โลหะหนักและสุขภาพทารก

 

สารตะกั่วและทารก

สารตะกั่วพบได้ในน้ำ สีทาบ้าน และมาจากบ่อน้ำ หรือท่อประปาที่ทำจากตะกั่ว สารตะกั่วจะมีอันตรายต่อเด็กและคนตั้งครรภ์ ผู้ที่ตั้งครรภ์เมื่อได้รับสารตะกั่วจะมีความเสี่ยงต่อการเกิด การแท้ง คลอดก่อนกำหนด น้ำหนักเด็กน้อย และการพัฒนาการล่าช้า

สีทาบ้านในปัจจุบันจะไม่ใช้สารตะกั่วเป็นส่วนประกอบ สำหรับท่านที่อาศัยอยู่ในบ้านเก่าสีที่ใช้จะมีส่วนประกอบของตะกั่ว หากสียังไม่ล่อนคุณแม่ก็ยังไม่เสี่ยงต่อการได้รับสารตะกั่ว หากสีเริ่มหลุดลอกผู้ที่อาศัยในบ้านจะอันตราย ให้จ้างมืออาชีพมาทำการเปลี่ยนสี และไม่ควรที่จะอยู่บ้านในขณะซ่อมสี วิธีป้องกันสารตะกั่วเข้าสู่ร่างกาย

  • ให้ใช่ท่อน้ำเย็นสำหรับทำน้ำดื่ม เพราะท่อน้ำร้อนจะมีปริมาณสารตะกั่วสูงกว่าท่อน้ำเย็น
  • หากไม่ได้ใช้ก๊อกประปาเป็นเวลา3-4ชั่วโมง ให้เปิดน้ำทิ้ง 15-30 วินาที
  • หากใช้เครื่องกรองน้ำจะต้องใช้เครื่องกรองน้ำที่ได้มาตราฐาน
  • ถ้วย ชาม ต้องเลือกร้านที่ได้มาตราฐานเพราะจะใช้สารที่มีสารตะกั่วต่ำ
  • ภาพสีน้ำมัน กระจกเคลือบสี ต้องเลือกชนิดที่ไม่มีสารตะกั่ว
  • ของเล่นเด็ก
  • ลิปสติก
  • อาหารกระป๋องบางชนิด

สารตะกั่ว

สารปรอทและทารก

สารปรอทเป็นโลหะหนัก ซึ่งพบได้ในธรรมชาติ และเกิดจากอุตสาหกรรม สารปรอทจะมีผลต่อระบบประสาท สารปรอทที่อาจจะมีปัญหากับผู้ที่ตั้งครรภ์มีอยู่ 3 ชนิดคือ organic ( methylmercury), inorganic, and elemental (pure) mercury )

สารธาตุปรอท(elemental (pure) mercury )

สารปรอทนี้จะเป็นสารที่ใช้ในการอุดฟัน ทำเครื่องวัดอุณหภูมิ และเคลือบหลอดไฟ fluorescent light bulbs. ปรอทที่ใช้อุดฟันจะมีส่วนผสมของ ปรอท ธาตุเงินและโลหะอื่นที่เรียกว่า Amalgam ซึ่งปลอดภัยสำหรับผู้ที่มีอายุมากกว่า 6 ปี สำหรับผู้ที่ตั้งครรภ์ยังไม่มีข้อมูลเพียงพอให้ปรึกษาทันตแพทย์ แต่มีข้อมูลว่าหากได้มากกว่า 50 amalgam-creation exposures ต่อสัปดาห์ อาจจะเกิดปัญหาต่อทารก สำหรับหลอดไฟ และปรอทเมื่ออุปกรณ์แตกหักอย่างใช้เครื่องดูดฝุ่น ให้ตักหรือใช้กระดาษซับ และใส่ลงถุง

การกำจัดสารปรอทจากหลอดไฟแตก

2 methylmercury

methylmercury เป็นส่วนประกอบสำคัญในสารฆ่าเชื้อรา และสี สารปรอทนี้จะอยู่ในเนื้อปลาโดยเฉพาะปลาน้ำลึกบางชนิด ได้แก่ปลา swordfish, shark, king mackerel and tilefishดังนั้นในขณะตั้งครรภ์ไม่ควรจะรับประทานเนื้อปลาเหล่านี้ แนะนำว่าหญิงไม่ควรจะรับประทานปลาเหล่านี้เกิน 350 g/สัปดาห์ โดยเฉพาะคนตั้งครรภ์ หรือรับประทานปลาที่มีปรอทต่ำ 2 มื้อต่อสัปดาห์(12 ounces per week) และรับประทานปลาที่คาดว่าจะมีปรอทสูงไม่เกิด 1 มื้อต่อสัปดาห์(6 ounces per week)อ่านปลาที่มีสารปรอท

3 inorganic mercury

สารปรอทนี้จะเป็นส่วนผสมที่สำคัญใน ยาฆ่าเชื้อทั้งแบคทีเรีย และยาฆ่าเชื้อรา อุปกรณ์เครื่องไฟฟ้า

สารหนู

สารหนูสามารถพบได้ในธรรมชาติเช่น บ่อน้ำ จากหินหรือต้นไม้ แต่ส่วนหนึ่งจากการทำเหมืองแร่ และอุตสาหกรรมไฟฟ้า ในธรรมชาติก็พบสารหนูปริมาณไม่มากและไม่เป็นอันตราย แต่หากผู้ตั้งครรภ์ไปอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีสารหนูมากก็จะเสี่ยงต่อทารก ซึ่งอาจจะเกิดการแท้ง และพิการแต่กำเนิด สำหรับผู้ใหญ่ก็จะเสี่ยงต่อการเกิด ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือด ผิวหนัง โรคปอด มะเร็ง สถานที่ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดเป็นพิษต่อสารหนูได้แก่

  • ทำงานหรืออาศัยใกล้กับโรงหลอมโลหะ
  • อาศัยอยู่ใกล้โรงกำจัดของเสีย
  • ดื่มน้ำจากบ่อที่มีสารหนูมาก บ่อดังกล่าวอยู่ใกล้โรงกำจัดขยะ โรงหลอมโลหะ จะต้องส่งน้ำไปตรวจหาสารหนู

การป้องกัน

  • สัมผัสกับดินบริเวณดังกล่าวให้สั้นที่สุด
  • ส่งน้ำไปตรวจหาสารหนู
  • เปลี่ยนชุด เปลี่ยนรองเท้าก่อนเข้าบ้าน

ผลต่อสุขภาพทารกจากรังสี | ผลกระทบจากโลหะหนัก | ยาฆ่าแมลงมีผลต่อทารกหรือไม่ | ผลกระทบจากสารเคมี | ผลกระทบจากยา | nutrition | สารเสพติด |

 

เพิ่มเพื่อน