การเปลี่ยนแปลงของคุณแม่ระหว่างตั้งครรภ์

 

 

สำหรับท่านสุภาพสตรีที่คิดว่าจะมีบุตรนั้นมักจะมีประวัติขาดประจำเดือนมาก่อน และตามด้วยอาการของคนตั้งครรภ์ อาการของคนตั้งครรภ์แต่ละคนจะไม่เหมือนกันมากบ้างน้อยบ้าง ไม่จำเป็นต้องมีครบ อาการที่พบบ่อยได้แก่

อาการขาดประจำเดือน

ส่วนใหญ่เกือบทั้งร้อยจะสงสัยว่าตัวเองตั้งครรภ์ก็ต่อเมื่อขาดประจำเดือน หรือประจำเดือนเลื่อนออกไป บางท่านอาจจะมีเลือกออกกระปริดกระปอยในช่วงที่ตัวอ่อนฝังตัวที่ผนังมดลูก แต่เลือกออกไม่มากเหมือนประจำเดือน แต่สำหรับท่านที่ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ ท่านอาจจะตั้งครรภ์โดยไม่รู้ตัว คงต้องอาศันอาการอื่นร่วมด้วย

การเปลี่ยนแปลงร่างกาย

อาการปวดหลัง

อาการปวดหลังเป็นอาการที่พบได้บ่อยเกิดได้ตั้งแต่เดือนแรกจนใกล้คลอด สาเหตุเกิดจากมดลูกที่มีขนาดใหญ่ขึ้นและมีน้ำหนักมากขึ้นทำให้หลังต้องแบกน้ำหนักเพิ่มขึ้นซึ่งมีวิธีป้องกันดังนี้

  • อย่าใส่รองเท้าส้นสูงให้ใส่รองเท้าส้นเตี้ยๆ
  • งดยกของหนัก
  • ห้ามก้มยกของ
  • อย่ายืนนาน ถ้าหากต้องยืนนานให้ยืนด้วยขาข้างเดียวสลับกันไป
  • นั่งบนเก้าอี้ที่มีพนักพิงและให้หนุนหมอนใบเล็กๆที่หลัง
  • จัดสิ่งแวดล้อมที่บ้านและที่ทำงานเพื่อจะได้ไม่ต้องงอหลัง
  • ที่นอนต้องไม่แข็งเกินไป
  • ให้นอนตะแคงซ้ายขาขวาก่ายหมอนข้าง
  • ประคบร้อนบริเวณที่ปวด
  • ออกกำลังบริหารกล้ามเนื้อ

คลิกที่นี่แสดงการบริหารเพื่อป้องกันการปวดหลัง ปวดหลัง

 

ปัสสาวะบ่อย

ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์คุณแม่คงจะมีความรู้สึกอยากปัสสาวะแม้ว่าจะเพิ่งไปปัสสาวะมาเนื่องจากมดลูกที่โตกดกระเพาะปัสสาวะ และฮอร์โมน human chorionic gonadotrophin (hCG) อาการปัสสาวะบ่อยจะดีขึ้นเมื่อมดลูกเจริญเข้าในท้องและจะเริ่มมีอาการอีกครั้งเมื่อเด็กใกล้คลอด เมื่อมีปัสสาวะเล็ดเวลาจามหรือไอให้บริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน

อาการปวดท้องน้อย

เมื่อมดลูกใหญ่ขึ้นจะทำให้เอ็นทียึดมดลูกตึงตัว คุณแม่จะรู้สึกตึงหน้าท้องบางครั้งข้างเดียวบางครั้งสองข้างลักษณะจะปวดตึงๆมักจะเริ่มขณะอายุครรภ์ 18-24 สัปดาห์ การป้องกัน

  • อย่าเปลี่ยนท่าอย่างรวดเร็ว
  • เมื่อปวดท้องให้โน้มตัวมาท่งหน้า
  • ให้นอนพักหรือเปลี่ยนท่าบ่อยๆจะช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด

อาการปวดศีรษะและอารมณ์แปรปวน

เป็นอาการที่พบได้บ่อย เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน ความถี่ของการปวด และความรุนแรงจะไม่เท่ากันในแต่ละคน บางคนอาจจะร้องไห้ บางคนก็ปวดศีรษะ สำหรับท่านที่รับประทานยาเป็นประจำโปรดปรึกษาแพทย์ เพราะยาบางประเภทไม่ควรจะรับประทานในคนท้อง โปรดปรึกษาแพทย์หากมีอาการดังต่อไปนี้

  • ปวดไม่หาย
  • ปวดบ่อย
  • ปวดรุนแรงมาก
  • ตาพร่ามัวหรือมองเป็นจุด
  • ปวดศีรษะร่วมกับคลื่นไส้

ริดสีดวงทวาร

เป็นหลอดเลือดที่โป่งพองมักจะพบในคนที่ท้องผูก หลังคลอดอาการท้องผูกจะดีขึ้น การป้องกัน

