ผู้ที่มีโพแทสเซี่ยมในเลือดต่ำ

  1. โพแทสเซี่ยม
  2. โพแทสเซี่ยมในเลือดสูง
  3. โพแทสเซี่ยมในเลือดต่ำ
  4. ปริมาณโพแทสเซี่ยมในอาหาร
  5. ภาวะโพแทสเซี่ยมในเลือดต่ำ
  6. ภาวะโพแทสเซี่ยมในเลือดสูง
  7. โพแทสเซี่ยมและความดันโลหิต

 

โพแทสเซี่ยมเป็นแร่ธาตุที่พบได้ในอาหารทั่วๆไป โพแทสเซี่ยมจะช่วยทำให้หัวใจเต้นปกติ กล้ามเนื้อทำงานปกติ ไตมีหน้าที่ควบคุมปริมาณโพแทสเซี่ยมในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เมื่อเกิดภาวะไตเสื่อมทำให้ไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ ผู้ที่มีภาวะดังกล่าวจะต้องลดปริมาณอาหารที่มีโพแทสเซี่ยมลง เนื่องจากหากดพแตสเซี่ยมในเลือดสูงจะมีอาการอ่อนเพลีย ชา และอาจจะเกิดหัวใจเต้นผิดปกติ

ค่าปกติของโพแทสเซี่ยมในเลือด

  • ค่าปกติของโพแทสเซี่ยมในเลือดคืออยู่ระหว่าง 3.5- 5.0
  • หากค่าโพแทสเซี่ยมอยู่ระหว่าง 5.1-6.0 ต้องระวัง
  • หากค่าโพแทสเซี่ยมมากกว่า 6 เป้นค่าที่อาจจะเกิดอันตราย

ภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ คือ การมีระดับโพแทสเซียมในเลือด น้อยกว่า 3.5 mEg/L

สาเหตุของภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ Hypokalemia

สาเหตุหลักของภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ Hypokalemia คือ การใช้ยาขับปัสสาวะ ซึ่งมักใช้ในผู้ป่วยภาวะความดันโลหิตสูง และผู้ป่วยโรคหัวใจ จนอาจทำให้ร่างกายสูญเสียโพแทสเซียมปริมาณมาก

นอกจากนี้ Hypokalemia อาจเกิดขึ้นจากสาเหตุอื่น ๆ ได้ เช่น

  • การสูญเสียโพแทสเซียมออกทางปัสสาวะและจากทางเดินอาหาร เช่น ท้องเสีย อาเจียน
  • ภาวะขาดสารอาหาร
  • ใช้ยาปฏิชีวนะบางชนิด
  • การได้รับยาบางชนิดที่มีผลทำให้ระดับโพแทสเซียมในเลือดต่ำ เช่น ยาขับปัสสาวะ
  • ใช้ยาระบายมากเกินไป หรือติดต่อกันนานเกินไป
  • ใช้ยาหอบหืดบางชนิด
  • เหงื่อออกมากเกินไป
  • ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป
  • ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ
  • ระดับแมกนีเซียมต่ำ
  • ขาดกรดโฟลิก
  • โรคไตเรื้อรัง
  • ภาวะกรดในเลือดสูงจากเบาหวาน
  • ภาวะอัลโดสเตอโรนสูงชนิดปฐมภูมิ ซึ่งทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นจากความผิดปกติของฮอร์โมน
  • กลุ่มอาการคุชชิง (Cushing's Syndrome) ซึ่งเกิดจากร่างกายมีฮอร์โมนกลูโคคอร์ติคอยด์ (Glucocorticoid) หรือคอร์ติซอล (Cortisol) มากกว่าปกติ
    อาการของภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ( Hypokalemia)

ลักษณะและความรุนแรงของอาการ Hypokalemia ขึ้นอยู่กับระดับของโพแทสเซียมในเลือด หากโพแทสเซียมลดลงเพียงเล็กน้อย ผู้ป่วยอาจยังไม่ปรากฏอาการใด ๆ หรืออาจมีอาการไม่รุนแรงนัก เช่น

  • ท้องผูก
  • อ่อนล้าอ่อนเพลีย
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือปวดเกร็ง
  • ตะคริว

หากระดับโพแทสเซียมในเลือดลดลงต่ำมาก ผู้ป่วยอาจมีอาการรุนแรงขึ้น จนเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ เช่น

