ข้อเท้าแพลงหรือข้อพลิก

ข้อเท้าของคนเราประกอบด้วยกระดูหลายชิ้น โดยมีเอ็นที่ข้อเท้าเป็นตัวยึดกระดูกเอ็นที่ยึดมีความแข็งแรงพอควร เอ็นที่ยึดข้อเท้าที่สำคัญ และพบปัญหามากคือด้านข้างตาตุ่มด้านนอก ส่วนเอ็นตาตุ่มด้านในพบไม่บ่อย ข้อเท้าพลิก หรือ ข้อเท้าแพลงเป็นปัญหาที่พบบ่อยในนักกีฬาประเภทต่างๆ เช่นนักวิ่ง ฟุตบอล ยิมนัสติก เป็นต้น คนที่ไม่ได้เป็นนักกีฬาก็สามารถพบได้บ่อย ส่วนใหญ่เกิดจากอุบัติเหตุ เช่นใส่ส้นสูงเกิดเท้าพลิก ตกบันได อุบัติเหตุรถยนต์

เท้าแพลงเกิดจากเอ็นและเนื้อเยื่อรอบข้อเท้าได้รับการฉีกขาด อาจจะเป็นเพียงบางส่วนแต่ในรายที่รุนแรงเอ็นอาจจะฉีกทั้งเส้น ทำให้ข้อเท้าไม่มั่นคงซึ่งในระยะยาวกระดูกอ่อนและกระดูกข้อเท้าจะได้รับความเสียหาย ข้อเท้าพลิกส่วนใหญ่ไม่รุนแรงสามารถให้การดูแลที่บ้านโดยการประคบน้ำแข็งและการพัก หากมีอาการบวมมาก หรือปวดเวลาลงน้ำหนักให้ปรึกษาแพทย์

อาการและอาการแสดงของข้อเท้าพลิก

อาการของข้อเท้าพลิก ส่วนมากมักบวมแดง อาจมีอาการปวดร่วมด้วย แต่ถ้าหากถึงขั้นที่ผู้ป่วยไม่สามารถลงน้ำหนักตัวได้ อาจเป็นไปได้ว่าระยะอาการอยู่ในขั้นที่สามคือเส้นเอ็นฉีกขาดทั้งหมด หรืออาจกระดูกหักร่วมด้วย ไม่แนะนำให้เดิน แต่ควรอยู่นิ่งๆ จะดีที่สุด

อาการและอาการแสดงขึ้นกับความรุนแรงของอุบัติเหตุ

  • ปวดข้อเท้าโดยเฉพาะเมื่อลงน้ำหนักที่เท้า
  • กดเจ็บบริเวณข้อเท้าTenderness when you touch the ankle
  • บวมบริเวณข้อเท้า
  • ในรายที่รุนแรงจะมีรอยช้ำเลือด
  • เคลื่อนไหวข้อเท้าได้ไม่เต็มที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ตามปกติ
  • ข้อหลวม

หากมีอาการรุนแรงให้ปรึกษาแพทย์ เช่น

  • ปวดบวมมากบริเวณข้อเท้าหรือมีรอยช้ำเลือด
  • มีอาการต่าง ๆ ของข้อเท้าแพลง แต่อาการรุนแรงมากเช่นปวดหรือบวมมาก ลงน้ำหนักไม่ได้เลย ซึ่งอาจจะเกิดกระดูกแตกหัก หรือเอ็นฉีกขาดระดับรุนแรง

ความรุนแรงของการได้รับบาดเจ็บ

วิธีการรักษา ระยะเวลาการหายบาดเจ็บขึ้นกับความรุนแรงของการได้รับบาดเจ็บ

แบ่งความรุนแรงออกเป็น 3 ระดับได้แก่

  • ระดับ1 จะเป็นการได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย เอ็นการการฉีกขาดเล็กน้อย จะมีอาการบวมและกดเจ็บบริเวณข้อ
  • ระดับ2 เป็นการบาดเจ็บของเส้นเอ็นมากขึ้น มีการฉีกขาดของเส้นเอ็นบางส่วน แต่ไม่ถึงครึ่งของเส้นเอ็น จะมีอาการปวดมาก ข้อบวมมาก เมื่อมีการขยับข้อจะรู้สึกว่าข้อหลวม เป็นการบาดเจ็บที่พบบ่อยที่สุด อาจจะต้องใช้อุปกรณ์แบบสวมพยุงข้อเท้า (Brace)
  • ระดบ3 เส้นเอ็นฉีกขาดทั้งหมด ข้อจะบวมม และปวดมาก เมื่อขยับข้อจะหลวมมาก

