ธาตุเหล็ก
ธาตุเหล็ก คืออะไร?
ธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของร่างกาย ผู้ใหญ่มีธาตุเหล็กประมาณ 3 - 4 กรัม ธาตุเหล็กอยู่ในฮีโมโกลบิน(Hemoglobin) ของเม็ดเลือดแดงประมาณร้อยละ 75 อยู่ในไมโอโกลบิน (Myoglobin)อยู่ในกล้ามเนื้อประมาณร้อยละ 5 ส่วนที่เหลือเป็นส่วนประกอบของเอนไซม์ (Enzyme) หลายชนิดในเซลล์ต่างๆ และอยู่ในรูปของส่วนประกอบของธาตุเหล็กกับโปรตีนสะสมอยู่ใน ตับ ม้าม และโพรงกระดูก/ไขกระดูก ทั่วไป ผู้ชายมีธาตุเหล็กประมาณ 0.5 - 1.5 กรัม และผู้หญิงมีประมาณ 0.3 - 1.9 กรัม แต่ในช่วงที่มีประจำเดือน ธาตุเหล็กที่สะสมในผู้หญิงจะเหลือ 0.2–0.4 กรัม
ธาตุเหล็นเป็นธาตุที่มีความสำคัญต่อสุขภาพ
ธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการสร้างเม็ดเลือดแดงซึ่งจะนำเอาออกซิเจนจากปอดไปเลี้ยงยังส่วนต่างๆของร่างกาย เป็นส่วนประกอบของกล้ามเนื้อ และยังช่วยในการนำไฟฟ้าในเส้นประสาท เป็นส่วนประกอบของเอนไซม์ (Enzyme)หลายชนิดในร่างกาย โดยเฉพาะเอนไซม์ที่ใช้ในกระบวนการเผาผลาญสารอาหารให้เกิดพลังงาน หากร่างกายได้ธาตุเหล็กไม่พอก็จะเกิดภาวะโลหิตจางจากขาดธาตุเหล็ก คนส่วนใหญ่ได้รับเหล็กอย่างเพียงพอจากอาหาร แต่มีกลุ่มคนที่อาจจะจำเป็นต้องได้รับวิตามินเสริมกลุ่มที่เสี่ยงต่อการขาดธาตุเหล็กได้แก่
ผู้ที่มีโรคโลหิตจางจากขาดธาตุเหล็ก
เมื่อคนได้รับธาตุเหล็กน้อยอาจจะเกิดภาวะโลหิตจางจากขาดธาตุ้หล็กโดยจะมีค่า Hemoglobin น้อยกว่า13 g/dL ในชาย และน้อยกว่า 12 g/dL ในผู้หยิง ผู้ที่ขาดธาตุเหล็กไม่ว่าจะเกิดจากการเสียเลือดเป็นประจำ หรือผู้ที่รับประทานอาหารไม่พอ ร่างกายจะมีการสะสมธาตุเหล็กไม่เพียงพอที่จะสร้างเม็ดเลือดแดงซึ่งจะทำให้เกิดภาวะโลหิตจางจากขาดธาตุเหล็ก ซึ่งจะมีอาการที่สำคัญคือ
- อ่อนเพลีย
- ไม่มีแรง
- มึนงง
- ไม่มีสมาธิ
สาเหตุของโลหิตจางจากขาดธาตุเหล็กคือ
- ผู้ที่มีประจำเดือนมาถี่ และมามาก
- โรคแผลในกระเพาะอาหาร
- มะเร็งทางเดินอาหาร
- เสียเลือดจากอุบัติเหตุ
- เสียเลือดเรื้อรังจากยา เช่นแอสไพริน
- ผู้ที่ได้รับยาเคมีบำบัด
การตั้งครรภ์
ผุ้หญิงปกติจะต้องการธาตุเหล็กวันละ 15-18 mg เมื่อตั้งครรภ์จะต้องการธาตุเหล็กเพิ่มขึ้นถึงวันละ 27 mg เพื่อนำไปสร้างเม็ดเลือดแดงสำหรับทารก
คนที่เลี้ยงบุตรด้วยนมแม่
ทารกได้รับธาตุเหล็กจากแม่ระหว่างการตั้งครรภ์ซึ่งพอจะใช้จนถึงอายึ 6 เดือน หลังจากนั้นจะต้องได้รับนมซึ่งเติมธาตุเหล็กเสริมเนื่องจากนมแม่จะมีธาตุเหล็กไม่เพียงพอ
ผู้ที่มีประจำเดือน
จากการสำรวจพบว่าหญิงวัย12-49 ปีประมาณร้อยละ9จะมีโลหิตจางจากขาดธาตุเหล็ก เนื่องจากมีประจำเดือน และเด็กในช่วงที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็วจะต้องการธาตุเหล็กเป็นจำนวนมาก
การออกกำลังกาย
ผู้ที่ออกกำลังกายมากจะต้องการธาตุเหล็กเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ30
ผุ้ที่เสียเลือดเป็นประจำ
ผู้ที่บริจาคเลือดเป็นประจำ หรือผุ้ที่เสียเลือดอย่างต่อเนื่องเช่นการรับประทานยาแอสไพริน หรือแผลในกระเพาะจะเสี่ยงต่อการเกิดโลหิตจางจากขาดธาตุเหล็ก
ผูที่เป็นโรคไตและฟอกเลือด
ผู้ที่ฟอกเลือดจะต้องได้รับธาตุเหล็กเสริมเนื่องจากมีการสูญเสียธาตุเหล็กระหว่างฟอกเลือด
ผู้ที่รับประทานยาบางชนิด
ยาที่รับประทานบางชนิดจะลดการดูดซึมธาตุเหล็ก เช่น ยารักษาโรคกระเพาะ ยาปฏิชีวนะ เช่น quinolones และ tetracyclines และมียาอื่นๆที่อาจจะทำให้ขาดธาตุเหล้กเช่น
- ยารักษาโรคกระเพาะ เช่น ranitidine และ omeprazole
- ยารักษาโรคความดันโลหิตสูง เช่นยาในกลุ่ม angiotensin-converting enzyme (ACE) inhibitors
- ยารักาาไขมันในเลือดสูงเช่น colestipol and cholestyramine
เด็กที่มีสมาธิสั้น
จากการศึกษาพบว่าเด็กกลุ่มนี้จะมีธาตุเหล็กในร่างกายน้อยกว่าเด็กปกติ และเมื่อได้รับธาตุเหล็กเด็กมีอาการดีขึ้น
ผู้ที่มีอาการไอจากยาลดความดันกลุ่ม ACE inhibitors
พบว่าการให้ธาตุเหล็กจะลดการไอเนื่องจากผลข้างเคียงของยากลุ่มนี้
เราได้ธาตุเหล็กจากอาหารประเภทไหน
บาตุเหล็กในอาหารมีอยู่สองรูปแบบคือ
- heme iron เป็นธาตุเหล็กที่เป็นส่วนประกอบของเม็ดเลือด ธาตุเหล็กนี้จะดูดซึมง่ายพบมากในเนื้อแดง ไก่ ปลา ส่วนธาตุเหล็กที่อยู่ในธัญพืช ถั่ว ผักจะมีธาตุเหล็กที่ดูดซึมได้น้อย การรับประทานอาหารที่มีวิตามินซีเช่นของเปรี้ยว ผักจะช่วยการดูดซึมธาตุเหล็กที่อยู่ในผัก ธัญพืช อาหารบางประเภทเช่น ไข่ นม ผักขม กาแฟ น้ำชา ใยอาหาร จะลดการดูดซึม nonheme iron
- nonheme iron เป็นธาตุเหล็กที่ไม่ใช่ส่วนประกอบของเม็ดเลือด แหล่งอาหารที่มีธาตุเหล็กชนิด nonheme iron ได้แก่ ถั่ว ผัก ธัญพืชที่เติมวิตามิน ขนมปัง ธัญพืช สำหรับนมมารดาจะมีธาตุเหล็กไม่เพียงพอสำหรับทารก
ปริมาณเหล็กที่ควรจะได้ในแต่ละวัน
Persons | U.S. (mg) |
Canada (mg) |
ทารกจนถึง 3 ขวบ | 6–10 | 0.3–6 |
เด็ก4-6ขวบ | 10 | 8 |
เด็ก7-10ขวบ | 10 | 8–10 |
ผู้ชาย | 10 | 8–10 |
ผู้หญิง | 10–15 | 8–13 |
คนตั้งครรภ์ | 30 | 17–22 |
แม่ให้นมบุตร | 15 | 8–13 |
ปริมาณธาตุเหล็กในอาหาร
- หอยนางรม
- ถั่วแดง
- ตับวัว
- เต้าหู้
- ตับ
- ขนมปังธัญพืช
- ปลาทูน่า
- ไข่
- กุ้ง
- เนยถั่ว
- เนื้อสัตว์