  • หน้ามืด
  • เป็นลม
  • ภาวะลำไส้อืด ไม่ผายลม อาหารไม่ย่อย
  • ภาวะหายใจลำบาก หายใจไม่อิ่ม จมูกบาน หายใจล้มเหลว
  • แขนขาอ่อนแรง ยกไม่ขึ้น
  • ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ เช่น หัวใจห้องบนหรือห้องล่างเต้นผิดจังหวะ หัวใจเต้นช้ากว่าปกติ
  • หัวใจหยุดเต้น เมื่อมีปริมาณโพแทสเซียมต่ำมากเกินไป
  • ถ้าเกิดอัมพาตของกล้ามเนื้อช่วยหายใจอาจทำให้ผู้ป่วยหยุดหายใจและเสียชีวิตได้

การรักษาทำได้โดย

  1. รักษาตามสาเหตุ
  2. ให้โพแทสเซียมชดเชยในภาวะที่ร่างกายขาดโพแทสเซียมโดยต้องคำนึงถึงชนิดของเกลือโพแทสเซียมปริมาณของโพแทสเซียมที่ให้ และอัตราเร็วในการให้โพแทสเซียมเข้าสู่ร่างกาย

การรักษา

  • เจาะเลือดตรวจหาระดับโพแทสเซียม ถ้าอาการไม่รุนแรงรักษาโดยการกินเกลือโพแทสเซียมชดเชย เช่น ยาน้ำมิตส์พอตซิต หรือยาน้ำโพแทสเซียมคลอไรด์ จนกว่าอาการจะดีขึ้น
  • ถ้าอาการรุนแรง มีอาการอัมพาต หายใจลำบาก รักษาโดยการให้เกลือโพแทสเซียมคลอไรด์ โดยผสมเข้ากับน้ำเกลือหยดเข้าทางหลอดเลือดดำช้าๆ
  • หาสาเหตุและรักษาสาเหตุ

ยาที่ทำให้เกลือแร่โพแทสเซี่ยมต่ำ

  • ยาขับปัสสาวะThiazide diuretics
  • Loop diuretics
  • Corticosteroids
  • Amphotericin B (Fungizone)
  • ยากระเพาะAntacids
  • Insulin
  • ยารักาาเชื้อรา Fluconazole (Diflucan): Used to treat fungal infections
  • ยารักาาโรคหอบหืดTheophylline (TheoDur): Used for asthma
  • ยาระบายLaxatives

อาหารที่มีโพแทสเซียมสูงเพื่อหลีกเลี่ยง

คนที่มีโรคไตเรื้อรังควรหลีกเลี่ยงการกินถั่ว

ผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรังหรือโรคไตวายเรื้อรังควรหลีกเลี่ยงหรือจำกัดอาหารที่มีโพแทสเซียมสูง

ระดับโพแทสเซียมสูงอาจทำให้เกิดอาการรุนแรงรวมถึงการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติและกล้ามเนื้อเป็นตะคริว ระดับโพแทสเซียมต่ำอาจทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแอลง

แพทย์หรือนักโภชนาการสามารถช่วยอธิบายปริมาณโพแทสเซียมที่เหมาะสมในการบริโภคต่อสถานการณ์ที่ไม่ซ้ำกันของแต่ละคน

อาหารที่มีโพแทสเซียมสูงบางอย่างที่คนที่เป็นโรคไตเสื่อมควรจำกัด หรือหลีกเลี่ยง ได้แก่

อาหารที่มีโพแทสเซียมสูงควรหลีกเลี่ยง

ผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรังหรือโรคไตวายเรื้อรัง ผู้ที่มีโพแทสเซี่ยมในเลือดสูงควรหลีกเลี่ยงการกินอาหารกลุ่มนี้

  • ถั่ว
  • ถั่วและพืชตระกูลถั่ว
  • มันฝรั่ง
  • กล้วย
  • นมและผลิตภัณฑ์จากนม
  • อะโวคาโด
  • อาหารรสเค็ม
  • อาหารจานด่วน
  • เนื้อสัตว์แปรรูปเช่นเนื้ออาหารกลางวันและสุนัขร้อน
  • ผักขม
  • แคนตาลูปและน้ำเกรวี่
  • มะเขือเทศ
  • น้ำผัก
  • ทุเรียน
  • ลำไย
  • ผลไม้แห้งต่างๆ เช่น ลูกเกด ลูกพรุน
  • แครอท
  • มะเขือเทศ
  • หน่อไม้ฝรั่ง
  • คะน้า
  • หัวปลี
  • ผักชี

