การรักษาโรคฉี่หนู

 

ผู้ป่วยโรคฉี่หนูหรือเลปโตสไปโรซิสส่วนใหญ่มีการพยากรณ์โรคดีถ้าได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้องอย่างรวดเร็ว และการรักษาที่เหมาะสม ผู้ป่วยที่เสียชีวิตมักเกิดจากไม่ได้รับการวินิจฉัย และการรักษาที่ทันท่วงทีทำให้มีการดำเนินโรคต่อไป เป็นผู้ป่วยที่มีอาการแทรกซ้อนที่รุนแรงซึ่งบางครั้งไม่สามารถให้การรักษาได้ในปัจจุบัน เช่น ไอเป็นเลือดที่รุนแรง การหายใจล้มเหลว หรือไตวาย เป็นต้น

จาการทบทวนข้อมูลอาการทางคลินิกดังกล่าว แล้วร่วมกับประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงของแพทย์ในถิ่นระบาดพอสรุปเป็นเกณฑ์ในเบื้อต้นว่า เมื่อให้การวินิจฉัยว่า เป็นผู้ป่วยที่สงสัยทางคลีนิคว่าเป็นเปลโตสไปโรซิส และยังไม่พบภาวะแทรกซ้อน ประวัติและการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ผิดปกติต่อไปนี้ตั้งแต่แรกรับ อาจใช้ในการพยากรณ์โรคเบื้องต้น

  1. ประวัติไอแห้ง ๆ หรือไอเป็นเลือด หรืออัตราการหายใจมากกว่า 24 ครั้งต่อนาที หรือมีอาการหอบเหนื่อย
  2. ตรวจพบความดันโลหิต systolic <90 mm.Hg. หรือมี orthostaatic hypotension
  3. CBC ถ้าพบว่ามี leukocytosis (white cell count > 12,000/ cu.mm.) หรือ leukopenia (white cell count < 4,000/cu.mm.) และโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าพบภาวะเกล็ดเลือดต่ำ
  4. การตรวจปัสสาวะถ้าพบความผิดปกติต่าง ๆ อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น โปรตีนในปัสสาวะมากกว่า 2+ , มีเม็ดเลือดขาดหรือเม็ดเลือดแดงเพิ่มขึ้น เป็นต้น
  5. พบความผิดปกติจากภาพถ่ายรังสีปอด
  6. ความผิดปกติของการทำงานของตับหรือไตอย่างใดอย่างหนึ่งหรือร่วมกัน ได้แก่ total bilirubin , SGOT , SGPT , BUN , creatinige สูงขึ้น เป็นต้น

ผู้ป่วยที่มีประวัติหรือการตรวจพบข้อใดข้อหนึ่งดังกล่าวควรรับไว้ในรักษาในโรงพยาบาล หรือส่งต่อไปยังโรงพยาบาลจังหวัด หรือโรงพยาบาลศูนย์เพื่อเฝ้าระวังติดตามผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดและให้การดูแลรักษาตามอาการของภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ อย่างเหมาะสม ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้

ผู้ที่มีอาการรุนแรง

  • ควรให้ยาpenicillin,tetracyclin,streptomycin,erythromycin เป็นยาที่ใช้ได้ผลในโรคนี้ และควรจะได้รับยาภายใน 4-7 วันหลังเกิดอาการของโรค

ผู้ที่มีอาการปานกลางอาจจะเลือกยาดังนี้

  • doxycycline 100 mgวันละ 2 ครั้งเป็นเวลา 7 วัน
  • amoxicillin 500 mg วันละ 4 ครั้ง 5-7 วัน

การรักษาตามอาการและภาวะแทรกซ้อน

ในรายที่มีอาการไข้เฉียบพลันโดยไม่มีภาวะแทรกว้อนหรือการตรวจพบดังกล่าวข้างต้น ได้แก่ การให้ยาลดไข้ เป็นต้น ส่วนในรายที่มีอาการรุนแรงหรือมีการตรวจพบอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งบ่งชี้ว่าอาจมีการดำเนินโรคที่รุนแรงต่อไปได้ ควรรับการรักษาในโรงพยาบาลเพื่อให้มีเฝ้าระวังอาการอย่างใกล้ชิด เช่น

  • การติดตาม vital signs โดยเฉพาะการวัดความดันโลหิต
  • และการตวงปัสสาวะบ่อย ๆ ในระยะแรก ถ้าพบว่ามีอาการแสดงของการขาดสารน้ำ เช่น orthostatic hypotension หรือ hypotension หรือปัสสาวะออกน้อยหรือเริ่มมีความผิดปกติของการทำงานของไต (BUN , creatinine สูง) ควรให้สารน้ำอย่างเพียงพอ ร่วมกับยาที่ขยายหลอดเลือดไต หรือยาขับปัสสาวะถ้าจำเป็น แล้วติดตามวัดปริมาณปัสสาวะเพื่อประเมินผลการรักษา ต้องระวังการเกิด volume overload ด้วยในรายที่ปัสสาวะออกน้อย
  • การให้ยาลดไข้
  • การให้ยาแก้ปวด
  • การให้ยากันชัก
  • การให้ยาแก้คลื่นไส้อาเจียน
  • การให้สารน้ำและเกลือแร่

การรักษาโรคแทรกซ้อน

  • หากเกล็ดต่ำหรือเลือดออกง่ายก็อาจจะจำเป็นต้องให้เกล็ดเลือดหรือน้ำเหลือง
  • การแก้ภาวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ
  • การแก้ปัญหาตับวาย
  • การแก้ปัญหาไตวาย

การรักษาจำเพาะ

ผู้ป่วยซึ่งอาการไม่รุนแรงอาจหายได้เองโดยไม่ได้รับยาต้านจุลชีพ

ส่วนในรายที่มีอาการรุนแรง การรักษาด้วยยา

  • เพนนิซิลิน ยังเป็นยามาตรฐานที่ใช้ในการรักษาโรคนี้โดยทั่วไป ขนาดที่ใช้ได้แก่ 1.5 ล้านยูนิต ฉีดเข้าหลอดเลือดดำวันละ 4 ครั้ง
  • นอกจากนั้นอาจใช้ยาแอมพิซิลินขนาด 4 กรัมต่อวันแบ่งฉีดเข้าหลอดเลือดดำครั้งละ 1 กรัม เป็นเวล่ 7 วัน
  • และถ้าผู้ป่วยแพ้ยาในกลุ่มนี้อาจใช้ด็อกซี่ซัยคลินในขนาด 200 มิลลิกรัมต่อวันฉีดเข้าหลอดเลือดดำเป็นเวลานาน 5-7 วัน
  • แต่ขณะนี้ไม่มียาด็อกซี่ซัยคลินชนิดฉีดจำหน่ายในประเทศไทย หรืออาจใช้ยาอิริโทรมัยซินได้เช่นเดียวกัน การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะดังกล่าวมีรายงานว่าช่วยลดความรุนแรงของโรคและภาวะแทรกซ้อนที่พบได้ เชื้อนี้ดื้อต่อยาคลอแรมเฟนิคอล

รายที่อาการไม่รุนแรง

  • อาจเลือกใช้ด็อกซี่ซัยคลินกินครั้งละ 100 มก.วันละ 2 ครั้งนาน 7 วัน
  • หรือยาเอม็อกซี่ซิลินหรือ แอมพิซิลินเกินขนาด 500 มก.วันละ 4 ครั้งนาน 5-7 วัน และในรายที่ไม่สามารถวินิจฉัยแยกโรคจากสครับทัยฟัสได้ ควรเลือกใช้ยาด็อกซี่ซัยคลิน เพื่อให้สามารถรักษาได้ทั้งสองโรค

Prognostic factors associated with mortality

จากการศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่ออัตราตายยังมีน้อยมาก มีอัตราตายร้อยละ 18 พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราตาย ได้แก่

  • การที่มีภาวะการหายใจลำบาก
  • ภาวะไตวายที่มีปัสสาวะออกน้อย
  • การพบภาพรังสีปอดผิดปกติแบบ alveolar infiltration
  • การพบความผิดปกติจากการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบ repolarization abnormality
  • และการพบว่ามีจำนวนเม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้นมากกว่า 12,900 ต่อลบ.มม.

โรคฉี่หนู | อาการโรคฉี่หนู | การวินิจฉัยโรคฉี่หนู | การรักษาโรคฉี่หนู