อาหารเค็มของเด็ก


เราจะพบเห็นภาพที่คุณแม่ป้อนข้าวให้กับทารกมักจะหยอดซอสโดยมีเหตุผลว่าอาหารจืด ทั้งที่เด็กก็ไม่ได้มีอาการแสดงว่าแสดงเป็นเพราะคุณแม่คุ้นเคยกับอาหารเค็ม และฝึกนิสัยลูกให้รับประทานอาหารเค็มทั้งแต่ยังเป็นทารก ต่อมาเราปรุงจืดเด็กก็จะไม่รับประทานเพราะคุ้นเคยกับอาหารเค็ม คุณแม่ทั้งหลายควรจะหยุดพฤติกรรมดังกล่าว มีการศึกษาของอเมริกาพบว่า

  • ร้อยละ 90ของเด็กอายุ 6-18 รับประทานเกลือโซเดี่ยมมากเกินไป
  • พบว่ามีอาหารที่มีโซเดี่ยมมากอยู่10 ชนิดที่เด็กรับประทาน และเป็นปริมาณโซเดี่ยมร้อยละ40ของที่รับประทานทั้งหมด
  • พบว่าเด็ก1ใน6คนจะมีความดันโลหิตเพิ่มมากขึ้น

9ใน10คนของเด็กได้รับเกลือโซเดี่ยมมากเกินไปจากอาหารที่ผ่านกระบวนการ หรือจากร้านอาหาร ผลจากการที่ได้รับเกลือมากทำให้เด็ก1ใน6คนของเด็กที่มีอายุ 8-17 ปีมีความดันโลหิตสูงขึ้น ความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ผู้ปกครองควรจะใส่ใจเรื่องอาหารของเด็ก


pizza

  • จัดอาหารสุขภาพให้แก่เด็ก โดยอุดมไปด้วยผัก และผลไม้โดยไม่มีการใส่เกลือ (ตู้เย็นที่บ้านไม่ควรจะมีขนมขบเคี้ยวต่างๆ ไม่มีขนมปังหรือเบเกอร์รี่)
  • ก่อนที่จะเลือกซื้ออาหารให้ดูสลากอาหารทุกครั้ง ให้เลือกอาหารที่มีปริมาณเกลือโซเดี่ยมต่ำ
  • ร้องขอต่อร้านค้าให้จัดหาอาหาร ที่มีปริมาณเกลือโซเดี่ยมต่ำ
  • เลือกร้านอาหารที่มีรายละเอียดของอาหาร แล้วให้เลือกอาหารที่มีปริมาณเกลือต่ำ

ความต้องการเกลือของเด็กๆ

เด็กอายุ:

  • 1 ถึง 3 ปีควรกินเกลือไม่เกิน 2 กรัมต่อวัน (โซเดียม 200-400 mg)

  • 4 ถึง 8 ปีควรรับประทานเกลือไม่เกิน 3 กรัมต่อวัน (โซเดียม300-600 mg)

  • 9 ถึง 13 ปีควรรับประทานไม่เกิน 5 กรัม เกลือต่อวัน (โซเดียม400-800 mg)

  • อายุ 14-18 ปีขึ้นไปควรกินเกลือไม่เกิน 6g ต่อวัน (โซเดียม 460-920 mg)

Generally, infants and children need less salt than adults.

ทารก

ทารกไม่ควรกินเกลือมากเพราะไตยังไม่พัฒนาเต็มที่ในการประมวลผล

ทารกอายุต่ำกว่า 1 ปีควรได้รับเกลือน้อยกว่า 1 กรัมต่อวัน

หากทารกกินนมแม่ พวกเขาจะได้รับแร่ธาตุในปริมาณที่เหมาะสม รวมทั้งโซเดียม จากน้ำนมแม่ นมสูตรมีแร่ธาตุในปริมาณใกล้เคียงกับน้ำนมแม่

อย่าใส่เกลือลงในนมหรืออาหารของทารก และอย่าใช้น้ำสต็อกก้อนหรือน้ำเกรวี่ในมื้ออาหารสำหรับลูกน้อยของคุณ เนื่องจากเกลือมักมีเกลือสูง และไตของลูกไม่สามารถรับมือกับมันได้

จำสิ่งนี้ไว้เมื่อคุณกำลังทำอาหารให้กับครอบครัว ถ้าคุณวางแผนที่จะให้อาหารแบบเดียวกันนี้กับลูกน้อยของคุณ

หลีกเลี่ยงการให้อาหารรสเค็มแก่ลูกน้อย เช่น เบคอน ไส้กรอก แครกเกอร์ ของทอดกรอบ อาหารพร้อมรับประทาน หรือของที่ทานกลับบ้าน เนื่องจากอาหารเหล่านี้มักมีเกลือสูง 

อาหารที่ผลิตขึ้นสำหรับทารกโดยเฉพาะควรเป็นไปตามระดับที่แนะนำ หากมีข้อสงสัย ให้ ตรวจสอบฉลากอาหารเสมอ


 

ปริมาณโซเดี่ยมเท่าไรถึงเรียกว่ามาก

  • เด็กอเมริกาอายุ 6-18 ปีรับประทานโซเดี่ยมโดยเฉลี่ย 3,300 mg ปริมาณโซเดี่ยมยังไม่นับรวมเกลือที่เราปรุงรส ในขณะที่แนวทางอาหารเพื่อสุขภาพของอเมริกาแนะนำให้รับประทานไม่เกิน 2300 mg ต่อวัน
  • การรับประทานเกลือโซเดี่ยมมากจะทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น เด็กที่มีภาวะต่อไปนี้ไม่ควรจะรับประทานโซเดี่ยมเกิน 1,500 mg ต่อวัน
  • นอกจากจะรับประทานเกลือโซเดี่ยมเพิ่มขึ้นแล้ว เด็กยังรับประทานอาหารที่มีพลังงานเพิ่มขึ้นเกิดปัญหาเด็กอ้วน


