การวางแผนตั้งครรภ์

การวางแผนทางการเงิน

เนื่องสังคมของคนเมืองเปลี่ยนไปผู้หญิงทำงานนอกบ้าน และจากภาวะเศรษฐกิจทำให้คนแต่งงานเมื่ออายุมากขึ้น กว่าจะเริ่มวางแผนมีบุตรอายุก็มากขึ้น ดังนั้นการวางแผนการมีบุตรจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะละเลยไม่ได้ การวางแผนการมีบุตรไม่ใช่จะมีเมื่ออายุเท่าไร แต่การวางแผนจะครอบคลุมถึงการเตรียมทางร่างกายและจิตใจ การเลือกแพทย์และโรงพยาบาล บทความนี้จะแนะนำบางเรื่องที่คิดว่าเป็นประโยชน์ สำหรับผู้ที่คิดว่าจะมีบุตรสักคน การที่มีสุขภาพดีทั้งพ่อและแม่จะทำให้ลูกเกิดมามีความแข็งแรง ดังนั้นก่อนการตั้งครรภ์ท่านต้องวางแผนเรื่องต่อไปนี้

ตรวจสุขภาพก่อนการตั้งครรภ์

การวางแผนมีบุตรไม่ใช่ตั้งครรภ์แล้วค่อยไปฝากครรภ์ แต่ท่านต้องไปปรึกษาสูตินรีแพทย์เพื่อตรวจร่างกายดูสุขภาพทั่วไป โรคประจำตัว ตรวจทั้งการเพาะเชื้อจากปากมดลูกและตรวจมะเร็งปากมดลูก แพทย์จะตรวจเลือดเพื่อตรวจว่ามีโลหิตจางหรือไม่รวมทั้งการตรวจหาภูมิต่อโรคหัดเยอรมันและไข้สุกใส หากไม่มีภูมิแพทย์ก็จะแนะนำให้ฉีดวัคซีนซึ่งก็ต้องใช้เวลาอีก 3 เดือนจึงจะตั้งครรภ์ได

การตรวจทางพันธุกรรม

แพทย์จะซักประวัติโรคทางพันธุกรรมทั้งตัวคุณและคู่เพื่อพิจารณาว่าครอบครัวคุณมีความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหน โรคทางพันธุกรรมที่พบบ่อยคือโรคธัลลัสซีเมีย และหากคุณอายุมากคุณก็จะเสี่ยงต่อกลุ่ม down

หลีกเลี่ยงการติดเชื้อ

โรคเพศสัมพันธ์บางโรคอาจจะมีผลทำให้เกิดการเป็นหมัน แพทย์จะซักประวัติโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และหากสงสัยแพทย์อาจจะเพาะเชื้อจากปากมดลูก รวมทั้งการเจาะเลือดเพื่อให้แน่ใจว่าคุณปลอดภัยจากโรคติดต่อและไม่ควรที่จะมีเพศสัมพันธ์กับคน

การติดเชื้อจากอาหารก็อาจจะมีผลต่อการตั้งครรภ์เช่นการติดเชื้อ Toxoplasmosis ต้องรับประทานอาหารที่ปรุงสุกแล้วเท่านั้น ไม่รับประทานอาหารสุกดิบๆ และให้ล้างมือก่อนรับประทานอาหารทุกครั้ง ล้างผักและผลไม้ให้สอาด

หลีกเลี่ยงจากการเข้าชุมชนเพราะท่านอาจจะติดหวัดหรือโรคติดเชื้อชนิดอื่น

อาหารและวิตามินก่อนการตั้งครรภ์

ก่อนการตั้งครรภ์การให้วิตามินกรดโฟลิกวันละ 400 มก.จะช่วยป้องกันความพิการทางสมอง นอกจากวิตามินแล้วคุณต้องรับประทานอาหารที่มีคุณภาพ หากคุณเป็นมังสะวิรัต โลหิตจาง หรือรับประทานน้อย คุณต้องรับประทานอาหารเพิ่ม การที่คุณได้รับสารอาหารไม่เพียงพอจะก่อปัญหากับการตั้งครรภ์ เช่นหากคุณโลหิตจางจะทำให้เด็กมีโลหิตจางด้วย หากคุณรับอาหารไม่พอเด็กก็จะมีการเจริญเติบโตช้า