สาเหตุของข้อเท้าพลิก

  • เท้าแพลงมาจากอุบัติเหตุเล็กๆน้อยๆเป็นส่วนใหญ่ เช่น ตกบันได ก้าวพลาด ตกส้นสูง
  • เท้าพลิกเกิดในขณะเดินตกหลุม หรือการวิ่งหรือการก้าวเดินบนพื้นผิวที่ขรุขระ
  • หกล้ม ก้าวลงบันไดพลาด
  • จากกีฬาโดยฉพาะกีฬาที่ต้องวิ่งเร็วหรือต้องกระโดด เช่น การวิ่ง ฟุตบอล เทนนิส
  • จากอุบัติเหตุจากการสวมรองเท้า ถุงเท้าไม่เหมาะกับเท้า
  • การมีภาวะน้ำหนักตัวเกินหรือมากเกินไป จะเพิ่มความเสี่ยง

ในปัจจุบันสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ  เป็นต้น อุบัติเหตุจากการสวมรองเท้าที่ไม่เหมาะกับขนาดเท้า โดยสำหรับคุณผู้หญิงที่ใช้รองเท้าส้นสูง จะเพิ่มโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ข้อเท้าพลิกขณะสวมใส่ทำกิจกรรมได้


ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดข้อเท้าแพลง

  • การเล่นกีฬาที่ต้องมีการกระโดด กีฬาต้องมีการวิ่งหยุดวิ่งหยุดกีฬาที่ต้องมีการบิดข้อเท้าเช่น บาสเกตบอล เทนนิส วอลเลย์บอล ฟุตบอล การวิ่งตามทางธรรมชาติ trail running
  • ปัญหาผิวทางเดิน เช่นลื่น เป็นหลุมเป็นบ่อ
  • เคยข้อเท้าแพลงมาก่อน
  • กล้ามเนื้อ ร่างกายไม่แข็งแรง
  • ใส่รองเท้าไม่เหมาะสมเช่นรองเท้าส้นสูง

การดูแลรักษาที่บ้าน

สำหรับในรายที่เป็นไม่มากให้ดูแลตัวเองดังนี้โดยอาศัยหลัก The RICE protocol โดยทำทันทีที่ได้รับอุบัติเหตุ

  • Rest การพัก ไม่เดินให้พักข้อเท้าให้มากที่สุด
  • Ice  ใช้ถุงน้ำแข็งหรือผ้าชุบน้ำเย็นประคบบริเวณที่ข้อเท้าแพลงครั้งละ 20-30 นาทีวันละ 3-4 ครั้ง ไม่ประคบร้อน หรือนวดบริเวณที่เกิดการบาดเจ็บเพราะจะทำให้บวมมากขึ้น
  • Compression  การใช้ผ้าพันเพื่อป้องกันมิให้ข้อเคลื่อนไหว
  • Elevate ยกข้อให้สูงกว่าระดับหัวใจใน 48 ชั่วโมงแรกควรยกข้อเท้าขึ้นหรือใช้หมอนช่วยรองให้ข้อเท้าอยู่ในระดับที่สูงกว่าหัวใจขณะนอนราบ ทำให้อาการบวมลดลงได

การรับประทานยากลุ่ม NSAIDs เช่นยา ibuprofen หรือ naproxen ซึ่งจะลดอาการปวดและอาการบวม

เมื่อเราได้ทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้นแล้วอาการยังไม่ดีขึ้นควรรีบไปพบแพทย์ โดยแนวทางการรักษาทางการแพทย์มีดังนี้
1. ซักประวัติและตรวจร่างกายโดยเฉพาะบริเวณที่มีอาการปวด
2. พิจารณาตรวจทางรังสีเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีกระดูกหัก
3. โดยทั่วไปจะใช้เวลารักษา 6-8 สัปดาห์ แต่ภาวะข้อเท้าบวมจะหายก่อน
4. พักเท้าให้มากที่สุด อาจจะใส่เผือก หรือใช้ผ้าพัน และอาจจะใช้ไม้เท้าช่วยพยุงน้ำหนัก
5. การประคบน้ำแข็งให้กระทำทันที่ที่ได้รับอุบัติเหตุซึ่งจะช่วยลดอาการอักเสบได้มาก
6. ใช้ผ้าพันหรือใส่เผือกเพื่อลดอาการบวม
7. ให้ยกเท้าสูงเพื่อลดอาการบวม


การวินิจฉัยและการรักษา