โรคความดันโลหิตสูงที่ดื้อต่อการรักษา Resistant hypertension
หมายถีงโรคความดันโลหิตสูงที่ได้รับการรักษาด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร่วมกับการรักษาด้วยยาอย่างน้อยสามชนิดรวมทั้งยาขับปัสสาวะซึ่งขนาดยาเพียงพอที่จะลดความดันโลหิต
โรคความดันโลหิตสูงที่ดื้อต่อการรักษาพบบ่อยแค่ไหน
จากการศึกษาและคำนวณพบว่าจะพบได้ประมาณร้อยละ 15 ภาวะดังกล่าวจะพบร่วมกับภาวะที่อวัยวะเสียหายโดยไม่เกิดอาการ และมีอุบัติการณ์ของโรคหัวใจและหลอดเลือดสูง
สาเหตุของโรคความดันโลหิตสูงที่ดื้อต่อการรักษา
- ผู้ป่วยที่ไม่ร่วมมือในการรักาา เช่น รับประทานยาไม่สม่ำเสมอเป็นสาเหตุที่พบมากที่สุด
- ผู้ที่ไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น น้ำหนักยังเกิน หรือดื่มสุรามาก หรือรับประทานเค็มมากเป็นสาเหตุที่พบรองลงมา
หากสงสัยว่าความดันโลหิตที่ดื้อต่อยาเกิดจากสองสาเหตุแรกก็มีวิธีการคือให้มีการปรับยาที่รับประทานง่ายขึ้น ผลข้างเคียงของยาน้อยโดยการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด หรืออาจจะนอนโรงพยาบาลเพื่อปรับยา และปรับพฤติกรรม
- รับประทานยาที่ทำให้ความดันโลหิตสูง เช่น liquorice, cocaine,ยากลุ่ม glucocorticoids,ยาแก้ปวดกลุ่ม non-steroid antiinflammatory drugsหรือ NSAID
- เป็นโรคนอนกรน Obstructive sleep apnoea พบไม่บ่อยเกิดจากการที่อวัยวะขาดเลือดในขณะนอนหลับ และมีการกระตุ้นฮอร์โมนทำให้ความดันสูง
- เป็นความดันโลหิตสูงจากสาเหตุอื่น เช่นเนื้องอกต่อมหมวกไต หลอดเลือดแดงไตตีบเป็นต้น การรักษาต้องแก้ที่ต้นเหตุ
- เป็นโรคที่เกิดจากความดันโลหิตสูง เช่นโรคไตเรื้อรัง
- มีการคั่งของน้ำและเกลือกจาก
- ได้รับยาขับปัสาวะไม่พอ
- ไตวาย
- รับประทานเกลือมากไป
- hyperaldosteronism
- สาเหตุอื่นๆได้แก่
- แขนที่ใหญ่เกินขนาดของผ้า
- ผู้ที่ความดันโลหิตสูงเมื่อพบแพทย์ Isolated office (white-coat) hypertension
การดูแลรักษา
หากความดันโลหิตของท่านไม่ลงท่านต้องหาสาเหตุดังกล่าวข้างต้น รวมทั้งการวัดความดันโลหิตแบบต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้ทราบว่าความดันโลหิตสูงมากหรือไม่ สำหรับท่านที่ปฏิติตัวดี รักษาสม่ำเสมอ ท่านอาจจะจำเป็นต้องได้รับยาชนิดที่ 4 หรือ 5 ยาที่แนะนำได้แก่ spironolactone แต่ต้องระวังการทำงานของไต และระดับโพแทสเซี่ยม