การรักษาหัวใจวายโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม


อย่างที่ทุกคนทราบว่าโรคหัวใจเป็นโรคที่รักษาไม่หาย การรักษาเป็นเพียงรักษาอาการเช่นอาการหอบเหนื่อย เพลีย อาการบวม และชะลอการเสื่อมของกล้ามเนื้อหัวใจ การรักษาหัวใจวายจะทำให้คนไข้ไม่อ่อนเพลีย สามารถออกกำลังกายได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น หากคนที่เป็นโรคหัวใจมีพฤติกรรมที่ทำให้หัวใจต้องทำงานหนัก จะทำให้อาการของโรคหัวใจเลวลงพฤติกรรมที่ต้องปรับเปลี่ยนมีดังนี้

  • รับประทานยาตามสั่งโดยเคร่งครัด
  • รับประทานอาหารที่มีคุณภาพ งดอาหารที่ใส่เกลือหรืออาหารเค็มทุกชนิด
  • สำหรับอาหารสำเร็จรูปให้อ่านสลากดูปริมาณเกลือทุกครั้ง
  • ให้ทำกิจวัตรประจำวันตามปกติ
  • หยุดสูบบุหรี่ บุหรี่จะเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ คาร์บอนมอน็อกไซด์จะทำให้ร่างกายได้ออกซิเจนน้อยลงซึ่งส่งผลเสียต่อโรคหัวใจ
  • ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่
  • งดดื่มสุรา สุราจะกดการทำงานของหัวใจหากจะดื่มต้องดื่มไม่มากกว่าหนึ่งหน่วยสุรา
  • หากจะรับประทานยาแก้ไข้หวัดให้ปรึกษาแพทย์
  • อย่าเครียด
  • ลดน้ำหนักให้ชั่งน้ำหนักทุกวัน เนื่องจากคนอ้วนจะเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง นอกจากนั้นคนอ้วนก็จะเป็นภาระส่วนเกินต่อหัวใจ การชั่งน้ำหนักให้ชั่งทุกวัน ตอนเช้าหลังตื่นนอนแล้วบันทึกน้ำหนักลงในสมุด เมื่อไปพบแพทย์ก็รายงานผลให้แพทย์ทราบ
  • วันที่ น้ำหนัก อาการหรือความเห็น
         
         
  • หลีกเลี่ยงกาแฟ


การออกกำลังจะช่วยให้หัวใจแข็งแรงขึ้น โดยการเดินหรือขี่จักรยานอยู่กับที่วันละ 20-30 นาที แต่การออกกำลังจะต้องปรึกษาแพทย์และอยู่ในความควบคุมอย่างใกล้ชิดของแพทย์ หลังออกกำลังกายผู้ป่วยควรจะได้พักผ่อนอย่างพอเพียง

           เคล็ดในการออกกำลังกาย
ให้มีอารอบอุ่นร่างกายและยืดกล้ามเนื้อประมาณ 10-15 นาที
ให้มีเพื่อนร่วมออกกำลังกายเสมอ
เลือกการออกกำลังกายที่ชื่นชอบ
อย่าออกกำลังที่ต้องใช้แรงเพิ่มอย่างเฉียบพลัน เช่นการวิ่งแข่ง
อย่าออกกำลังจนกระทั่งมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่ออกหรือเวียนศีรษะ
ไม่ออกกำลังหลังรับประทานอาหาร
อย่าออกกำลังในที่ร้อนหรือเย็นเกินไป
คอยติดตามการเต้นของหัวใจ
ให้ออกกำลังตามที่แพทย์ท่านแนะนำ


งดการสูบบุหรี่

นิโคตินที่อยู่ในบุหรี่จะทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น ความดันโลหิตสูงขึ้น ออกซิเจนในเลือดลดลงปัจจัยเหล่านี้จะเพิ่มภาระให้แก่หัวใจ นอกจากนั้นยังทำให้เลือดข้นจับตัวเป็นลิ่มเลือดได้ง่าย การหยุดบุหรี่จะทำให้หัวใจทำงานดีขึ้น วิธีการหยุดบุหรี่คลิกที่นี่

การจัดการเกี่ยวกับความเครียด

ปกติผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจก็มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับโรคของตัวเอง หากผู้ป่วยมีความกังวลเกี่ยวกับงาน เด็ก การเงิน การงาน ความเครียดจะทำให้หัวใจต้องทำงานหนักขึ้นซึ่งไม่เป็นผลดีต่อหัวใจมีวิธีการที่จะจัดการเกี่ยวกับความเครียด

