การทดสอบ Tuberculin test

หลักการของการทดสอบผิวหนังคือ เมื่อคนได้รับเชื้อร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อโรค เมื่อเรานำสารที่สกัดจากตัวเชื้อวัณโรคฉีดเข้าไปใต้ผิวหนัง ก็จะทำให้เกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ขึ้นมา วิธีการนี้จะช่วยค้นหาผู้ที่ได้รับเชื้อแต่ยังไม่เกิดโรค สารที่นำมาฉีดเรียก purified protein derivative (PPD) ซึ่งเป็นโปรตีนที่สกัดจากเชื้อวัณโรคที่เลี้ยงหลักการพื้นฐานของการทดสอบ Tuberculin test

ฉีดให้ยานูนขึ้นมา

วัดเฉพาะรอยนูน

หากร่างกายเราเคยได้รับเชื้อ ร่างกายจะมีภูมิ เมื่อเราฉีด PPD เซลล์เม็ดเลือดขาวที่เรียกว่า T cells จะสร้างสารที่เรียกว่า lymphokines สารนี้จะทำให้บริเวณที่ฉีดมีการอักเสบ บวมหลังฉีด 5-6 ชั่วโมงและบวมมากที่สุดในระยะเวลา 48-72 ชั่วโมง และจะยุบในไม่กี่วัน สำหรับผู้สูงอายุหรือผู้ที่ติดเชื้อวัณโรคในระยะแรกอาการบวจมักจะเกิดเต็มที่เวลา72 ชม สำหรับผู้ที่แพ้ผื่นจะหายใน 24 ชม

การแปลผลการตรวจ Tuberculin test

มีคำสองคำที่ต้องเข้าในคือ

  • Sensitivity
  • False positive หมายถึงผลการตรวจให้ผลบวกแต่ผู้ป่วยไม่เป็นโรค
  • False negative หมายถึงผู้ป่วยเป็นโรควัณโรคและการตรวจให้ผลลบ ซึ่งพบได้ร้อยละ 25

ปัจจัยที่ทำให้เกิด False negative หมายถงเป็นวัณโรคแต่การตรวจผิวหนังให้ผลลบได้แก่ ผู้ที่ขาดอาหาร หรือคนที่แข็งแรง และมีการติดเชื้ออย่างรุนแรงหรือเป็นผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำภาวะต่างๆได้แก่

ปัจจัยเกี่ยวกับตัวผู้ป่วย

  • การติดเชื้อไวรัส เช่น (measles, mumps, chicken pox, HIV)
  • การติดเชื้อแบคทีเรียเช่น ไข้ไทฟอยด์ ไข้รากสาดน้อย โรคเลื้อน เป็นวัณโรคชนิดรุนแรง
  • การติดเชื้อไวรัส Fungal (South American blastomycosis)
  • การฉีดวัคซีน เช่น (measles, mumps, polio, varicella)
  • โรคไตเรื้อรัง
  • ภาวะที่ขาดอาหารอย่างรุนแรง
  • โรคที่เกี่ยวข้องกับการสร้างภูมิ เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
  • ยากดภูมิคถ้มกัน เช่น corticosteroids and many other immumosuppressive agents)
  • อายุโดยเฉพาะ ทารก คนแก่
  • ความเครียดจากโรคต่างๆเช่น การผ่าตัด ไฟไหม้
  • ยาเสื่อมสภาพ
  • การผสมหรือเจือจางยาไม่ถูกต้อง
  • มีการปนเปื้อนของยา

 

ปัจจัยเกี่ยวกับการฉีด

  • ใช้ยาน้อยไป
  • ฉีดเข้าไปในชั้นไขมัน
  • ใช้เวลานานไปหลังจากการเตรียมยา
  • ฉีดยาใกล้การทอสอบอย่างอื่น

ปัจจัยเกี่ยวข้องการอ่านผล

  • ผู้อ่านหรือผู้แปลผลไม่มีประสบการณ์
  • การบันทึก

ความสำคัญของวัณโรค การติดต่อ ผู้ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ การวินิจฉัยโรค การทดสอบผิวหนัง วัณโรคนอกปอด วัณโรคดื้อยา ยาและการจัดการกับวัณโรค การรักษาวัณโรค การให้ยาแบบ DOT การรักษาวัณโรคในภาวะพิเศษ วัณโรคในเด็ก เอดส์และวัณโรคการป้องกันวัณโรค การฉีดวัคซีน BCG วัณโรค

ทบทวนวันที่

โดย นายแพทย์ ประพันธ์ ปลื้มภาณุภัทร อายุรแพทย์,แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว

Google
 

เพิ่มเพื่อน