การรักษาให้หัวใจเต้นปรกติ Rhythm control

หัวใจเต้นสั่นพริ้วจะทำให้เกิดผลเสียกล่าวคือทำให้หัวใจสูบฉีดเลือดลดลง มีความเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือด เสี่ยงต่อการเกิดหัวใจวาย ดังนั้นเป้าหมายการรักษาจะต้องทำให้หัวใจกลับมาเต้นปรกติดังที่เรียกว่า Rhythm control แต่ก็ยังมีข้อห้ามสำหรับผู้ป่วยบางรายที่ไม่สามารถจะทำให้หัวใจกลับมาเต้นปรกติ หัวใจเต้นพริ้วหรือที่เราเรียกว่า atrial fibrillation ส่วนหัวใจเต้นจังหวะปรกติเรียก sinus rhythm หากหัวใจเต้นสั่นพริ้วนานโอกาศที่รักษาแล้วจะกลับสู่ปรกติจะน้อยลง โดยเฉพาะเป็นนานเกิน 6 เดือน

การเปลี่ยนจังหวะการเต้นของหัวใจเราเรียกว่า Cardioversion ซึ่งมีวิธีการได้ 3 วิธีได้แก่

  1. การเปลี่ยนจังหวะการเต้นของหัวใจด้วยยา Cardioversion with drug

    การให้ยาเพื่อเปลี่ยนจังหวะการเต้นของหัวใจด้วยยาสามารถให้ทั้งชนิดยารับประทาน และยาฉีดโดยมากมักจะให้ในโรงพยาบาลและจะต้องมีการติดตามการเต้นของหัวใจ เมื่อหัวใจเต้นปรกติแพทย์จะต้องให้ยาเพื่อป้องกันหัวใจเต้นผิดปรกติ ยาที่ใช้ในการรักาาได้แก่:
  • สำหรับผู้ที่เป็นโรคหัวใจสั่นพริ้ว AF น้อยกว่า 7วันยาที่ใช้ในการเปลี่ยนจังหวะได้ผลได้แก่ dofetilide, flecainide, ibutilide, propafenone, ส่วน amiodaroneและ quinidineได้ผลรองลงมา ส่วนยาดังต่อไปนี้ได้ผลไม่ค่อยดี procainamide, digoxin, and sotalol.
  • สำหรับผู้ที่เป็นโรคหัวใจสั่นพริ้วAF อยู่ระหว่าง 7-90วัน ยาที่ได้ผลดีได้แก่ dofetilide, amiodarone, ibutilide, flecainide, propafenone,และ quinidine
  • สำหรับผู้ที่เป็นโรคหัวใจสั่นพริ้วAF มากกว่า 90วันยาที่ได้ผลได้แก่ oral propafenone, amiodarone,และ dofetilide


  1. การเปลี่ยนจังหวะการเต้นของหัวใจด้วยการช็อคไฟฟ้า Electrical cardioversion

    เป็นการใช้เครื่องช็อคไฟฟ้าเปลี่ยนจังหวะการเต้นของหัวใจ แพทย์จะให้ยานอนหลับก่อนการช็อคไฟฟ้า แต่การเปลี่ยนจังหวะการเต้นของหัวใจด้วยไฟฟ้าไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีลักษณะดังนี้
  • ไม่สามารถให้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด
  • เป็นโรคที่มีการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างของหัวใจ เช่น โรคลิ้นหัวใจตีบ หัวใจห้องบนโตมากกว่า 5.5 cm เพราะไม่สามารถที่จะเปลี่ยนให้หัวใจเต้นปรกติ
  • เป็นโรคหัวใจเต้นพริ้วนานกว่า 12 เดือน
  • มีประวัติล้มเหลวหลายครั้งที่จะเปลี่ยนการเต้นจากเต้นสั่นพริ้ว
  • ยังไม่มีรักษาต้นเหตุ เช่นคอพอกเป็นพิษ

การหัวใจสั่นพริ้วเป็นมาไม่เกิน 24 ชั่วโมงก็ไม่ต้องให้ป้องกันลิ่มเลือด หากเป็นหัวใจสั่นพริ้วนานจะต้องได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือดเป็นเวลาหลายสัปดาห์ก่อนการเปลี่ยนการเต้น และจะต้องให้ยาละลายลิ่มเลือดหรือยาต้านการแข็งตัวไปอีกอย่างน้อย 4-6 สัปดาห์หลังจาการเปลี่ยนจังหวะการเต้น

ตัวอย่างยาและขนาดที่ใช้

  • Flecainide 300 มก. กินหรือ 2 มก./น้ำหนักตัว 1 กก. ทางหลอดเลือดดำ และ maintenance dose ต่อด้วย 50-150 มก. กินวันละ 2 ครั้ง.
  • Propafenone 600 มก. กินหรือ 2 มก./กก. ทางหลอดเลือดดำ ตามด้วย 150-300 มก. กินวันละ 2 ครั้ง เป็น maintenance dose
  • Procainamide 100 มก. ทางหลอดเลือดดำทุก 5 นาที รวมไม่เกิน 1,000 มก. ต่อด้วยกิน slow-release 1,000-2,000 มก. วันละ 2 ครั้ง
  • Amiodarone 1,200 มก. ทางหลอดเลือดดำใน 24 ชั่วโมง maitenance dose กิน 600 มก./วัน นาน 2 สัปดาห์ แล้วลดลงเป็นวันละ 200-400 มก. หรือต่ำกว่า.

การให้ยาหลังจากการเปลี่ยนจังหวะการเต้นของหัวใจ

ไม่ว่าการเปลี่ยนจังหวะการเต้นของหัวใจจะใช้ยาหรือการใช้ไฟฟ้าช็อคหัวใจ แพทย์จะต้องให้ยาเพื่อป้องกันหัวใจมิให้กลับไปเต้นผิปรกติอีก ยาที่นิยมใช้ได้แก่

  • Amiodarone (Cordarone, Pacerone)
  • Dronedarone (Maltaq)
  • Propafenone (Rythmol)
  • Sotalol (Betapace)
  • Dofetilide (Tikosyn)
  • Flecainide (Tambocor)

การเปลี่ยนจังหวะการเต้นของหัวใจจะใช้กับผู้ป่วยประเภทใด

จะใช้กับผู้ป่วยที่หัวใจเต้นสั่นพริ้วแบบเป็นๆหายๆ และแบบ persistant ที่มีลักษณะดังต่อไปนี้

  • หัวใจสั่นพริ้วที่มีอาการและรบกวนคุณภาพชีวิต
  • อายุน้อยกว่า 65 ปี
  • เป็นโรคหัวใจสั่นพริ้วครั้งแรก
  • เป็นหัวใจสั่นพริ้วที่เกิดจากโรคที่หายได้ เช่น การติดเชื้อ
  • มีโรคหัวใจวายร่วมด้วย

3การรักษาด้วยวิธีผ่าตัด

หากการรักษาดรคหัวใจสั่นพริ้วด้วยยา หรือการช็อคไฟฟ้าไม่ได้ผล แพทย์จะแนะนำการรักษาอื่น(ต้องอยู่ในสถาบันที่มีความพร้อม) ซึ่งมีวิธีการรักษาดังนี้

 

  • การักษาโดยวิธี Radiofrequency catheter ablation.วิธีการทำโดยการใส่สายสวนเข้าไปในหลอดเลือดแดงบริเวณขาหนีบ และใส่ไปถึงหัวใจ และตรวจหาบริเวณของหัวใจที่ผลิตไฟฟ้ามาก หลังจากนั้นจะใช้คลื่นวิทยุความถี่สูงทำลายบริเวณดังกล่าว ซึ่งหากทำถูกที่และบริเวณที่ผลิตไฟฟ้ามีจุดเดียวผู้ป่วยก็จะหายขาดไม่จำเป็นต้องใช้ยาอีกต่อไป
  • การผ่าตัด Surgical maze procedure.โดยการเปิดหัวใจแล้วกรีดที่หัวใจให้เป็นแผลซึ่งจะเกิดผังผืด ผังผืดนี้จะไม่นำไฟฟ้าจึงลดการเกิดหัวใจเต้นพริ้ว

จาก การรักษาข้างต้น ยังมีผู้ป่วยบางรายที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา และมีความจำเป็นที่ต้องได้รับการรักษาด้วยวิธีอื่นๆ เช่น การทำ AV node ablation ร่วมกับการใส่ permanent pacemaker, การผ่าตัด Maze procedure เป็นต้น ซึ่งในกรณีดังกล่าวผู้ป่วยควรได้รับการส่งต่อเพื่อรับการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญ.

จะเห็นว่าการปฏิบัติโดยทั่วไปไม่ได้จำเป็นต้องทำ ECHO ทุกราย กรณี AF ปัจจุบัน การรักษามักเน้นที่การให้ยาควบคุม rate และป้องกัน clot มากกว่าที่จะต้องทำอะไรมากกว่านี้ ยกเว้นว่าตรวจร่างกายสงสัยจะมีโรคหัวใจอื่นอยู่ด้วย ก็อาจขอทำ ECHO เพื่อให้ได้ข้อมูลประกอบการรักษา.

การรักษาโรคหัวใจเต้นสั่นพริ้ว การรักษาโดยการควบคุมการเต้น การป้องกันการเกิดลิ่มเลือด