  • หากท่านมีความเครียดให้ปรึกษากับผู้ที่ท่านไวใจที่สุด
  • ใช้เวลาวันละ 15-20 นาทีทำสมาธิ
  • รู้จักปลงยอมรับกับสิ่งที่เกิดและไม่สามารถเปลี่ยนแปลง
  • ระงับความโกรธ นับ 1-10 ก่อนตอบคำถามเวลาโกรธ
  • อย่าใช้การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา การรับประทานอาหารเป็นวิธีคลายเครียด
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ
  • หลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้คุณเครียด
  • ให้รูจักปฏิเสธ อย่าตกลงหากคุณงานมากเกินไป
  • ปรึกษาจิตแพทย์หากคุณไม่สามารถแก้ปัญหาด้วยตัวเอง

รายละเอียดเรื่องความเครียดคลิกที่นี่

การพักผ่อน

ผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจจะต้องจัดเวลาพักผ่อนโดยเฉพาะเวลากลางวัน เนื่องจากเมื่อเวลาพักหัวใจจะได้พัก อาจจะหาเวลางีบหลังอาหาร เวลาทำงานหากนั่งได้ให้นั่งพัก ควรจะนั่งยกเท้าสูง หากเวลานอนกลางคืนแล้วมีอาการแน่นหน้าอกควรจะใช้หมอนหนุนจะทำให้อาการดีขึ้น

หลีกเลี่ยงปอดบวมและไข้หวัดใหญ่

ไข้หวัดใหญ่และปอดบวมเป็นอันตรายสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจเพราะจะทำให้หัวใจทำงานหนัก ผู้ป่วยโรคหัวใจวายควรจะหลีกเลี่ยงผู้ป่วยที่เป็นหวัด ที่ๆมีคนมากเช่นห้างสรรพสินค้า โรงหนัง และควรจะฉีดวัคซีนป้องกันปอดบวม และวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ทุกปี

เฝ้าติดตามอาการของโรคหัวใจกำเริบ

ท่านที่เป็นโรคหัวใจหากสามารถรู้เท่าทันโรคและสามารถรู้ว่าโรคจะกำเริบและรีบแจ้งแพทย์จะทำให้รักษาได้ทัน

อาการที่ผู้ป่วยต้องเฝ้ามองมีดังนี้

  • หากน้ำหนักเพิ่มอย่างรวดเร็ว เช่นมากว่า 1 กิโลกรัม/วัน หรือ 2 กิโลกรัม/สัปดาห์ควรจะแจ้งแพทย์ ผู้ป่วยควรจะชั่งน้ำหนักทุกวัน
  • หอบเหนื่อยขณะพัก
  • บวมเท้าและข้อเท้า
  • เวลานอนต้องใช้หมอนหนุนสูง นอนแล้วเหนื่อยต้องลุกขึ้นนั่งสักพักจึงหายเหนื่อย
  • ไอเป็นประจำโดยเฉพาะไอเวลานอน
  • เบื่ออาหาร
  • อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย

ผู้ป่วยโรคหัวใจจะมีเพศสัมพันธ์ได้หรือไม่

ผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจวายสามารถที่จะมีเพศสัมพันธ์ได้เหมือนหรือใกล้เคียงคนปกติหากสามารถควบคุมอาการของโรค และปฏิบัติตามแนวทาง

  • เวลามีเพศสัมพันธ์ต้องเลือกเวลาและสถานที่ให้เหมาะสม ต้องไม่เครียดจากงาน ต้องไม่รีบเกินไป และมีความผ่อนคลายพอควร
  • ไม่ควรมีเพศสัมพันธ์หลังอาหาร
  • หากเวลามีเพศสัมพันธ์และรู้สึกเหนื่อยให้หยุดทันที
การใช้ยาสำหรับหัวใจวาย อาหารสำหรับโรคหัวใจวาย

สาเหตุของโรคหัวใจวาย | การวินิจฉัยโรคหัวใจวาย | อาหารสำหรับโรคหัวใจวาย | สัญญาณเตือนอาการโรคหัวใจวาย | หกขั้นตอนการดูแลโรคหัวใจที่บ้าน | ยารักษาโรคหัวใจ | การปรับพฤติกรรม | อาการโรคหัวใจวาย | การรักษาหัวใจวาย การทำงานของหัวใจ | ภาวะหัวใจล้มเหลวหรือหัวใจวาย

เพิ่มเพื่อน