ความแข็งแรง

นอกจากอาหารและวิตามินแล้วความแข็งแรงของร่างกายก็จะช่วยให้คุณตั้งครรภ์และคลอดอย่างปลอดภัย มีการศึกษาว่าหากออกกำลังตั้งแต่ก่อนการตั้งครรภ์และระหว่างการตั้งครรภ์จะทำให้คลอดได้ง่าย การควบคุมน้ำหนักไม่ให้มากหรือน้อยกว่า 15%ของน้ำหนักมาตรฐานจะทำให้เด็กเจริญเติบโตได้ดี หากคุณน้ำหนักน้อยกว่ามาตรฐานมากกว่า 15%แสดงว่าคุณผอมเกินไป ทำให้ตั้งครรภ์ยาก และระวังการตั้งครรภ์ในเดือนแรกๆอาจจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียนน้ำหนักคุณจะลดลงอีก แนะนำว่าคุณควรจะเพิ่มน้ำหนักก่อนการตั้งครรภ์

คุณต้องลดน้ำหนักเพราะหากอ้วนจะทำให้เกิดโรคเบาหวานหรือความดันโลหิตสูง ดังนั้นคุณควรจะลดน้ำหนักก่อนการตั้งครรภ์ หากคุณออกกำลังกายก่อนการตั้งครรภ์ก็ควรออกต่อ

การดูแลสิ่งแวดล้อม

ต้องตรวจสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวว่ามีสิ่งที่เป็นเป็นภัยต่อการตั้งครรภ์หรือไม่ เช่นยาฆ่าแมลง ใยแก้ว สารตะกั่ว รังสี ควรจะหลีกสิ่งเหล่านี้ หากคุณเลี้ยงแมวบอกแพทย์ให้เจาะเลือดตรวจหาภูมิต่อเชื้อ toxoplasma หรือไม่เพราะเชื้ออาจจะทำให้พิการแต่กำเนิด หากคุณไม่มีภูมิควรจะสวมถุงมือและหน้ากากเมื่อจะสัมผัสแมว

การเปลี่ยนพฤติกรรม

สำหรับท่านที่ดื่มสุรา ติดยาเสพติด และสูบบุหรี่รวมทั้งสามีที่สูบบุหรี่ควรจะละหรือเลิกเสียเพราะจะทำให้ตั้งครรภ์ยาก และหากตั้งครรภ์ก็อาจจะมีผลเสียต่อเด็กในครรภ์

เวลาที่เหมาะสมสำหรับการตั้งครรภ์

เริ่มมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่วันที่ 9 ของรอบเดือนจนวันที่ 19 ของรอบเดือนโดยร่วมเพศกันวันเว้นวัน การตั้งครรภ์ไม่เกี่ยวกับท่าที่ยุ่งกันพยายามให้หลั่งในช่องคลอดให้ลึกที่สุด และไม่จำเป็นต้องนอนพักหลังร่วมเพศเนื่องจากเชื้อจะวิ่งอย่างรวดเร็วไปยังเป้าหมาย

รับประทานอาหารที่มีคุณภาพและคุมน้ำหนัก

หากคุณวางแผนที่จะตั้งครรภ์คุณควรที่จะเริ่มต้นรับประทานอาหารที่มีคุณภาพ และควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ หลีกเลี่ยงอาหารมัน น้ำตาล การดื่มกาแฟ หรือดื่มชาจะทำให้ตั้งครรภ์ยาก ผู้ที่อ้วนต้องลดน้ำหนักก่อนตั้งครรภ์ สำหรับผู้ที่มีน้ำหนักตัวน้อยกว่าปกติสามารถตั้งครรภ์ได้

อย่าให้เกิดความเครียด

ความเครียดจะมีผลเสียต่อการตั้งครรภ์ ทำให้ตั้งครรภ์ยาก คลอดก่อนกำหนด เด็กคลอดออกมามีน้ำหนักน้อย

เพิ่มเพื่อน

 

การตกไข่ | การปฏิสนธิ | การเตรียมตัวก่อนการตั้งครรภ์ | การตรวจสุขภาพก่อนการตั้งครรภ์ | การรับประทานกรดโฟลิค | ยาที่มีผลต่อการตั้งครรภ์ | การคำนวณวันคลอด | สิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการตั้งครรภ์ | สุรา บุหรี่กาแฟ | อาหารที่เพิ่มเชื้ออสุจิ | วิตามินที่ร่างกายต้องการ | การทดสอบการตั้งครรภ์ | การออกกำลังระหว่างตั้งครรภ์ | การวางแผนทางการเงิน | 8วิธีหลีกเลี่ยงสารพิษ | การตั้งครรภ์เมื่ออายุมากกว่า 35 ปี | ความพร้อมทางร่างกาย | การคำนวณอายุครรภ์ | การตั้งครรภ์ที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ การตั้งครรภ์และความเครียด | x-ray และการตั้งครรภ์ | การตั้งครรภ์และการใช้ยา | การตั้งครรภ์และการท่องเที่ยว