- ข้าวกล้อง
ก่อนการใช้ยา
- การแพ้ยา หากคุณเคยแพ้ยาทั้งยาที่แพทย์สั่งหรือยาที่ซื้อรับประทานเองจะต้องแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชทราบ
- สำหรับผู้สูงอายุการดูดซึมธาตุเหล็กอาจจะไม่ดีเท่าคนปกติ อาจจะจำเป็นต้องให้ธาตุเหล็กในขนาดสูงกว่าปกติ แต่ต้องปรึกษาแพทย์
- คนตั้งครรภ์และแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมตัวเองต้องได้รับสารอาหารและธาตุเหล็กมากกว่าคนทั่วไป
- เมื่อได้รับธาตุเหล็กเสริมไปแล้วสองเดือนแล้ว ควรจะได้รับการตรวจเลือดเพื่อจารณาว่ายังมีความจำเป็นที่จะต้องเสริมธาตุเหล็กหรือไม่
- ธาตุเหล็กควรจะรับประทานก่อนอาหาร 1 ชั่วโมง หรือหลังอาหาร 2 ชั่วโมง สำหรับคนที่มีอาการเสียดท้องจากธาตุเหล็กให้รับประทานพร้อมอาหาร
- หลังรับประทานยาให้ดื่มน้ำ 1 แก้ว สำหรับเด็กให้ดื่มครึ่งแก้ว
ขนาดยาที่รับประทาน
- ผู้ชายวันละ 10 milligrams (mg)
- ผู้หญิงวันละ 10 ถึง 15 mg
- คนตั้งครรภ์วันละ 30 mg
- มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมวันละ 15 mg
- เด็กอายุ 7 ถึง 10 ปีวันละ 10 mg
- เด็ก 4 ถึง 6 ปีวันละ 10 mg
- ทารกถึง 3 ปีวันละ 6 ถึง 10 mg
ข้อควรระวัง
อาหารบางชนิดจะลดการดูดซึมของธาตุเหล็ก หากจะรับประทานอาหารให้รับประทานก่อนทานธาตุเหล็ก 1 ชั่วโมงหรือหลังจากทานธาตุเหล็กไปแล้ว 2 ชั่วโมง อาหารดังกล่าวได้แก่
- โยเกิรต์ ชีส
- ไข่
- นม
- ผักขม
- ชาหรือกาแฟ
- ธัญพืช
- ไม่รับประทานธาตุเหล็กพร้อมกับยารักษากระเพาะ หรือแคลเซี่ยม
- สำหรับผู้ที่ซื้อยารับประทานเองไม่ควรจะรับประทานยาเกิด 6 เดือน ไม่ควรจะรับประทานยาในขนาดสูง
สำหรับผู้ที่ซื้อยารับประทานเองโดยที่ไม่ทราบว่ายามีธาตุเหล็กเท่าใดเมื่อรับประทานในปริมาณมาก หรือเป็นระยะเวลานานอาจจะโรคที่เกิดจากเหล็กเกินซึ่งจะมีอาการดังต่อไปนี้
- ท้องร่วง อาจจะอุจาระมีเลือดปน
- ไข้
- คลื่นไส้
- ปวดท้อง
- อาเจียนบางรายอาจจะอาเจียนรุนแรงจนมีเลือดออก
ในรายที่เป็นรุนแรง อาจจะมีอาการชัก ริมฝีปากปลายนิ้วจะออกสีคล้ำ
ผิวซีด เหงื่อชื้นตามผิวหนัง
หายใจหอบ หัวใจเต้นเร็ว หากมีอาการดังกล่าวให้รีบพบแพทย์
วิติมินเสริมธาตุเหล็ก
วิตมินรวมส่วนใหญ่จะมีธาตุเหล็กผสมอยู่ หากเป็นวิตามินบำรุงเลือดสำหรับสตรีจะมีธาตุเหล็กประมาณ 18 mg หากวิตามินที่มีธาตุเหล็กผสมมาก(มากกว่า 45 mg)จะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน ท้องผูก
จะต้องให้ธาตุเหล็กเสริมนานแค่ไหน
เมื่อได้รับธาตุเหล็กเสริมจนกระทั้ง hemoglobin ปกติและให้ยาต่ออีก 6 เดือน
ภาวะโลหิตจาง ภาวะเหล็กเกิน