การจัดบริการรักษาผู้ป่วยวัณโรค (Organization of tuberculosis treatment unit)
จำเป็นต้องมี โดยประกอบด้วยมาตรการดัง ต่อไปนี้
- มีหน่วยงานหรือผู้รับผิดชอบแน่นอน
- มีการขึ้นทะเบียนผู้ป่วยใน TB Registered book (รบ 1 ก.04) การนัดหมาย/การมาติดต่อ รับการรักษาแต่ละครั้ง/ช่วงที่เหมาะสม เช่น ไม่เกิน เดือนละครั้ง ฯลฯ ตลอดจนการบันทึกผลการตรวจ ติดตามผู้ป่วย มีการตรวจสอบการมารับการรักษา ตามนัดและมีมาตรการติดตามถ้าผู้ป่วยผิดนัด เช่น โดยใช้โทรศัพท์ จดหมาย แจ้งให้หน่วยงานใกล้ที่อยู่ ผู้ป่วยช่วยติดตามโดยไม่ชักช้าในระยะเข้มข้นผิดนัด 2 วัน ต้องตามทันที, ในระยะต่อเนื่อง ผิดนัด 7 วัน ตามทันที
- ให้สุขศึกษาแก่ผู้ป่วยและครอบครัว ให้ เข้าใจถึงความจำเป็นในการรักษา โดยสม่ำเสมอ และครบถ้วน
- มีการเตรียมยาให้ผู้ป่วยกินได้โดยง่าย และสะดวก เช่น รวมยาหลายขนานไว้ในซองตาม ขนาดกินครั้งเดียวต่อวัน หรือการใช้เม็ดยาที่รวม 2 หรือ 3 หรือ 4 ขนาน (Fixed-dose combination) ที่ได้ มาตรฐานในการผลิตและมีการศึกษา Bioavailability ในคนโดยถูกต้องจากสถาบันที่เชื่อถือได้
- มียารักษาวัณโรคที่มีคุณภาพมาตร ฐานสำหรับจ่ายสม่ำเสมอโดยไม่ขาดแคลน และ คอยป้องกันมิให้ผู้ป่วยมีปัญหาในการไม่อาจมารับ การรักษาได้สม่ำเสมอ เพราะไม่มีเงินค่ายา โดย พร้อมที่จะจ่ายยาให้แก่ผู้ป่วยโดยไม่ต้องเก็บเงินค่า ยา/ค่าตรวจรักษา
- ให้ความสะดวกแก่ผู้ป่วยในเรื่องเวลา ให้บริการ พิธีการต่างๆ ไม่ยุ่งยากผู้ป่วยไม่ควรรอ นาน "บริการประทับใจ" (การแสดงความห่วงใยและ การให้บริการที่ดีของหน่วยบริการ เช่น การช่วยแก้ ปัญหาอุปสรรคของผู้ป่วยในการมารับการรักษา การ แจ้งผลก้าวหน้าในการรักษา ฯลฯ) เป็นปัจจัยสำคัญ อีกข้อหนึ่งที่จูงใจให้ผู้ป่วยมารับการรักษาสม่ำเสมอ
- มีระบบส่งต่อผู้ป่วยที่มีประสิทธิภาพ เช่น การส่งต่อไปยังสถานบริการที่อยู่ใกล้บ้านผู้ป่วย เป็นต้น
- ต้องพยายามให้ผู้ป่วยวัณโรคทุกราย หรืออย่างน้อย ผู้ป่วยที่ตรวจเสมหะพบเชื้อวัณโรค ด้วยกล้องจุลทรรศน์ได้รับการรักษา โดยควบคุมการ กินยาเต็มที่ (Fully supervised therapy) หรือกินยา ระบบยาระยะสั้นภายใต้การสังเกตโดยตรง (Directly observed treatment short course-DOTS) ของเจ้า หน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัคร หรือผู้นำชุมชน หรือ สมาชิกครอบครัวผู้ป่วยเองที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาโดยครบถ้วนและป้องกัน การเกิดดื้อยาของเชื้อโรค
ปัจจุบันมียารักษาวัณโรคที่มีประสิทธิภาพ ดี สามารถรักษาให้โรคหายขาดได้ การรักษาจะได้ ผลดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับ
- การใช้ยาอย่างถูกต้อง
