หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน

อาการของโรคความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่จะไม่มีอาการ เนื่องจากความดันโลหิตจะเพิ่มอย่างช้าๆทำให้ร่างกายโดยเฉพาะหลอดเลือดปรับตัวทันขึงไม่มีอาการ ผู้ป่วยความดันโลหิตส่วนใหญ่จะมาด้วยโรคแทรกซ้อนโดยที่ไม่รู้ว่าเป็นความดันโลหิตสูง ดังนั้นจึงแนะนำให้วัดความดันทุก 2 ปีสำหรับคนที่ความดันโลหิตปกติ อาการที่ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่พาผู้ป่วยมาโรงพยาบาลได้แก่



ปวดศีรษะ

ผู้ป่วยมักจะมีอาการปวดศีรษะในกรณีที่ความดันขึ้นอย่างรวดเร็วหรือเกิดภาวะ Hypertensive crisis โดยทั่วไปความดันโลหิตตัวบน Systolic จะมากกว่า 110 มม ปรอท หรือ Diastolic มากกว่า 110 มม ปรอท อาการปวดศีรษะมักจะปวดมึนๆบางคนปวดตลอดวัน ปวดมากเวลาถ่ายอุจาระ หากเป็นมากจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียน

เลือดกำเดาไหล

ร้อยละ 17 ของผู้ป่วยที่เลือดกำเดาไหลจะเป็นความดันโลหิตสูงดังนั้นผู้ที่มีเลือดกำเดาออกต้องวัดความดันโลหิต

มึนงง Dizziness

อาการมึนงงเป็นอาการทั่วๆไปพบได้ในหลายภาวะ เช่นเครียด นอนไม่พอ ทำงานมากไป น้ำตาลในเลือดสูง แต่ก็อาจจะพบในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยมักจะบอกว่ารู้สึกไม่แจ่มใส สมองตื้อๆ

ตามัว

ในรายที่ความดันโลหิตสูงเป็นมากและมีการเปลี่ยนแปลงของจอรับภาพผู้ป่วยก็จะมีปัญหาทางสายตา

เหนื่อยง่ายหายใจหอบ

อาการหอบ เหนื่อยง่าย เวลาออกแรง เช่น เดิน วิ่ง ทำงาน มีสาเหตุมากมาย เช่น โลหิตจาง(ซีด) โรคอ้วน ความดันโลหิตสูง โรคปอด ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ โรคหัวใจ ภาวะหัวใจล้มเหลว (heart failure) แม้แต่ความวิตกกังวล หรือ โรคแพนิค ก็ทำให้เหนื่อยได้เช่นกัน อาการเหนื่อยง่ายจากโรคหัวใจ และ ภาวะหัวใจล้มเหลวนั้น จะเหนื่อย หอบ หายใจเร็ว โดยเป็นเวลาออกแรง แต่ในรายที่เป็นรุนแรง จะเหนื่อยในขณะพัก บางรายจะเหนื่อยมากจนนอนราบไม่ได้ (นอนแล้วจะเหนื่อย ไอ) ต้องนอนศีรษะสูงหรือ นั่งหลับ คำว่าเหนื่อย หอบ ในความหมายของแพทย์หมายถึง อัตราการหายใจมากกว่าปกติ แต่ในความหมายของผู้ป่วยอาจรวมไปถึง อาการเหนื่อยเพลีย หมดแรง เหนื่อยใจ

แน่หน้าอก

โรคความดันโลหิตสูงมักแสดงอาการหลายอย่าง เช่น: - ปวดศีรษะรุนแรง - อ่อนเพลีย - ปัญหาการมองเห็น - อาการเจ็บหน้าอก - หายใจเหนื่อย - ชีพจรผิดปกติ



อาการต่อไปนี้เข้าได้กับอาการเจ็บหน้าอกจากโรคหัวใจขาดเลือด

จะเริ่มวัดความดันโลหิตเมื่อไร

การทดสอบความดันโลหิตถือเป็นส่วนหนึ่งของการตรวจสุขภาพส่วนใหญ่  การตรวจคัดกรองความดันโลหิตเป็นส่วนสำคัญของการดูแลสุขภาพโดยทั่วไป

คุณควรตรวจความดันโลหิตบ่อยแค่ไหนนั้นขึ้นอยู่กับอายุและสุขภาพโดยรวมของคุณ

ผู้ให้บริการดูแลสุขภาพของคุณอาจแนะนำให้คุณตรวจความดันโลหิตที่บ้าน  เครื่องวัดความดันโลหิตอัตโนมัติที่บ้านใช้งานง่าย บางส่วนสามารถเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือ ทำให้คุณสามารถส่งข้อมูลไปยังเวชระเบียนออนไลน์ได้ ถามผู้ให้บริการของคุณว่านี่เป็นตัวเลือกสำหรับคุณหรือไม่

เป็นความคิดที่ดีที่จะเก็บบันทึกการอ่านค่าความดันโลหิตที่บ้านของคุณไว้ นอกจากนี้ ให้ผู้ดูแลตรวจสอบจอภาพของคุณปีละครั้งเพื่อให้แน่ใจว่าคุณได้รับค่าที่อ่านได้แม่นยำ

การตรวจวัดความดันโลหิตที่บ้านไม่สามารถทดแทนการไปพบผู้ให้บริการดูแลสุขภาพของคุณได้


คำจำกัดความดันโลหิตสูง สาเหตุความดันโลหิตสูง

 

ทบทวนวันที่ 17/2/2566

โดย นายแพทย์ ประพันธ์ ปลื้มภาณุภัทร อายุรแพทย์,แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว

Google
 

เพิ่มเพื่อน