โรคความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูงจะเพิ่มความเสี่ยงของท่านในการเกิดโรคหัวใจ โรคไต โรคหลอดเลือดสมอง โรคความดันโลหิตสูงอาจจะไม่มีอาการเตือนผู้ป่วยหลายรายมาด้วยโรคแทรกซ้อน เช่นโรคหัวใจโต หรือโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

เมื่อไรจึงจะเรียกว่าความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิตที่วัดได้ (mm Hg)*
ความรุนแรงของความดันโลหิต Systolic Diastolic จะต้องทำอะไร
ความดันโลหิตที่ต้องการ น้อยกว่า 120 น้อยกว่า 80 ให้ตรวจซ้ำใน 2 ปี
ความดันโลหิตปกติ 120-129 และหรือ80/84  
ความดันโลหิตสูงขั้นต้น Prehypertension 130-139 และหรือ 85-89 ตรวจซ้ำภายใน 1 ปี
ความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิตสูงระดับ 1 Stage 1 (mild) 140-159 และหรือ 90-99 ให้ตรวจวัดความดันอีกใน 2 เดือน
ความดันโลหิตสูงระดับ 2 Stage 2 (moderate) 160-179 และหรือ100-109 ให้พบแพทย์ใน 1 เดือน
ความดันสูงระดับ3 (severe) มากกว่าหรือเท่ากับ 180 และหรือมากกว่า110  
  • คนปรกติจะมีความดันโลหิต 120/80 มิลิเมตรปรอท
  • หากความดันโลหิตตัวบนหรือ systolic มากกว่า 140 มิลิเมตรปรอท หรือความโลหิตตัวล่างเกิน 90 มิลิเมตรปรอทจะเรียกว่าความดันโลหิตสูงให้วัดซ้ำใน 2 สัปดาห์
  • สำหรับผู้ที่มีความดันโลหิตระหว่าง130-139/85-89 มิลิเมตรปรอทเรียก Prehypertension หมายถึงยังไม่เป็นโรคความดันโลหิตสูงแต่มีโอกาศที่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูงในอนาคต ซึ่งจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
  • หากเป็นความดันสูงระดับรุนแรง(ระดับ2ขึ้นไป)หรือมีร่องรอยว่าเกิดผลเสียจากความดันโลหิต เช่น หัวใจโต หัวใจวาย ไตวาย ปัสสาวะมีโปรตีน หรือมีการเปลี่ยนแปลงจอประสาทตา กรณีเช่นนี้ให้รีบรักษาทันที

เมื่อตรวจร่างกายแล้วว่าความดันโลหิตสูงต้องรับประทานยาทันทีหรือไม่ อ่านเมื่อไรจะรักษาความดันโลหิตสูง

ชนิดของความดันโลหิต

  1. ความดันโลหิตตัวบนสูง Isolated Systolic Hypertension (ISH)
  2. Isolated Diastolic Hypertension (IDH)

เป็นภาวะที่ความดัน diastolic มากกว่า 90 มม.ปรอทในขณะที่ความดัน systolic ปกติ โดยปกติหากค่า diastolic สูงต้องให้การรักษาเพราะเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของการเกิดโรคหัวใจ อัมพาต และไตวาย เมื่ออายุมากขึ้นความดัน diastolic จะลดลงแต่ความดัน systolicจะเพิ่มขึ้นซึ่งจะเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน แพทย์จะใช้ทั้ง systolic และ diastolic ในการพิจารณาให้การรักษา

  1. White Coat Hypertension (WCH) or Isolated Office Hypertension

เป็นภาวะที่วัดความดันโลหิตที่บ้านมักจะต่ำกว่า 135/85 มม.ปรอท แต่เมื่อวัดความดันที่โรงพยาบาลมักจะมากกว่า 140/90 มม.ปรอท ภาวะนี้พบได้ประมาณร้อยละ 15 ของประชากร สำหรับคนที่เป็นความดันโลหิตสูงจะพบได้ประมาณหนึ่งในสาม ภาวะนี้มักจะเป็นในคนที่เริ่มเป็นความดันโลหิตสูง ผู้ที่มีความดันชนิด White Coat Hypertension (WCH) มักจะไม่ค่อยมีเรื่องอวัยวะเสียหาย คนปกติความดันโลหิตตอนกลางคืนจะต่ำกว่าเวลากลางวันประมาณร้อยละ 10 ผู้ที่เวลากลางคืนความดันลดลงน้อยกว่า 10 %เวลากลางวันจัดเป็น "non-dippers", ซึ่งจะสัมพันธ์กับโรคแทรกซ้อน

ภาวะนี้จะพบในคนกลุ่มใด

  • ผู้ที่เป็นความดันสูงระดับ 1
  • พบมากในผู้หญิง
  • อายุมาก
  • มักจะไม่สูบบุหรี่
  • คนที่เริ่มจะเป็นความดันโลหิตสูง

คนกลุ่มนี้อาจจะกลายเป็นความดันโลหิตสูงดังนั้นจึงต้องมั่นวัดความดันโลหิต และต้องตรวจว่ามีโรคอื่นร่วมด้วยหรือไม่ และต้องตรวจหาอวัยวะที่เสียหายจากความดันโลหิตสูงโดยที่ไม่เกิดอาการ

ภาวะนี้วัดความดันที่บ้านจะสูง แต่เมื่อวัดความดันที่โรงพยาบาลจะปกติ

  1. Orthostatic or Postural Hypotension

เป็นภาวะที่ความดัน systolic ลดลง 20 มม.ปรอท ความดัน diastolic ลดลง 10 มม.ปรอทในขณะที่เปลี่ยนจากนอนเป็นยืน 3 นาที ปัญหาที่เกิดคือกลุ่นคนเหล่านี้อาจจะมีความดันโลหิตที่สูงมากในขณะที่นอน แต่วัดความดันท่านั่งหรือยืนปกติ

เมื่อท่านตรวจพบความดันโลหิตสูงถ้าไม่สูงมากอาจจะไม่จำเป็นต้องรับประทานยา แต่หากสูงมากก็จำเป็นต้องรับประทานยา ตารางข้างล่างจะเป็นแนวทางในการดูแลผู้ป่วย

ความดันโลหิตสูง อาการโรคความดันโลหิตสูง