CBC ตรวจเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือด

การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดแดง CBC หรือ complete blood count เป็นการตรวจวัดเซลล์ต่างๆในเลือดได้แก่ เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือดโดยอาจจะตรวจด้วยเครื่องหรือโดยการส่องกล้องซึ่งจะตรวจ การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดซึ่งจะมีการตรวจต่างๆดังนี้

เกี่ยวกับเม็ดเลือดแดงแพทย์จะตรวจ

  • จำนวนเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดแดงจะนำออกซิเจนจากปอดไปสู่ร่างกาย และนำคาร์บอนไดออกไซด์จากร่างกายไปขับออกที่ปอด จำนวนเม็ดเลือดแดงมีปริมาณน้อยเรียกว่าโลหิตจาง ร่างกายไม่สามารถที่จะนำพาออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกายได้เพียงพอ หากเม็ดเลือดแดงมีปริมาณมากเรียกว่า Polycythemia จะมีโอกาศเกิดเม็ดเลือดแดงอุดหลอดเลือดฝอย
  • ความเข็มของเลือด Hematocrit (HCT, packed cell volume, PCV). ความเข้มของเลือดเป็นการวัดปริมาตรของเม็ดเลือดแดงเมื่อเทียบกับปริมาตรของเลือด เป็นตัวบอกว่าเรามีโลหิตจางหรือไม่
  • Hemoglobin เป็นโปรตีนในเม็ดเลือดที่มีเหล็กเป็นส่วนประกอบที่สำคัญ ทำหน้าที่นำออกซิเจนจากปอดไปสู่เนื้อเยื่อของร่างกาย
  • Red blood cell indices.ประกอบไปด้วย: mean corpuscular volume (MCV), mean corpuscular hemoglobin (MCH), and mean corpuscular hemoglobin concentration (MCHC). MCV เป็นการวัดขนาดของเม็ดเลือดแดง MCH เป็นค่าของเฉลี่ยของ hemoglobinในเม็ดเลือดแดง MCHC เป็นการวัดค่า hemoglobinในเม็ดเลือดแดง ค่าเหล่านี้จะช่วยเราวินิจฉัยแยกโรคโลหิตจาง

เกี่ยวกับเม็ดเลือดขาวแพทย์จะตรวจ

  • เม็ดเลือดขาว White blood cell เม็ดเลือดขาวทำหน้าที่ป้องกันการติดเชื้อ เมื่อมีการติดเชื้อร่างกายจะสร้างเม็ดเลือดขาวอย่างรวดเร็วเพื่อไปทำลายเชื้อโรค เม็ดเลือดขาวมีขนาดใหญ่กว่าเม็ดเลือดแดง แต่มีปริมาณน้อยกว่าเม็ดเลือดแดง
  • อัตราส่วนเม็ดเลือดขาว Differential blood count (Diff) ส่วนประกอบที่สำคัญของเม็ดเลือดขาวได้แก่ neutrophils, lymphocytes, monocytes, eosinophils, และ basophils. สำหรับตัวอ่อนของ neutrophils เรียกว่า band neutrophils, เซลล์แต่ละชนิดจะมีหน้าที่ไม่เหมือนกันเช่นป้องกันการติดเชื้อ โรคภูมิแพ้

เกี่ยวกับเกล็ดเลือด

  • จำนวนเกล็ดเลือด Platelet count  Platelet (thrombocyte) count. Platelets (thrombocytes) เป็นเซลล์ที่เล็กที่สุด เกล็ดเลือดมีบทบาทสำคัญในการทำให้เลือดหยุดไหล หากร่างกายมีเกล็ดเลือดต่ำจะทำให้เลือดออกแล้วไม่หยุด หากเกล็ดเลือดมากเกินไป เกล็ดเลือดก็จะจับเป็นลิ่มเลือดในหลอดเลือด และเป็นสาเหตุของหลอดเลือดแดงตีบ
  • Mean platelet volume (MPV). เป็นการวัดปริมาตรของเกล็ดเลือดเมื่อเทียบกับปริมาตรของเลือด

เหตุผลในการส่งตรวจ CBC

  • เพื่อวินิจฉัยการติดเชื้อ
  • เพื่อการวินิจฉัยโรคภูมิแพ้
  • เพื่อตรวจปัญหาเรื่องการแข็งตัวของเลือด ความผิดปกติของเลือด เช่นโลหิตจาง
  • ประเมินการสร้างเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว
  • เป็นการตรวจหาโรคโลหิตจาง
  • ตรวจปริมาตรของเลือดที่เสียไป
  • Diagnose polycythemia.
  • วินิจฉัยโรคของเม็ดเลือดเช่น มะเร็งเม็ดเลือด
  • ตรวจสอบผลการตอบสนองของเม็ดเลือดต่อ ยา หรือการรักษาด้วยรังสี และเคมี


