หัวใจเต้นสั่นพริ้วถาวร Persistent atrial fibrillation

หัวใจเต้นสั่นพริ้วถาวร Persistent atrial fibrillationหมายถึงหัวใจที่เต้นสั่นพริ้วนานกว่า 7 วัน โดยอาศัยจากประวัติเคยตรวจพบหรือทำ EKG พบมาก่อน, ไม่จำเป็นต้องทำ EKG ทุกวัน ซึ่งโอกาสจะกลับมาเป็น sinus rhythm เองมีน้อยมาก. มีหลักการดูแลรักษาดังนี้

  1. การควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ Rhythm control ถ้าไม่ใช่กรณีเร่งด่วน การให้การรักษาเพื่อเปลี่ยนหัวใจสั่นพริ้ว( atrial fibrillation) ไปเป็น sinus rhythm ควรพิจารณาหลังการได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือดอย่างเหมาะสมแล้วเท่านั้นมีสองวิธีคือ
  • การให้ยาได้ผลประมาณร้อยละ 10-30 ขึ้นกับชนิดยาและระยะเวลาที่เป็นหัวใจสั่นพริ้ว( atrial fibrillation) ว่านานเพียงใด.การศึกษาเปรียบเทียบ ประสิทธิภาพยาแต่ละตัวมีไม่มากนัก แต่ก็พอจะมีตัวอย่าง เช่น amiodarone มีการศึกษาว่าได้ผลดีกว่าเมื่อเทียบกับ sotalol และ propafenone9  เป็นต้น
  • ส่วนการทำใช้ช็อกไฟฟ้า electrical cardioversion สามารถทำได้โดยใช้ synchronized, direct-current  cardioversion เริ่มที่ 300 joules หรืออาจน้อยกว่านี้ถ้าใช้ biphasic wave form. 

การให้ยา antiarrhythmic drugs เพื่อ maintain sinus rhythm ต่อควรพิจารณาถึงประสิทธิภาพ ผลข้างเคียง รวมถึงความปลอดภัยของยา เช่น lone atrial fibrillation สามารถให้ได้ทั้ง propafenone,flecaomode, sotalol, amiodarone. ส่วนผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวร่วมด้วยอาจใช้ได้เพียง amiodarone หรือ dofetilide.



  1. การให้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด persistent atrial fibrillation. มีความเสี่ยงต่อการเกิดสมองขาดเลือดจาก embolic stroke เท่ากับการเต้นหัวใจสั่นพริ้วชนิด paroxysmal atrial fibrillation.  ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงให้มากขึ้น ได้แก่การเกิดโรคสมองขาดเลือดมาก่อนหน้านี้ previous stroke หรือ TIA, ภาวะความดันเลือดสูง, อายุมากกว่า 70 ปี, โรคเบาหวาน และภาวะหัวใจล้มเหลว.10
  • Warfarin มีหลักฐานชัดเจนว่าได้ผลดีในการลด embolic stroke ส่วนการใช้แอสไพรินในการป้องกัน embolic stroke ยังได้ผลไม่ชัดเจน controversy. การใช้แอสไพรินร่วมกับ warfarin ขนาดต่ำก็มีการศึกษาว่าไม่ได้ผลดีอย่างชัดเจนพอ. การพิจารณาเลือกใช้ยาแอสไพริน อาจมีข้อแนะนำดังนี้
    1. อายุไม่เกิน 65 ปีและไม่มีความเสี่ยงต่อการเกิด embolic stroke  อื่นๆ อาจเลือกใช้ยาแอสไพริน หรือไม่ใช้ยาใดๆ เลย.
    2. อายุ 65-75 ปี และไม่มีความเสี่ยงต่อการเกิด embolic stroke อื่นๆ อาจเลือกใช้ยาแอสไพริน หรือ warfarin.
    3. อายุมากกว่า 75 ปี หรือมีความเสี่ยงต่อการเกิด embolic stroke  อื่นๆ แนะนำให้ใช้ warfarin ถ้าไม่มีข้อห้าม.

ชนิดหัวใจเต้นสั่นพริ้ว

ต้องการสอบถามเพิ่มเติมที่นี่

เพิ่มเพื่อน