เด็กได้รับปริมาณโซเดี่ยมมาจากไหน

  • จากการวิจัยของอเมริกาพบว่าเด็กได้รับโซเดี่ยมร้อยละ 15 จากอาหารเช้า ร้อยละ 30 จากอาหารกลางวัน ร้อยละ 39 จากอาหารเย็น และร้อยละ 16 จากอาหารว่าง
  • อาหาร 10 ชนิดที่เด็กรับประทานและได้รับปริมาณโซเดี่ยมถึงร้อยละ 43 อาหารดังกล่าวได้แก่
    • Pizza
    • ขนมปัง
    • อาหารสำเร็จรูปเช่นแฮม ไส้กรอก
    • ของคบเคี้ยวรสเผ็ด
    • แซนวิดซ์
    • ชีส
    • พาย/นัทเกต ไก่
    • Pasta
    • อาหารเม็กสิกัน
    • ซูป
  • อาหารสำเร็จรูปส่วนใหญ่จะมีปริมาณโซเดี่ยมค่อนข้างสูง ซึ่งเด็กจะได้ปริมาณโซเดี่ยมร้อยละ65 ร้อยละ 13 ของปริมาณโซเดี่ยมจะได้จากร้านอาหารจานด่วน ร้านอาหาร ร้อยละ 9 จะได้จากอาหารของโรงเรียน

เราสามารถลดปริมาณเกลือได้สามแหล่ง

  • จากร้านค้า
  • ที่โรงเรียน
  • ที่ร้านอาหาร

การแก้ปัญหาจะต้องทำอย่างไร

หน่วยงานของรัฐ

  • จะต้องกำหนดมาตรฐานอาหารที่จำหน่ายในโรงเรียนเพื่อที่ลดปริมาณเกลือโซเดี่ยมลง
  • ร่วมมือกับชุมชน ท้องถิ่นในการจัดหาอาหารที่มีปริมาณโซเดี่ยมต่ำ
  • จัดเมนูอาหารสุขภาพที่มีเกลือโซเดี่ยมต่ำ

ผู้ปกครอง

  • ไม่นำของขบเคี้ยว ขนมปัง ไว้ในตู้เย็น
  • เมื่อปรุงอาหารที่บ้านให้เลือกเครื่องปรุงอื่นที่ไม่ใช่เกลือหรือซอส
  • ไม่มีการปรุงรสอาหารด้วยซอสหรือเกลือ ไม่มีการตั้งน้ำปลา ซอส หรือ ซี่อิ้วไว้บนโต๊ะอาหาร
  • จัดเมนูอาหารที่มีผักและผลไม้
  • เมื่อเลือกซื้ออาหารให้เลือกอาหารที่มีปริมาณเกลือโซเดี่ยมต่ำ
  • แจ้งต่อร้านค้าให้หาอาหารที่มีปริมาณโซเดี่ยมต่ำมาจำหน่าย
  • รับประทานอาหารที่ภัตรคารที่มีข้อมูลของสารอาหาร โดยเลือกอาหารที่มีปริมาณโซเดี่ยมต่ำ
  • มีการใช้ social media เพื่อเผยแพร่ความรู้

ผู้ผลิตและผู้จำหน่าย

  • ผู้ผลิตต้องลดปริมาณโซเดี่ยมที่เติมครั้งละน้อยโดยมีเป้าหมายมิให้มีปริมาณเกลือโซเดี่ยมมากเกินไป
  • ใช้เครื่องเทศอื่นปรุงรสเช่น มะนาว เครื่องเทศ ขิง พืช สมุนไพร
  • เลือกหาผู้ผลิตที่มีปริมาณโซเดี่ยมต่ำมาจำหน่าย
  • จัดอาหารที่มีโซเดี่ยมต่ำให้เห็นได้ชัด หรือจัดให้มีโปรโมชั่นอาหารที่มีโซเดี่ยมต่ำ

โรงเรียน

  • กำหนดมาตรฐานอาหารในโรงเรียน
  • มีนโยบายในเรื่องการจัดซื้ออาหาร หรือการประกอบอาหารในโรงเรียน
  • ทดแทนอาหารที่มีโซเดี่ยมสูงด้วยอาหารที่มีปริมาณโซเดี่ยมต่ำ
  • อมรบครูอนามัย แม่ครัว หรือร้านค้าเพื่อลดการบริโภคเกลือ

เรื่องเกี่ยวกับเกลือ | เกลือและสุขภาพ | เกลือและสุขภาพเด็ก | แนวทางในการลดปริมาณเกลือ | การลดเกลือที่บ้าน | การลดเกลือเมื่อต้องจ่ายตลาด | ทานอาหารนอกบ้านให้มีเกลือต่ำ | อาหารจานด่วนที่มีเกลือมาก | ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเกลือ | ฉลาดเลือกอาหาร | รับประทานอาหารเกลือต่ำ | องค์การอนามัยโลกแนะนำเรื่องการรับประทานเกลือ | วิธีเลือกอาหารที่มีเกลือน้อย | เกลือทำให้โรคหลอดเลือดแดงแข็ง

ทบทวนวันที่

โดย นายแพทย์ ประพันธ์ ปลื้มภาณุภัทร อายุรแพทย์,แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว

Google
 

เพิ่มเพื่อน