รูปใยอาหาร

  • หลีกเลี่ยงท้องผูก
  • รับประทานอาหารที่มีใยมาก
  • ดื่มน้ำมากๆ
  • ก้นแช่น้ำอุ่น
  • ใช้ครีมทา

อ่านเรื่องริดสีดวงทวาร

อาการจุกเสียดแน่นท้อง

คุณแม่จะมีอาการจุกเสียดท้องอาการจุกจะเริ่มจากกระเพาะไปสู่หลอดอาหารเกิดเนื่องจากมีกรดมาก อาหารย่อยช้าและมดลูกที่ดันกระเพาะปัจจัยต่างๆเหล่านี้จะทำให้แน่นท้อง วิธีป้องกันอาการแน่นท้อง

  • รับประทานอาหารบ่อยๆเป็นวันละ 5-6 ครั้ง
  • หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำระหว่างรับประทานอาหาร
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดแก๊ส และรสจัด
  • งดสุราและบุหรี่
  • งดอาหารก่อนออกกำลังกาย

นอนไม่หลับ

มดลูกเริ่มโตขึ้นคุณแม่จะหาท่าสบายๆนอนยากเต็มแต่ก็มีเคล็ดในการนอนคือ

  • ถ้านอนไม่หลับให้อาบน้ำอุ่นก่อนนอน
  • ดื่มนมอุ่นๆสักแก้วจะช่วยให้หลับดีขึ้น
  • ให้นอนตะแคงข้างซ้ายมีหมอนหนุนท้องและขา
  • นอนบนม้าโยก

ตะคริว

คุณแม่เมื่อใกล้คลอดจะมีอาการตะคริวที่เท้าทั้งสองข้างโดยมากมักจะเป็นขณะนอน มีวิธีป้องกันดังนี้

  • ให้เหยียดขาก่อนนอน
  • ขณะเหยียดห้ามชี้นิ้วเท้าให้ดึงข้อเท้าเข้าหาตัว
  • ประคบอุ่นที่น่อง
  • นวดน่อง
  • ดื่มน้ำมากๆ ไม่ดื่มแอลกอฮอล์หรือกาแฟ
  • ให้รับประทานอาหารที่มีแคลเซียม

อ่านเรื่องตะคริว

อาการเหนื่อยหอบ

เมื่ออายุครรภ์ได้31-34 สัปดาห์มดลูกใหญ่ขึ้นจนดันกำบังลมทำให้รู้สึกหายใจไม่อิ่ม คุณแม่ไม่ต้องกังวลกับอาการนี้ว่าลูกจะได้ oxygen เพียงพอหรือไม่เด็กยังคงได้รับ oxygen อย่างเพียงพอ เมื่อใกล้คลอดอายุครรภ์ 36-38 สัปดาห์จะเริ่มหายใจสะดวกขึ้นเนื่องจากเด็กเคลื่อนตัวลงช่องเชิงกรานวิธีป้องกันไม่หายเหนื่อย

  • ขยับตัวช้าๆเพื่อไม่ให้ปอดและหัวใจทำงานหนัก
  • นั่งตัวตรงเพื่อเพิ่มเนื้อที่ปอด
  • ให้นอนหัวสูง

การเปลี่ยนผิวหนังในคนท้อง

เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังที่พบบ่อยๆคือ

  • จะเกิดฝ้าขึ้นโดยเฉพาะบริเวณที่เจอแดดดังนั้นควรทาครีมกันแดด
  • จะเกิดรอยดำเป็นเส้นบริเวณหัวเหน่า หลังคลอดรอยดำจะหายไป
  • รอยแนวสีชมพูบริเวณหน้าท้อง ที่เรียกว่าท้องลายเป็นการขยายของหน้าท้องเพื่อการเจริญเติบโตของเด็ก ไม่มีทางป้องกัน รอยนี้จะค่อยๆจางหายไปหลังคลอด
  • จะเห็นเส้นเลือดบริเวณหน้าอกขยาย ผิวบริเวณผ่ามือจะแดง อาการทั้งสองเป็นผลจากฮอร์โมน
  • อาจจะเกิดสิวขึ้นให้ล้างหน้าวันละหลายครั้ง ห้ามใช้ tetracyclin และRoaccutane

อาการบวมและเส้นเลือดขอด อ่านที่นี่

ผู้ป่วยที่ใกล้คลอดอาจจะมีอาการบวมหลังเท้าวิธีแก้ให้นั่งหรือนอนยกเท้าสูง ห้ามซื้อยาขับปัสสาวะมารับประทานเด็ดขาด ถ้าหากบวมแขนหรือหน้าต้องแจ้งแพทย์ให้ทราบ

เส้นเลือดขอดเกิดจากมดลูกกดทับเส้นเลือดดำอาจจะเกิดบริเวณขา อวัยวะเพศหลังคลอดจะหายไปวิธีป้องกัน

  • อย่านั่งหรือยืนนานเกินไป
  • ยกเท้าสูง
  • นอนยกเท้าสูง
  • อย่าใส่ถุงเท้าที่รัดแน่น
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • อย่านั่งไขว่ห้าง

การตั้งครรภ์