อาหารที่มีโพแทสเซียมปานกลาง 

ได้แก่ สับปะรด ฝรั่ง แอปเปิ้ล เงาะ ส้ม องุ่น ลิ้นจี่ แคนตาลูป ส้มโอ มะม่วงดิบ มะเขือยาว หอมหัวใหญ่ ผักบุ้งจีน มะละกอดิบ ถั่วพู (ฝักอ่อน) พริกหวาน

อาหารที่มีโพแทสเซียมต่ำ (กลุ่มผักสีซีด) 

ได้แก่

อาหารที่มีโพแทสเซียมต่ำเป็นตัวเลือกที่ปลอดภัยสำหรับผู้ที่มีภาวะไตเสื่อมตามที่ American Kidney Foundation โดยรับประทานโพแทสเซียมเป็นประจำทุกวัน 2, 000 มิลลิกรัม แต่ต้องระวังหากรับประทานอาหารหลายชนิดหรือปริมาณมากก็ทำให้โพแทสเซี่ยมสูงได้

อาหารที่มีโพแทสเซียมต่ำประกอบด้วย:

  • แอปเปิ้ลน้ำแอปเปิ้ลและแอปเปิ้ล
  • ผลเบอร์รี่มากที่สุด ได้แก่ blackberries, blueberries, สตรอเบอร์รี่และราสเบอร์รี่
  • องุ่นและน้ำองุ่น
  • สับปะรดและน้ำสับปะรด
  • แตงโม
  • หน่อไม้ฝรั่ง
  • บร็อคโคลี
  • แครอท
  • ผักคะน้า
  • กะหล่ำปลี
  • แตงกวา
  • ข้าวขาวก๋วยเตี๋ยวและขนมปัง (ไม่ใช่ธัญพืช)
  • บวบและสควอชสีเหลือง
  • ชมพู่
  • องุ่นเขียว
  • แตงโม 
  • บวบเหลี่ยม
  • เห็ดหูหนู
  • ฟักเขียว
  • แฟง
  • ผักกาดขาว
  • กะหล่ำปลี
  • แตงกวา

เรามาพิจารณากันดีกว่าว่าอาหาร 10 อันดับที่มีปริมาณโปแทสเซียมสูงมีอะไรบ้าง

อันดับ ชนิดอาหาร (ขนาดบริโภค 100 กรัม ) ปริมาณโปแทสเซียม (มิลลิกรัม)
1 ผงโกโก้ 1.5 กรัม
2 ลูกพรุน (อบแห้ง) 1.1 กรัม
3 ลูกเกด 892
4 เมล็ดทานตะวัน 850
5 อินทผาลัม 696
6 ปลาแซลมอน 628
7 ผักโขม (สด) 558
8 เห็ด 484
ผลไม้(ขนาดบริโภค 100 กรัม )
9 ทุเรียนชะนี 406
10 กล้วยหอม 374
11 กล้วยไข่ 310
12 ทุเรียนหมอนทอง 292
13 แก้วมังกร 271
14 ส้มสายน้ำผึ้ง 229
15 น้อยหน่าหนัง 214
16 ฝรั่งแป้นสีทอง 210
17 ขนุน 207
18 กล้วยน้ำว้า 204
19 มะละกอแขกดำ 199
20 ลองกอง 192
21 ลิ้นจี่จักรพรรดิ 165
22 สตรอเบอรี่ 132
23 ลิ้นจี่ฮงฮวย 131
24 องุ่นเขียว 130
25 แตงโจินตราแดง 120
26 สละ 114

อาหารที่มีโพแทสเซียมปานกลาง 

ได้แก่ สับปะรด ฝรั่ง แอปเปิ้ล เงาะ ส้ม องุ่น ลิ้นจี่ แคนตาลูป ส้มโอ มะม่วงดิบ มะเขือยาว หอมหัวใหญ่ ผักบุ้งจีน มะละกอดิบ ถั่วพู (ฝักอ่อน) พริกหวาน

อาหารที่มีโพแทสเซียมต่ำ (กลุ่มผักสีซีด) 

ได้แก่ ชมพู่ องุ่นเขียว แตงโม บวบเหลี่ยม เห็ดหูหนู ฟักเขียว แฟง ผักกาดขาว กะหล่ำปลี แตงกวา

Google
 

เพิ่มเพื่อน