การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่9

การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่9 ศีรษะเด็กจะมีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับตัวเด็กศรีษะเด็กจะมาชิดหน้าอก แขนเด็กจะยาวขึ้นและเริ่มมีกระดูก เริ่มมีข้อศอก ข้อไหล่ ข้อมือ ข้อเท้า มีนิ้วหัวแม่เท้า มีหนังตาแต่ตายังปิดจนกระทั่งสัปดาห์ที่28จึงจะเปิด และหู ลำไส้จะยาวขึ้น มีรูทวาร มีการสร้างรังไข่และอัณฑะ เด็กจะเริ่มมีการเคลื่อนไหวโดยที่คุณแม่ไม่รู้สึกว่าเด็กมีขนาดเล็ก เด็กจะมีขนาด3/4 นิ้ว หนักประมาณ 3 กรัม หัวใจเด็กแบ่งเป็น 4 ห้อง เด็กเริ่มดูดนิ้วตัวเอง

การเปลี่ยนแปลงของตัวคุณแม่

รูปร่างคุณแม่มีการเปลี่ยนแปลงแบบคนตั้งครรภ์ อารมณ์คุณแม่จะแปรปรวน และเริ่มมีอาการจุกเสียดท้องแม้ว่าจะรับประทานอาหารเพียงเล็กน้อย มีก๊าซในท้องมาก อาการที่มักจะเกิดกับคุณแม่ในระยะนี้ได้แก่ อาการแน่จุกซึ่งแก้ไขโดยรับประทานอาหารครั้งน้อยๆแต่บ่อยครั้งแทนการรับประทานอาหารสามมื้อ และหลีกเลี่ยงการนอนหลังรับอาหารทันที หลีกเลี่ยงอาหารเผ็ด และอาหารมันๆ

 

สัปดาห์ที่9

ตัวอ่อน


คุณแม่ต้องเตรียมข้อมูลสำหรับการฝากครรภ์

  • ประวัติการเจ็บป่วยของสมาชิกในครอบครัว
  • ประวัติการฉีดวัคซีนของคุณแม่
  • ประวัติโรคประจำตัวของคุณแม่
  • ประวัติการใช้ยาทั้งที่ซื้อรับประทานเอง หรือยาที่แพทย์สั่ง
  • ประวัติพฤติกรรม เช่น การออกกำลังกาย การสูบบุหร่ สุรา กาแฟ

การดูแลในช่วงนี้

  • หากคุณแม่อายุมากกว่า 35 ปี หรือมีประวัติโรคทางพันธุกรรรมในครอบครัว คุณแม่ต้องปรึกษาแพทย์
  • ปรึกษาแพทย์ถึงความจำเป็นในการตรวจพิเศษเช่น การตรวจหาความผิดปกติเกี่ยวกับพันธุกรรม การเจาะน้ำคร่ำตรวจ
  • บางท่านอาจจะยังมีอาการแพ้ท้องอยู่ก็ให้ดูแลเหมือนช่วงที่มีอาการแพ้ท้อง
  • ช่วงนี้คุณแม่อาจจะอ่อนเพลียเหนื่อยง่าย นอนไม่หลับทั้งนี้เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนในร่างกาย

การตั้งครรภ์ การตั้งครรภ์ไตรมาส1 เดือนที่ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12

การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่8 การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่10

 

เพิ่มเพื่อน