การตรวจ prothrombin time (PT)

การตรวจ prothrombin time (PT) เป็นการเจาะเลือดเพื่อหาสาเหตุของโรคเลือดออกง่าย หรือหยุดยาก โดยมากมักจะตรวจอย่างอื่นร่วมด้วยเช่น  partial thromboplastin time (PTT) การตรวจ prothrombin time (PT)เป็นการตรวจไกการห้ามเลือดที่เรียกว่า ระบบปัจจัยภายนอก (extrinsic system) และ common pathways ขณะที่การตรวจ PTT เป็นการตรวจ intrinsic และ common pathways. การใช้การตรวจทั้งสองจะเป็นการตรวจระบบการแข็งตัวของเลือด

เนื่องจากการตรวจ prothrombin time (PT) มีวิธีการตรวจหลายวิธี และผลการตรวจแต่ละวิธีไม่เท่ากันจึงได้มีการตรวจที่เรียกว่า INR (international normalized ratio) เพื่อที่จะทำให้ผลการตรวจที่ได้มีค่ามาตราฐานเดียวกัน ไม่ว่าจะตรวจด้วยวิธีไหน ซึ่งจะทำให้การติดตามโรคง่ายขึ้น



ข้อบ่งชี้ในการตรวจ PT/INR

  • ใช้ติดตามการรักษาด้วยยาต้านการแข็งตัวของเลือดชื่อ warfarin
  • ใช้ตรวจกรณีที่มีเลือดออกง่ายผิดปกติ เช่น เลือดกำเดาไหลง่าย เลือดออกตามไรฟัน เกิดจ้ำเขียวได้ง่าย ประจำเดือนมามาก หรือโลหิตจาง
  • เป็นการตรวจเพื่อประเมินก่อนผ่าตัดที่มีความเสี่ยงต่อเลือดออก
  • เป็นการตรวจการทำงานของตับ

วิธีการตรวจ

การตรวจโดยการเจาะเลือดจากหลอดเลือดดำที่แขน และนำเข้าเครื่องตรวจ ก่อนเจาะเลือดจะต้องแจ้งแพทย์เรื่องยาที่รับประทาน เพราะอาจจะมีผลต่อผลการตรวจ และที่สำคัญไม่ควรจะหยุดยาเอง ควรจะปรึกษาแพทย์ก่อนหยุดยา

ค่าปกติ

  • 11 - 13.5 seconds, or
  • INR of 0.8-1.1

การแปลผล

  • สำหรับผู้ที่รับประทานยา coumadin จะปรับยาเพื่อให้ระดับ INR ประมาณ 2-3 แต่หากผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดสูงจะต้องปรับยาเพื่อให้ INR ประมาณ 2.5-3.5
  • PT ที่เกินปกติหมายถึงเลือดใช้เวลานานกว่าจะเป็นลิ่มเลือดพบได้ในภาวะโรคตับ ขาดวิตามินเค

ความผิดปกติที่เกิดขึ้น

ค่า PT ค่า PTT ตัวอย่างภาวะหรือโรค
เกิน ปกติ โรคตับ ขาดวิตามินเค ขาด factor VII,ภาวะdisseminated intravascular coagulation (DIC),ได้รับยาละลายลิ่มเลือด
ปกติ เกิน ขาดปัจจัย factor VIII, IX, or XI, von Willebrand disease (severe type),เป็นภาวะ lupus anticoagulant
เกิน เกิน ขาด factor I, II, V or X,โรคตับรุนแรง, ภาวะ DIC เฉียบพลัน
ปกติ ปกติ หรือเกินเล็กน้อย ปกติ หรือเป็นโรคอย่างอ่อนๆ


ข้อควรที่จะทราบเกี่ยวกับ PT/INR

  • สุราจะมีผลต่อ PT/INR
  • ยาปฏิชีวนะจะทำให้ PT/INR เพิ่มขึ้น
  • ยา Barbiturates, oral contraceptives และฮอร์โมนทดแทน,และวิตามินเคที่อยู่ในวิตามินจะลด PT
  • อาหารบางประเภทเช่นตับวัว ตับหมู ชาเขียว ถั่วเขียว ถั่วเหลือง จะมีวิตามินเคมากจะมีผลต่อค่า PT
  • ยาบางชนิดมีผลต่อผล PT/INR เช่นยา warfarin, vitamin K. ยาปฏิชีวนะ ยารักษาโรคกระเพาะอาหาร ยาคุมกำเนิด ยาฮอร์โมนวัยทอง
  • ภาวะอาเจียน หรือท้องร่วง หรือภาวะขาดน้ำ จะทำให้ค่า PTมากขึ้น
  • ท้องร่วงเรื้อรังทำให้ขาดสารอาหารรวมทั้งวิตามินจะทำให้ค่า PT ยาวขึ้น

APTT | Prothrombin time | Thrombin time | clotting time | Bleeding time | Platelet