หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน

5 สัญญาณเตือนภาวะหัวใจล้มเหลว 5 ประการ


หัวใจวายหรือหัวใจล้มเหลวเป็นภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดไปเลี้ยงร่างกายอย่างเพียงพอ จึงทำให้เกิดอาการของเลือดที่ไปเลี้ยงร่างกายไม่พอ และอาการของการคั่งของน้ำและเกลือแร่ เช่น อาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย นอนราบไม่ได้ บวมเท้า

อาการแรกสุดของภาวะหัวใจล้มเหลว | สาเหตุของภาวะหัวใจล้มเหลว | อาการเตือนหัวใจล้มเหลว | ยาที่ควรหลีกเลี่ยงเมื่อคุณมีภาวะหัวใจล้มเหลว

 


สัญญาณเตือนหัวใจล้มเหลว

อาการแรกสุดของภาวะหัวใจล้มเหลว

อาการแรกๆของโรคหัวใจวายอาจจะไม่รุนแรง หรือมีการเปลี่ยนแปลงทีละน้อยจนกระทั่งผู้ป่วยส่วนใหญ่คิดว่าเป็นปกติ หากละเลยอาการดังกล่าวก็อาจจะทำให้เกิดอากรที่รุนแรงเนื่องจากรักษาช้า ดังนั้นผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคเบาหวานจะต้องเรียนรู้อาการของโรคหัวใจวาย

กิจวัตรประจำวันที่เคยทำได้เช่นการขึ้นบันไดที่ครั้งหนึ่งคุณเคยใช้ทีละสองขั้นได้อย่างสบายในตอนนี้อาจรู้สึกน่ากลัวพอๆ กับไต่เขา จะรู้สึกเหนื่อยจนต้องหยุดพัก มีอาการใจสั่น หายใจเร็วพอพักสักครู่ก็ดีขึ้น ความเหนื่อยล้าและการหายใจไม่ออกอาจเป็นสัญญาณว่าหัวใจของคุณทำงานได้ไม่ดีเท่าที่ควร มีแนวโน้มโดยทั่วไปที่ผู้คนจะเพิกเฉยต่ออาการหัวใจล้มเหลว ทำให้มารักษาเมื่ออาการเป็นมากแล้ว อาการหัวใจล้มเหลว

สาเหตุของภาวะหัวใจล้มเหลว

ภาวะหัวใจล้มเหลวเกิดขึ้นเมื่อมีบางสิ่งทำลายกล้ามเนื้อหัวใจ หรือทำให้ความสามารถในการสูบฉีดของหัวใจลดลง ความเสียหายส่วนใหญ่เกิดจาก โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือหัวใจวาย แตโรค่ลิ้นหัวใจ ความดันโลหิตสูงหรือโรคทางพันธุกรรม ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใด หัวใจที่ล้มเหลวก็ไม่สามารถสูบฉีดได้ดีพอที่จะให้ทันกับความต้องการของร่างกาย สาเหตุหัวใจล้มเหลว

อาการเตือนหัวใจล้มเหลว

องค์กรเกี่ยวกับโรคหัวใจวาย(Heart Failure Society of America www.HFSA.org) ได้พัฒนาเครื่องมือที่ติดตามอาการของโรคหัวใจล้มเหลว์ซึ่งใช้ชื่อย่อ FACESF

F = อ่อนเพลีย อ่อนล้า เอาแต่นอน ไม่อยากจะมีกิจกรรมที่เคยทำ ร่างกายรู้สึกล้าๆ

A = ข้อจำกัดของกิจกรรม ผู้ที่เป็นโรคหัวใจล้มเหลวมักไม่สามารถทำกิจกรรมตามปกติได้เพราะรู้สึกเหนื่อยและหายใจไม่ออก เช่นการเดินขึ้นบันได การเดินเร็ว หรือกิจกรรมที่เคยทำได้แต่ระยะหลังมีอาการเหนื่อยใจสั่น

C = มีการคั่งของน้ำ การสะสมของของเหลวในปอดอาจทำให้มีอาการไอ หายใจมีเสียงหวีด และหายใจลำบาก นอนราบแล้วแน่นหน้าอกต้องลุกขึ้นมานั่ง

E = อาการบวมน้ำหรือข้อเท้าบวม เมื่อหัวใจมีแรงสูบฉีดไม่เพียงพอให้เลือดที่ใช้แล้วกลับคืนมาจากรยางค์ล่าง ของเหลวก็จะสะสมอยู่ที่ข้อเท้า ขา ต้นขา และหน้าท้อง อาการบวมจะเห็นชัดเจนตอนสายๆของวัน ของเหลวส่วนเกินอาจทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

S = หายใจถี่ ของเหลวในปอดทำให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดที่ใช้แล้วถูกแลกเปลี่ยนเป็นออกซิเจนสดได้ยากขึ้น อาจหายใจลำบากขึ้นเมื่อนอนราบเพราะแรงโน้มถ่วงช่วยให้ของเหลวจากใต้ปอดเคลื่อนตัวขึ้นไปยังลำตัว

ด้วยตัวมันเอง

สัญญาณเตือนทั้งห้านี้ไม่ได้ยืนยันการวินิจฉัยของภาวะหัวใจล้มเหลว แต่มันสื่อถึงความรู้สึกเร่งด่วนที่จะขอคำแนะนำจากแพทย์

Further testing=การทดสอบเพิ่มเติม

นอกจากการตรวจร่างกายแล้ว แพทย์ยังมีเครื่องมือสำคัญอีกสองอย่างในการตรวจหาสาเหตุภาวะหัวใจล้มเหลว อย่างแรกคือการ

เมื่อการวินิจฉัยเบื้องต้นได้รับการยืนยันแล้ว อาจจำเป็นต้องทำการทดสอบเพิ่มเติมเพื่อค้นหาว่าอะไรเป็นสาเหตุของความผิดปกติของหัวใจ

และกำหนดแนวทางการรักษาที่ดีที่สุด



ยาที่ควรหลีกเลี่ยงเมื่อคุณมีภาวะหัวใจล้มเหลว

ผู้ที่เป็นโรคหัวใจล้มเหลวมักใช้ยาหลายชนิด อย่างไรก็ตาม ยาที่ต้องสั่งโดยแพทย์ ยาที่จำหน่ายหน้าเคาน์เตอร์และอาหารเสริมที่ใช้กันทั่วไปหลายชนิดเป็นอันตรายเพื่อทำให้อาการหัวใจล้มเหลวรุนแรงขึ้น เพื่อความปลอดภัย ตรวจสอบให้แน่ใจว่าผู้ให้บริการทางการแพทย์ทุกรายของคุณมีรายการยาทั้งหมดที่คุณใช้อยู่ครบถ้วน สารประกอบเฉพาะที่ต้องระวัง ได้แก่

สาเหตุของโรคหัวใจวาย | การวินิจฉัยโรคหัวใจวาย | อาหารสำหรับโรคหัวใจวาย | สัญญาณเตือนอาการโรคหัวใจวาย | หกขั้นตอนการดูแลโรคหัวใจที่บ้าน | ยารักษาโรคหัวใจ | การปรับพฤติกรรม | อาการโรคหัวใจวาย | การรักษาหัวใจวาย การทำงานของหัวใจ | ภาวะหัวใจล้มเหลวหรือหัวใจวาย

Google
 

 

เพิ่มเพื่อน