สมองขาดเลือดชั่วคราว Transient Ischaemic Attack (TIA)

สมองขาดเลือดชั่วคราวคืออะไร transient ischaemic attack(TIA )

โรค TIA หรือ โรคอัมพฤกษ์ชั่วคราว คือ โรคที่เกิดจากสมองสูญเสียหน้าที่ชั่วคราว โดยเกือบทั้งหมดเกิดจากเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอเพียงชัวคราว มีส่วนน้อยมากๆที่เกิดจากหลอดเลือดสมองแตก ซึ่งอาการส่วนใหญ่จะผิดปกตินานประมาณ 30 นาที – 1 ชั่วโมง โดยทุกคนจะหายเป็นปกติภายระยะเวลาประมาณใน 24 ชั่วโมง

หากมีการดังกล่าวจะเป็นอาการเตือนว่าโอกาศเกิดอัมพาตสูง

โรคสมองขาดเลือดชั่วคราว TIA มีอันตรายหรือไม่

ถึงแม้ว่าอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นดังได้กล่าวจะหายได้เองใน 24 ชั่วโมง แต่อาจจะเกิดซ้ำ เนื่องจากผู้ป่วยเป็นโรค TIA นี้มีโอกาสเกิดเป็นโรคอัมพาตจากโรคสมองขาดเลือด สูงถึง 1 ใน 3 ใน 1 เดือน หลังจากเกิดโรคสมองขาดเลือดชั่วคราว TIA

อาการของโรคสมองขาดเลือดชั่วคราวเป็นอย่างไร

อาการของภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว

อาการของภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวขึ้นกับบริเวณสมองที่ขาดเลือด อาการจะเหมือนกับโรคหลอดเลือดสมอง อาการดังกล่าวได้แก่

  • แขน ขา อ่อนแรง หรือชาด้านใดด้านหนึ่งของร่างกาย
  • ปากเบี้ยว หลับตาไม่สนิท
  • พูดลำบาก พูดไม่ชัด นึกคำพูดไม่ออก
  • เวียนศีรษะ ทรงตัวไม่ได้วิงเวียนศีรษะ
  • ตามัว ตามองไม่เห็นเฉียบพลัน มองเห็นภาพซ้อน
  • ปวดศีรษะทันที
  • กลืนลำบาก

อาการดังกล่าวข้างต้นมักจะเกิดแบบเฉียบพลัน

หากเกิดอาการดังกล่าวจะต้องรีบไปโรงพยาบาล

หากเกิดอาการเตือนโรคหลอดเลือดสมองดังกล่าวจะต้องรีบไปโรงพยาบาล

หากอาการดังกล่าวหายไป ยังต้องไปพบแพทย์หรือไม่

เมื่อเกิดอาการเตือนโรคหลอดเลือดสมองต้องรีบไปโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด แต่หากอาการหายไปจนอาการเหมือนคนปกติก่อนที่จะไปโรงพยาบาลก็ยังต้องไปโรงพยาบาล

อะไรทำให้เกิดโรคสมองขาดเลือดชั่วคราว

โรคสมองขาดเลือดชั่วคราวเกิดจากการที่มีสิ่งที่กีดขวางการไหลเวียนของเลือดทำให้สมองส่วนดังดังสูญเสียหน้าที่การทำงาน เมื่อเลือดกลับไปเลี้ยงสมองการทำงานของสมองก็กลับมาสู่ปกติอาการมักจะหายไปใน 24 ชั่วโมง แต่หากสมองขาดเลือดนานก็อาจจะเกิดความพิการตามมาเช่น อัมพฤต ส่วนตัวที่ขวางทางเดินของเลือดได้แก่ลิ่มเลือด หรือเลือดออกใสมอง

สาเหตุของโรค TIA

เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอเป็นการชั่วคราว โดยมักเกิดจากสาเหตุใหญ่ 3 ประการได้แก่

  • หลอดเลือดสมองที่แข็งตัว หรือตีบแคบ (โรคหลอดเลือดแดงแข็งAtherosclerosis) ร่วมกับมีการไหลเวียนของเลือดที่ลดลงชั่วคราว หลอดเลือดที่หนาตัวเนื่องจากมีคราบไขมันสะสมอยู่ในผนังหลอดเลือดทำให้หลอดเลือดหนาและแข็งไม่ยืดหยุ่น ทำให้เลือดไหลผ่านไปได้ยาก 
  • เกิดจากมีลิ่มเลือดจากหัวใจขนาดเล็กหลุดมาอุดหลอดเลือดในสมอง
  • ส่วนน้อยมากๆที่เกิดจากหลอดเลือดขนาดเล็กในสมองแตก

การวินิจฉัยโรคสมองขาดเลือดชั่วคราว

 

การรักษาโรคสมองขาดเลือดชั่วคราว

ด้วยโรค TIA นั้น มีโอกาสเป็นอัมพาตได้สูงและที่สำคัญคือ ในขณะที่มีอาการนั้น เราไม่ทราบว่าจะเป็น TIA หรือกลายเป็นอัมพาต การรักษาโรคอัมพาตปัจจุบันนั้นที่เป็นมาตรฐานคือ ควรต้องรักษาภายใน 270 นาทีหลังเกิดอาการ (หรือที่เรียกว่า นาทีชีวิต หรือ Stroke Fast Track) ถ้าผู้ป่วยรอสังเกตอาการ ว่าจะหายหรือไม่หาย ถ้าไม่หายมาพบแพทย์ก็อาจมาช้าเกิน ไป ดังนั้น ถ้ามีอาการผิดปกติดังกล่าวในหัวข้อ อาการ ก็ควรรีบไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลทันที

การป้องกันโรคสมองขาดเลือดชั่วคราว

 

 

 

โรคคสมองขาดเลือดมาเลี้ยงชั่วคราว หรือเรียกย่อว่า โรคทีไอเอ (TIA,Transient ischemic attack) หรือที่คนทั่วไปเรียกว่าโรคอัมพฤกษ์ คือ อาการที่ผู้ป่วยมีอาการผิดปกติทางสมองแล้วหายเองได้ ซึ่งอาการดังกล่าว ปัจจุบันถือว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองชนิดขาดเลือด หรือโรคอัมพาต บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรค TIA เพราะคนส่วนใหญ่ยังมีความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับ TIA หลายประเด็น ส่งผลต่อการรักษาและอาจก่อให้ เกิดความพิการหรือแม้กระทั่งการเสียชีวิตตามมาได้

  • โรค TIA คืออะไร?
  • อะไรเป็นสาเหตุให้เกิดโรค TIA?
  • ใครมีปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดสมองขาดเลือดชั่วคราว?

ปัจจัยเสี่ยงของโรค TIA คือ ปัจจัยเสี่ยงเดียวกับการเกิดโรคอัมพาต ได้แก่ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคอ้วน ผู้ที่สูบบุหรี่ และ คนที่ไม่ออกกำลังกาย

 

แพทย์วินิจฉัยได้อย่างไรว่าเป็น TIA?

 

แพทย์วินิจฉัยได้อย่างไรว่าเป็น TIA?

แพทย์จะทำการวินิจฉัยโรค TIA จากประวัติผู้ป่วยที่มีอาการผิดปกติ การตรวจวัดสัญ ญาณชีพ (ความดันโลหิต การตรวจจับชีพจร อัตราการหายใจ และอุณหภูมิของร่างกาย) และการตรวจร่างกายทางระบบประสาท เช่น แขนขาอ่อนแรงด้านใดด้านหนึ่งของร่างกาย พูดไม่ชัด ปากเบี้ยว โดยอาการผิดปกตินั้นเป็นนานประมาณ 30-60 นาที ถ้านานกว่านั้นก็ไม่เกิน 24 ชั่ว โมง และอาจมีการตรวจอื่นๆเพิ่มเติม ทั้งนี้ขึ้นกับอาการผิดปกติของผู้ป่วยที่แพทย์ตรวจพบและดุลพินิจของแพทย์ เช่น การตรวจเลือดดูปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น น้ำตาลในเลือด และ/หรือค่าไข มันในเลือด และการตรวจภาพสมองและ/หลอดเลือดสมองด้วย เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ และ/หรือเอมอาร์ไอ

มีวิธีรักษาโรค TIA อย่างไร?

การรักษาโรค TIA คือ การให้ทานยาต้านเกล็ดเลือด หรือยาละลายลิ่มเลือดขึ้นอยู่กับสาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค รวมทั้งการรักษาปัจจัยเสี่ยงข้างต้นที่ได้กล่าวแล้วในหัวข้อ ปัจจัยเสี่ยงถ้าผู้ป่วยมีปัจจัยเสี่ยง เช่น รักษาควบคุมโรคเบาหวาน เป็นต้น

ผู้ป่วยโรค TIA คนไหนที่มีโอกาสเป็นโรคอัมพาต?

จากเครื่องมือคัดกรองที่เรียกว่า ABCD2 Score มีการทำนายได้ค่อนข้างแม่นยำว่า ใครที่เมื่อเกิดอาการจาก TIA แล้ว มีปัจจัยเสี่ยงสูงต่อการเกิด อัมพาต ซึ่งเครื่องมือคัดกรองนี้ ประ กอบด้วย 5 ปัจจัยสำคัญ ดังต่อไปนี้

  • Age: อายุ มากกว่า 60 ปี อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปมีค่า 1 คะแนน
  • Blood pressure: ความดันโลหิตสูง มากกว่า 140/90 มม.ปรอท ความดันโลหิตสูงกว่า 140/90 มก.ปรอท มีค่า 1 คะแนน
  • Clinical sign/อาการผิดปกติที่เกิดขึ้น: มีความผิดปกติทางระบบประสาท คือ แขนขาอ่อนแรง แขนขาอ่อนแรงด้านใดด้านหนึ่ง มีค่า 2 คะแนน
  • พูดไม่ชัด พูดลำบาก พูดไม่ชัด พูดลำบากและไม่อ่อนแรง มีค่า 1 คะแนน
  • Duration: ระยะเวลาที่มีอาการนานเท่าไหร่ ยิ่งมีอาการอยู่นาน
    • ระยะเวลาที่เกิดอาการ ถ้าสั้นกว่า 10 นาที มีค่า 0 คะแนน
    • 10 – 59 นาที มีค่า 1 คะแนน
    • ตั้งแต่ 60 นาที มีค่า 2 คะแนน
  • ปัจจัยเสี่ยงยิ่งสูง Diabetes: เป็นโรคเบาหวาน

ทั้งนี้โดย ความผิดปกติทางระบบประสาท อื่นๆ มีค่า 0 คะแนน ถ้ารวมคะแนนทั้งหมดแล้ว ค่าคะแนนสูง ยิ่งมีโอกาสเกิดโรคอัมพาตได้สูง

หลังจากไปพบแพทย์แล้วก็ปกติดี ควรดูแลสุขภาพอย่างไร?

การดูแลสุขภาพในผู้ป่วย TIA เหมือนกับการดูแลผู้ป่วยเป็นอัมพาต (โรคหลอดเลือดสมอง) เลยครับ คือ ต้องตรวจสุขภาพประจำปี ดูแลรักษา ควบคุม โรคประจำตัวที่เป็นอยู่ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง ไม่ควรสูบบุหรี่ ถ้าสูบอยู่ควรต้องเลิกสูบ ไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์ ถ้าดื่มอยู่ควรต้องค่อยๆเลิก และเลิกดื่มในที่สุดและ ออกกำลังกายสม่ำเสมอตามควรกับสุขภาพ

ต้องรับประทานยาต้านเกล็ดเลือดหรือไม่?

ในโรค TIA จำเป็นต้องรับประทานยาต้านเกล็ดเลือด เพื่อลดโอกาสการเกิดอาการซ้ำ และลดโอกาสเกิดอัมพาต (โรคหลอดเลือดสมอง) ปัจจุบันมีการศึกษา ยืนยันประสิทธิภาพยาแอสไพริน (Aspirin) คู่กับยาโคลพิโดเกล (Clopidogrel) โดยใช้ยานานประมาณ 90 วันนับจากเกิดอาการ และหลังจากนั้นทานแอสไพรินวันละ 1 เม็ด ขนาด 81 มิลลิกรัมตลอดไป เมื่อท่านทราบอย่างนี้แล้วอย่านิ่งนอนใจนะครับ ถ้ามีอาการผิดปกติให้รีบไปโรงพยาบาลพบแพทย์ทันที

การวินิจฉัยโรคสมองขาดเลือดชั่วคราว | สาเหตุสมองขาดเลือดชั่วคราว | อาการสมองขาดเลือดชั่วคราว | การรักษาสมองขาดเลือดชั่วคราว | การป้องกันสมองขาดเลือดชั่วคราว | สมองขาดเลือดชั่วคราว |

เพิ่มเพื่อน