แพทย์จะตรวจอะไรบ้างเพื่อวินิจฉัยโรคหัวใจวาย
การวินิจฉัยโรคหัวใจวายจะวินิจฉัยจากประวัติการหอบเหนื่อยหรืออาการบวม และจากการตรวจร่างกายผู้ป่วยที่มีอาการและแพทย์ตรวจแล้วสงสัยว่าจะมีโรคหัวใจวายแพทย์จะตรวจทางห้องปฏิบัติการ การตรวจทางห้องปฏิบัติการก็เพื่อหาสาเหตุ ประเมินความรุนแรงของโรคหัวใจวาย
- เจาะเลือดตรวจเพื่อดูการทำงานของตับและไต
- ตรวจปัสสาวะ
- X-RAY ปอดและหัวใจเพื่อจะดูขนาดของหัวใจ และดูว่ามีน้ำท่วมบอดหรือไม่ ผู้ป่วยหัวใจวายจะมีขนาดหัวใจโต
- ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเพื่อดูว่ากล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือไม่ กล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวหรือไม่ การเต้นของหัวใจปกติหรือไม่
- ตรวจคลื่นเสียงหัวใจ Echocardiography วิธีการตรวจเครื่องจะปล่อยคลื่นเสียงผ่านไปยังกล้ามเนื้อหัวใจ คลื่นเสียงจะสะท้อนกลับมายังเครื่องรับ ทำให้เราสามารถเห็นความหน้าของกล้ามเนื้อหัวใจ เห็นการบีบตัวของหัวใจเพื่อตรวจวัดว่าหัวใจบีบตัวดีหรือไม่ มีความผิดปกติของลิ้นหัวใจหรือไม่ คนที่เป็นโรคหัวใจวายหัวใจจะมีการบีบตัวน้อยกว่าปกติ กล้ามเนื้อหัวใจหนาหรือไม่ การตรวจนี้ไม่เจ็บปวดใช้เวลาประมาณไม่ถึงครึ่งชั่วโมง
- การตรวจทางนิวเคลีย Radionuclide ventriculography เพื่อวัดปริมาณเลือดที่หัวใจบีบออกไปในแต่ละครั้ง
- การตรวจด้วยวิธีการวิ่งบนสายพาน Treadmil Exercise เป็นการตรวจเพื่อดูว่าเส้นเลือดไปเลี้ยงหัวใจตีบหรือไม่
การแบ่งความรุนแรงของโรคหัวใจ
การแบ่งความรุนแรงของโรคหัวใจก็เพื่อเป็นแนวทางในการรักษาและดูแลตัว แพทย์จะแบ่งความรุนแรงออกเป็น 4 ระดับดังนี้
ความรุนแรง | ปริมาณผู้ป่วย | อาการของผู้ป่วย |
I | 35% | ผู้ป่วยไม่มีอาการ สามารถทำงานได้เหมือนคนปกติ |
II | 35% | มีอาการเล็กน้อยเวลาทำงานปกติ พักจะไม่เหนื่อย |
III | 25% | ไม่สามารถทำงานปกติได้เพราะเหนื่อย เช่นเดินก็เหนื่อย แต่พักจะไม่เหนื่อย |
IV | 5% | ไม่สามารถทำงานปกติเช่นการอาบน้ำ การเดิน ขณะพักก็เหนื่อย. |
การแบ่งความรุนแรงก็เพื่อประโยชน์ในการติดตามผู้ป่วยและการวางแผนการรักษา
อาการของหัวใจวายหัวใจวาย | การรักษาโรคหัวใจวาย |
สาเหตุของโรคหัวใจวาย | การวินิจฉัยโรคหัวใจวาย | อาหารสำหรับโรคหัวใจวาย | สัญญาณเตือนอาการโรคหัวใจวาย | หกขั้นตอนการดูแลโรคหัวใจที่บ้าน | ยารักษาโรคหัวใจ | การปรับพฤติกรรม | อาการโรคหัวใจวาย | การรักษาหัวใจวาย การทำงานของหัวใจ | ภาวะหัวใจล้มเหลวหรือหัวใจวาย