสพติด |