การรับประทาน  phytosterols

 

หน่วยงานด้าน ความปลอดภัยทางอาหารแห่งยุโรป (The European Foods Safety Authority: EFSA) รายงานว่า การรับประทานสเตอรอลจากพืช 1.5 - 2.4 กรัม สามารถลดคอเลสเตอรอลได้ 7-10.5 เปอเซ็นต์ ภายใน 2-3 สัปดาห์ เมื่อคอเลสเตอรอล ลดลงก็ส่งผลต่อการลดโรคหลอดเลือดหัวใจ

สำนักงานคณะกรรมอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา ให้การรับรองสเตอรอลเอสเทอร์ 0.65 กรัม รับประทานวันละ 2 ครั้ง พร้อมอาหาร สามารถลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ และให้การรับรองสตานอลเอสเทอร์ 1.7 กรัม รับประทานวันละ 2 ครั้งพร้อมอาหาร สามารถลดความเสี่ยงจากโรคหัวใจได้เช่นกัน หากรับประทานอาหารอาหารซึ่งมี ไฟโตสเตอรอล 1-3 กรัม จะลดคอเลสเตอรอลได้ อย่างมีนัยสำคัญ 5-15 เปอร์เซ็นต์

ไฟโตสเตอรอล ในผู้ป่วยที่ใช้ยาสเตติน ไฟโตสเตอรอล 2.5 กรัมต่อวัน ร่วมกับการใช้ยาสเตตินสามารถลดคอเลสเตอรอล ได้ 0.34 มิลลิโมลต่อลิตร ซึ่งตรงการศึกษาทางระบาดวิทยา ที่แสดงว่า ไฟโตสเตอรอล ลดคอเลสเตอรอลได้ 9.18-17.34 เปอร์เซ็นต์ ในผู้ใช้ยาสเตติน จึงดีต่อผู้ใช้ยาสเตติน เพราะผู้ที่ใช้ยาไม่ ต้องเพิ่มปริมาณยาสเตติน

 

อาหารที่ใส่ phytosterols

อาหารที่ใส่ phytosterols เพื่อที่จะลดการระดับ Cholesterol เช่น margarines mayonnaises น้ำมันพิช น้ำสลัด yogurt cheese dark chocolate นม นมถั่วเหลือง จาการวิจัยพบว่าหากเติมphytosterols 2 กรัมต่อวันจะสามารถลดระดับไขมันในเลือดได้ดีโดยแบ่งให้วันละ3 มื้อ

phytosterols รูปแบบเม็ด

ขนาดที่จำหน่าย 0.5 กรัม/เม็ด แนะนำให้รับประทานวันละ 2 กรัม

ความปลอดภัย 

แนะนำว่าไม่ควรจะรับประทานเกินวันละ 3 กรัม เนื่องจากจะไม่ได้ประโยชน์

ไฟโตสเตอรอล มีประวัติการใช้มายาวนาน และไม่ปรากฏผลข้างเคียง หน่วยงานด้านความปลอดภัย ทางอาหารของสหรัฐอเมริกา ได้รับรองความปลอดภัย และคณะกรรมการวิทยาศาสตร์กลุ่มยุโรป (The European Union Scientific Committee) ให้การรับรองความปลอดภัยไฟโตสเตอรอล

ทั้งนี้ การที่ไฟโตสเตอรอล ช่วยลดการดูดซึมคอเลสเตอรอล อาจมีผลต่อการดูดซึมของวิตามินที่ละลายในไขมัน รวมทั้งกลุ่มแคโรทีน ซึ่งทางคณะกรรมการวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับอาหารในกลุ่มยุโรป ได้แนะนำ ให้รับประทานผักและผลไม้ ที่อุดมด้วยแคโรทีนและวิตามินที่ละลายในไขมันเพิ่ม

ผลข้างเคียงphytosterols

พบว่าผลข้างเคียงน้อยมาก และยังไม่พบว่ามีผลเสียจากการได้ยา ไม่แนะนำให้กับผู้ตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตรเพราะยังไม่มีการศึกษาถึงผลเสียของการให้ยานี้

ทบทวนวันที่ 29/04/2566

โดย นายแพทย์ ประพันธ์ ปลื้มภาณุภัทร อายุรแพทย์,แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว

Google
 

เพิ่มเพื่อน