วิธีการตรวจ

การตรวจเลือด CBC ไม่ต้องอดอาหาร

  • เจ้าหน้าที่จะนำสายยางมารัดที่เหนือข้อศอก เพื่อให้หลอดเลือดโป่งพองเพื่อสะดวกในการเจาะเลือด
  • ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อบริเวณที่จะเจาะด้วยแอลกอฮอลล์
  • ใช้เข็มเจาะตรงตำแหน่งเส้นเลือด บางท่านที่เส้นเลือดเล็กก็อาจจะต้องเจาะหลายครั้ง
  • นำขวดแก้วรองเลือดเมื่อได้จำนวนเพียงพอแล้วให้คลายสายยาง
  • ใช้สำลีหรือผ้าก็อซปิดและกดบริเวณที่เจาะ
  • ติดพลาสเตอร์

ค่าปกติของ CBC

Hemoglobin (Hgb)
ผู้ชาย:

14–17.4 grams per deciliter (g/dL) หรือ 140–174 grams per liter (g/L)

ผู้หญิง:

12–16 g/dL or 120–160 g/L

เด็ก:

9.5–20.5 g/dL or 95–205 g/L

ทารก:

14.5–24.5 g/dL or 145–245 g/L

ปกติค่า Hemoglobin จะมีค่าประมาณหนึ่งในสามของค่า Hematocrit

Hematocrit (HCT) 
ผู้ชาย:

42%–52% or 0.42–0.52 volume fraction

ผู้หญิง:

36%–48% or 0.36–0.48 volume fraction

เด็ก:

29%–59% or 0.29–0.59 volume fraction

ทารก:

44%–64% or 0.44–0.64 volume fraction

 

Red blood cell (RBC) count
ผู้ชาย:

4.5–5.5 million RBCs per microliter (mcL) or 4.5–5.5 x 1012/liter (L)

ผู้หญิง:

4.0–5.0 million RBCs per mcL or 4.0–5.0 x 1012/L

เด็ก:

3.8–6.0 million RBCs per mcL or 3.8–6.0 x 1012/L

เด็ก:

4.1–6.1 million RBCs per mcL or 4.1–6.1 x 1012/L

 

Red blood cell indices 
Mean corpuscular volume (MCV)—ผู้ใหญ่:

84–96 femtoliters (fL)

Mean corpuscular hemoglobin (MCH)—ผู้ใหญ่:

28–34 picograms (pg)per cell

Mean corpuscular hemoglobin concentration (MCHC)—ผู้ใหญ่:

32–36 grams per deciliter (g/dL)

Red cell distribution width (RDW) 1
Normal:

11.5%–14.5%

 

White blood cell (WBC, leukocyte) count 
ผู้ใหญ่:

5,000–10,000 WBCs per cubic millimeter (mm3) or 5.0–10.0 x 109 WBCs per liter (L)

 

White blood cell types (WBC differential)
Neutrophils:

50%–62%

Band neutrophils:

3%–6%

Lymphocytes:

25%–40%

Monocytes:

3%–7%

Eosinophils:

0%–3%

Basophils:

0%–1%

 

Platelet (thrombocyte) count 
Adults:

140,000–400,000 platelets per mm3 or 140–400 x 109/L

Children:

150,000–450,000 platelets per mm 3 or 150–450 x 109/L

 

Mean platelet volume (MPV) 
Adults:

7.4–10.4 mcm3 or 7.4–10.4 fL

Children:

7.4–10.4 mcm3 or 7.4–10.4 fL

  • cells/mcL = cells per microliter
  • gm/dL = grams per deciliter;
  • pg/cell = picograms per cell

ผลข้างเคียงของการเจาะเลือด

ผลข้างเคียงมีน้อยมาก แต่บางท่านอาจจะเจาะเลือดยากต้องเจาะหลายครั้งผลข้างเคียงที่พบได้แก่

  • มีเลือดออก โดยเฉพาะผู้ที่รับประทานยา aspirin warfarin
  • หน้ามืดเป็นลม
  • รอยช้ำเขียวบริเวณที่เจาะเลือดเนื่องจากไม่ได้กดหรือกดไม่แน่น
  • เส้นเลือดอักเสบ
  • มีก้อนเลือดบริเวณที่เจาะ

ปัจจัยที่มีต่อผลเลือด

  • หากรัดสายยางที่แขนนานเกินไปจะทำให้ผลเลือดเปลี่ยนไป
  • ยาบางชนิดอาจจะมีผลต่อค่าเลือด เช่นยาปฏิชีวนะ ยาขับปัสสาวะ ยาเคมีบำบัด เป็นต้น
  • ระดับไขมันในเลือดสูงอาจจะทำให้ฮีโมโกลบินสูงเกินความเป็นจริง
  • ผู้ที่ม้ามโตจะมีเกล็ดเลือดต่ำ
  • คนท้องจะมีปริมาณเม็ดเลือดแดงน้อย แต่เม็ดเลือดขาวสูง
  • การออกกำลังกาย ความเครียด และสูบบุหรี่จะมีผลต่อเม็ดเลือดขาว

Hemoglobin | Hematocrit | Red blood cell | Inclusion body | เม็ดเลือดแดง | Reticulocyte count | MCV | MCHC | MCH | ลักษณะเม็ดเลือดแดง | เกล็ดเลือด | เม็ดเลือดขาว | Neutrophil | Lymphocyte | Eosinophil | Monocyte | Basophil | Rh | กรุปเลือด

ทบทวนวันที่ 23/1/2566

โดย นายแพทย์ ประพันธ์ ปลื้มภาณุภัทร อายุรแพทย์,แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว

Google
 

เพิ่มเพื่อน