เยื่อบุช่องท้องอักเสบ Peritonitis

เยื่อบุช่องท้องอักเสบหรือที่เรียกว่า Peritonitis เป็นการอักเสบของเยื่อบุช่องท้องซึ่งอาจจะเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา มะเร็งหรือสารเคมี เมื่อมีการติดเชื้อที่ช่องท้องจะทำให้เชื้อมีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะส่วนอื่นของร่างกาย

Peritoneum คืออะไร

Peritoneum เป็นเยื่อบางบางแบ่งออกเป็นสองชั้น ชั้นที่คลุมอวัยวะเรียก visceral peritoneum ส่วนอีกชั้นคลุมช่องท้องเรียก parietal peritoneum ช่องท้องจะมีน้ำไม่เกิน 100 มิลิลิตรซึ่งเป็นน้ำที่ไม่มีเชื้อโรค

ชนิดของ Peritonitis

Peritonitis มีสองชนิดได้แก่

ปัจจัยเสี่ยงช่องท้องอักเสบ

ปัจจัยเสี่ยงการเกิดช่องท้องอักเสบชนิด primary peritonitis:



ปัจจัยเสี่ยงการเกิดช่องท้องอักเสบชนิด secondary peritonitis ได้แก่

อาการและอาการแสดงของโรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบ

อาการและอาการแสดงของโรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบได้แก่

  • อาการปวดท้อง หรือท้องอืดจะเป็นอาการที่เด่น อาการปวดจะขึ้นกับชนิดของ Peritonitis หากเป็นชนิด secondary จะมีอาการปวดท้องมาก ส่วนprimary จะมีอาการท้องอืด หรือปวดตื้อๆ
  • มีไข้สูงหนาวสั่น ไข้สูงกว่า 38C (100.4F)
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • หิวน้ำ
  • เบื่ออาหาร
  • ปัสสาวะน้อยลง และปัสสาวะสีเข้ม
  • ไม่ถ่ายอุจาระ ไม่ผายลม
  • ใจสั่นหัวใจเต้นเร็ว

การวินิจฉัยโรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบ

การวินิจฉัยโรคจะอาศัยประวัติการเจ็บป่วยในอดีต และอาการของโรค อาการปวดท้องจะเป็นอาการที่สำคัญ สำหรับบางท่านอาจจะมีอาการปวดท้องอยู่ก่อนหน้านี้ อาการปวดท้องนี้จะต่างจากเดิม ปวดจนขยับร่างกายไม่ได้ ต้องนอนนิ่งๆ หายใจเข้าแรงๆหรือไอจะปวดมากขึ้น ที่สำคัญคือเมื่อกดท้องบริเวณไหนก็ได้จะมีอาการปวดท้องเพิ่มขึ้น เมื่อปล่อยมืออาการปวดจะเพิ่มขึ้นจนแสดงสีหน้าว่าปวดมาก

การตรวจที่สำคัญ

  • การเจาะเลือดเพื่อตรวจความสมบูรณ์ของเลือด CBC ซึ่งจะตรวจพบว่าเม็ดเลือดขาวสูงขึ้น และมีจำนวนเซลล์ Neutrophil สูงขึ้น
  • การเพาะเชื้อจากเลือด
  • การเจาะเลือดตรวจการทำงานของไต สำหรับผู้ที่มีช่องท้องอักเสบรุนแรง และมีภาวะขาดน้ำหรือช็อค จะพบว่ามีการเสื่อมของการทำงานของไต
  • สำหรับผู้ที่มีน้ำในช่องท้องหรือท้องมาน ต้องเจาะน้ำในช่องท้องไปตรวจและเพาะเชื้อ
  • การตรวจเกลือแร่ หากมีคลื่นไส้อาเจียนมาก และรับประทานอาหารไม่ได้อาจจะพบว่าเกลือแร่ทั้ง sodium และ potassium จะต่ำ
  • การตรวจทางรังสี การตรวจ ultrasound, x-ray computer จะช่วยยืนยันการวินิจฉัยโรค และสาเหตุของการเกิดเยื่อบุช่องท้องอักเสบ

สาเหตุของช่องท้องอักเสบสาเหตุของช่องท้องอักเสบ

Primary peritonitis

Secondary Peritonitis

การรักษาโรคช่องท้องอักเสบ Peritonitis

หากมีอาการปวดท้องดังกล่าวผู้ป่วยจะต้องนอนโรงพยาบาลเพื่อที่แพทย์และพยาบาลจะได้ดูแลใกล้ชิด

  • ให้ยาปฏิชีวนะอย่างน้อย 10 วัน
  • งดน้ำงดอาหาร และแพทย์จะให้สารน้ำและเกลือแร่ทางน้ำเกลือ
  • สำหรับผู้ที่ล้างไตทางหน้าท้องแพทย์จะผสมยาในน้ำล้างท้อง

การผ่าตัด

สำหรับช่องท้องอักเสบชนิด secondary จะต้องผ่าตัดไปซ่อมหรือแก้ไขสาเหตุ เช่นไส้ติ่งแตกจะต้องผ่าตัดไปตัดไส้ติ่ง และล้างช่องท้องจนสะอาด สำหรับรายที่มีหนองในช่องท้องต้องระบายหนองให้หมด

ส่วนผู้ที่เป็นช่องท้องอักเสบชนิด primary จะต้องรกษาที่ต้นเหตุ เช่นตับแข็งหรือท้องมาน

โรคแทรกซ้อนของช่องท้องอักเสบ

  • โลหิตเป็นพิษ เป็นโรคแทรกซ้อนที่อันตรายหากรักษาไม่ทันจะทำให้เกดปัญหาตามมามาก
  • ช็อคจากโลหิตเป็นพิษ เชื้อแบคทีเรียสร้างสารที่เป็นพิษต่อร่างกายทำให้ความดันโลหิตต่ำ มีอัตราการเสียชีวิตสูง
  • การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ
  • การเกิดพังพืดในช่องท้องซึ่งจะทำให้เกิดลำไส้อุดตันจากการบีบรัด
  • ภาวะหายใจวาย

การดูแลเรื่องอาหารหลังจากหายจากโรคช่องท้องอักเสบ

  • รับประทานอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ เช่นผัก ผลไม้ blueberries, cherries, และ tomatoes)
  • รับประทานอาหารที่มีวิตามินบี และแคลเซี่ยม เช่น almonds,ถั่ว, ธัญพืช , ผักใบเขียว
  • หลีกเลี่ยงอาหารสำเร็จรูป เช่น ขนมปัง pastas, และน้ำตาล
  • รับประทานโปรตีนที่มาจากถั่ว เช่นเต้าหู้ ปลา และหลีกเลี่ยงเนื้อแดง
  • ใช้น้ำมันมะกอก หรือถั่วเหลือง
  • งดชา กาแฟ และสุราดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้ว
  • รับประทาน นมเปรียวที่มี  Lactobacillus acidophilus among other species
ช่องท้องอักเสบชนิด Primary ช่องท้องอักเสบชนิด Secondary