การเฝ้าสุขภาพทารก Monitoring Fetal Health

สุขภาพทารก เป็นเรื่องที่คุณแม่คงกังวลว่าลูกที่เกิดมาจะสมบูรณ์แข็งแรงหรือไม่ และคุณแม่จะติดตามว่าลูกแข็งแรงได้อย่างไร คุณแม่คงต้องไปตามนัดและรายงานความผิดปกติให้แพทย์ทราบโดยเร็ว การเฝ้าติดตามสุขภาพของทารกจะเป็นข้อมูลสำคัญ สำหรับแพทย์ในการให้การดูแลคุณแม่และทารก


การตรวจสุขภาพทารก

คุณแม่จะติดตามสุขภาพของทารกได้อย่างไร

วิธีการติดตามสุขภาพของทารก อาจจะกระทำได้โดยการติดตามเคลื่อนไหวของเด็ก การเต้นของหัวใจ อัตราการเจริญเติบโตของเด็กบางครั้งอาจจะต้องใช้เครื่องมือช่วยเช่น ultrasound

  1. โดยการที่คุณแม่คอยนับการเคลื่อนไหวของทารกโดยมากมักจะนับตอนท้องแก่ถ้าเด็กไม่เคลื่อนไหวในระยะ 12 ชั่วโมงให้รีบแจ้งแพทย์ อ่านการดิ้นของทารกที่นี่
  2. การตรวจ ultrasound สามารถให้ทั้งภาพและเสียงสามารถดูการเจริญเติบโตและการพัฒนาของทารก
  3. Nonstress test เป็นการเฝ้าติดตามการเต้นของหัวใจเมื่อเด็กเคลื่อนไหว ปกติเมื่อเด็กเคลื่อนไหวหัวใจจะเต้นเร็วขึ้นโดยใช้เครื่องมือ Doppler ultrasound ติดตามการเต้นของหัวใจ
  4. Biophysical profile เป็นการใช้ ultrasound และ Nonstress testเพื่อเก็บข้อมูลดังต่อไปนี้
  • (1) nonstress test
  • (2)การหายใจของทารก (หายใจอย่างน้อย 1 ครั้งทุก 30 วินาทีหรือมากกว่า 1 ครั้งใน 30 นาที)
  • (3)การเคลื่อนไหวของทารก (การเคลื่อนไหวของร่างกายหรือแขนขามากกว่า 3 ครั้งใน 30 นาที)
  • (4) fetal tone (มีการเหยียดแขนขาหรือกำมือ)
  • (5) ประเมินปริมาณน้ำคล่ำ (a single vertical pocket of amniotic fluid exceeding 2 cm is considered evidence of adequate amniotic fluid)

แต่ละข้อหากทำได้จะให้ 2 คะแนน หากทำไม่ได้จะให้ 0 คะแนน เด็กปกติจะได้คะแนน 8-10 หากได้คะแนน6 ก็ให้สงสัย หากน้อยกว่าหรือเท่ากับ 4 แสดงว่าผิดปกติ

  1. contraction test เป็นการวัดการเต้นของหัวใจทารกที่ตอบสนองต่อการบีบตัวของมดลูก
  • การเต้นของหัวใจเด็ก
  • การเคลื่อนไหวของเด็ก
  • การหายใจของเด็ก
  • ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
  • ปริมาณน้ำคร่ำ
  1. UMBILICAL ARTERY DOPPLER VELOCIMETRY

เป็นการวัดความเร็วของเลือดในสายสะดือ และดู velocity waveforms ซึ่งมีความแตกต่างกันระหว่างเด็กที่ปกติและเด็กที่เจริญเติบโตช้า

ใครควรได้รับการติดตามสุขภาพโดยใกล้ชิด

ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ดังต่อไปนี้ควรได้รับการตรวจ

  • ครรภ์เป็นพิษ
  • โรคเบาหวาน
  • postterm pregnancy (หลังครบกำหนด 2 สัปดาห์ยังไม่คลอด)
  • มีน้ำคร่ำมากหรือน้อยไป
  • คุณแม่เป็นโรคไตหรือโรคหัวใจ
  • ครรภ์แฝด

ข้อบ่งชี้ในการตรวจ

  • ปัจจัยจากทางคุณแม่ เป็นโรค antiphospholipid syndrome คอพอกเป็นพิษที่คุมโรคไม่ดี โรคเลือดเช่น S-thalassemia โรคหัวใจ โรคเอสแอลอี systemic lupus erythematosus โรคไตวาย โรคเบาหวานชนิดที่ 1 โรคความดันโลหิตสูง
  • โรคที่เกิดขณะตั้งครรภ์ ครรภ์เป็นพิษ เด็กดิ้นน้อยลง น้ำคล่ำมากไปหรือน้อยไป เด็กไม่เติมโต ตั้งครรภ์เกิดกำหนดคลอด

คำแนะนำ(เป็นความเห็นเท่านั้น)

  • ผู้ที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิตของทารกควรจะได้รับการตรวจ nonstress test, contraction stress test, biophysical profile
  • ควรจะเริ่มตรวจเมื่ออายุครรภ์ 32-34 สัปดาห์ สำหรับผู้ที่เสี่ยงมากอาจจะเริ่มตรวจเมื่ออายุครรภ์ 26-28 สัปดาห์
  • หากสาเหตุยังคงอยู่ก็ให้ตรวจทุกสัปดาห์ สำหรับผู้ที่เสี่ยงสูงก็แนะนำให้ตรวจสัปดาห์ละ 2 ครั้ง หากค่าผิดปกติจะต้องมีการประเมินด้วยวิธีอื่น
  • หากการตรวจด้วย nonstress test ผิดปกติจะต้องตรวจด้วยวิธีการ contraction stress test หรือ biophysical profile
  • สำหรับผู้ที่มีน้ำคล่ำน้อย( vertical pocket น้อยกว่า 2 ซม)จะต้องเฝ้าดูแลใกล้ชิดทั้งแม่และลูก
  • หากการตรวจดังกล่าวผิดปกติและไม่มีข้อห้ามในการคลอดแนะนำให้ทำคลอด
  • การตรวจ Umbilical artery Doppler velocimetry จะมีประโยชน์ในรายที่ทารกในครรภ์ไม่เจริญ intrauterine growth restriction.

หน้าแรก