- การที่ผู้ป่วยได้กินยาโดยครบถ้วน ยาที่แนะนำให้ใช้มีหลายขนาน (ตารางที่ 1) โดยต้องให้ยาครั้งละหลายขนานตามระบบยาที่แนะ นำซึ่งได้รับการพิสูจน์แล้วว่าได้ผลดีในการรักษา เพื่อ ให้ยาสามารถทำลายเชื้อที่อยู่ในพยาธิสภาพได้หมด และที่สำคัญห้ามใช้ยา, เพิ่มยา หรือเปลี่ยนยาทีละ ขนาน
ตารางที่ 1 ยารักษาวัณโรคที่มีประสิทธิภาพดี
ชื่อ |
ใช้ยาทุกวัน |
ให้ยาสัปดาห์ละ 3 ครั้ง (สำหรับผู้ใหญ่) |
ฤทธิ์ข้างเคียงที่ สำคัญ |
ผู้ใหญ่ |
เด็ก |
Isoniazid (H) |
300 มก./วัน |
5(4-6) มก./กก./วัน |
10(8-12) มก./กก. |
ตับอักเสบ |
Rifampicin (R) |
>50กก.ให้ 600 มก./วัน
<50กก.ให้ 450 มก./วัน |
10(8-12) มก./กก./วัน |
10(8-12) มก./กก. |
ตับอักเสบ อาการ คล้ายไข้หวัดใหญ่ ถ้าให้ยาสัปดาห์ละ 2 ครั้ง |
Streptomycin (S) |
>50 กก.ให้ 1 กรัม/วัน
< 50 กก.ให้ 0.75 กรัม/วัน |
15(12-18) มก./กก./วัน ไม่เกินวันละ 1 กรัม |
15(12-18) มก./กก. |
หูตึง เสียการทรงตัว |
Pyrazinamide (Z) |
20-30 มก./กก./วัน |
25(20-30) มก./กก./วัน |
35(30-40) มก./กก. |
ตับอักเสบ ผิวหนังเกรียม แพ้แดด ปวดมือ |
Ethambutol (E) |
15-25 มก./กก./วัน |
15(15-20) มก./กก./วัน |
30(25-30) มก./กก. |
ตามัว และอาจตาบอดได้ |
** หมายเหตุ : มก. = มิลลิกรัม กก. = กิโลกรัม
นอกจากนี้ยังมียาสำรองบางชนิดที่หาซื้อได้ยาก ราคาแพง ประสิทธิภาพปานกลางหรือต่ำ และมี ฤทธิ์ข้างเคียงสูง (ตารางที่ 2)
ตารางที่ 2 ยาสำรอง (ที่มีจำหน่ายในประเทศไทย)
|
ขนาด |
ผลข้างเคียง |
1) Thiacetazone |
150 มก./วัน |
เบื่ออาหาร ผื่นคัน ตับอักเสบ |
2) Amikacin |
15 มก./กก./วัน |
หูตึง เสียการทรวงตัว |
3) Kanamycin |
15 มก./กก./วัน |
หูตึง เสียการทรงตัว |
4) Ofloxacin |
400-600 มก./วัน |
คลื่นไส้ ปวดศีรษะ |
5) Levofloxacin |
400-600 มก./วัน |
คลื่นไส้ ปวดศีรษะ |
6) Ciprofloxacin |
750-1000 มก./วัน |
คลื่นไส้ ปวดศีรษะ |
7) PAS |
8-12 กรัม/วัน |
คลื่นไส้ แน่นท้อง ท้องเสีย เป็นผื่น |
8) Cycloserine |
500-750 มก./วัน |
บวม อารมณ์ผันผวน จิตประสาท ชัก |
** หมายเหตุ : มก. = มิลลิกรัม กก. = กิโลกรัม
นำมาจาก แนวทางการวินิจฉัยและรักษาวัณโรคในประเทศไทย พิมพ์ครั้งที่ 2 (ฉบับปรับปรุง)
ความสำคัญของวัณโรค การติดต่อ ผู้ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ การวินิจฉัยโรค การทดสอบผิวหนัง วัณโรคนอกปอด วัณโรคดื้อยา ยาและการจัดการกับวัณโรค การรักษาวัณโรค การให้ยาแบบ DOT การรักษาวัณโรคในภาวะพิเศษ วัณโรคในเด็ก เอดส์และวัณโรคการป้องกันวัณโรค การฉีดวัคซีน BCG วัณโรค
ทบทวนวันที่
โดย นายแพทย์ ประพันธ์ ปลื้มภาณุภัทร อายุรแพทย์,แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว