การป้องกันวัณโรค Tuberculosis prevention
โรควัณโรคเป็นโรคติดต่อที่ป้องกันได้ โดยการให้ความรู้แก่ญาติ และตัวผู้ป่วยเกี่ยวกับวิธีการติดต่อ เช่นใช้ผ้าเช็ดหน้าปิดปากปิดจมูกเวลาไอหรือจาม หรือผู้ที่เป็นโรคให้สวมหน้ากากอนามัย เวลาไอให้ไอกลางแจ้ง จัดห้องที่พักสำหรับผู้ป่วยให้แสงแแดเข้าถึง อากาศถ่ายเทอย่างดี
ผู้ป่วยที่ตรวจเสมหะพบเชื้อควรจะหยุดทำงานประมาณ 2 สัปดาห์ และที่สำคัญที่สุดต้องรับประทานยาให้ครบตามแพทย์สั่ง
นอกจากนั้นผู้ที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย ควรจะได้รับการประเมินว่ามีความจำเป็นที่จะต้องได้รับยาเพื่อป้องกันวัณโรค
ผู้ที่สัมผัสผู้ป่วยวัณโรคที่สมควรได้รับยาวัณโรคเพื่อป้องกันได้แก่
- ผู้ที่สัมผัสโรคและการทดสอบผิวหนังให้ผลบวก
- การทดสอบผิวหนังให้ผลบวก และตรวจรังสีปอดพบรอยโรค
- ผู้ป่วยเอดส์และการทดสอบผิวหนังให้ผลบวก
- ผู้ทดสอบผิวหนังผลเป็นบวกและมีโรคที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อวัณโรค
- ผู้ที่ผลทดสอบผิวหนังบวกหลังจากครั้งแรกให้ผลลบ
- ผู้ทดสอบผิวหนังบวกในรายที่ติดยาเสพติด
ยาที่แพทย์ให้สำหรับป้องกันวัณโรคคือ INH , Rifampicin โดยให้ยา 6-12 เดือน
จะป้องกันตัวเองมิให้เป็นวัณโรคได้อย่างไร
- รักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ ออกกำลังบ่อยๆ รับประทานอาหารให้ครบหมู่
- หลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้เกิดโรค เช่น ห้ามสำส่อนทางเพศ ห้ามติดยาเสพติด
- ดูแลผู้ป่วยวัณโรคให้รับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ
- แนะนำการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยวัณโรค
- ตรวจรังสีปอดปีละครั้ง
ความสำคัญของวัณโรค การติดต่อ ผู้ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ การวินิจฉัยโรค การทดสอบผิวหนัง วัณโรคนอกปอด วัณโรคดื้อยา ยาและการจัดการกับวัณโรค การรักษาวัณโรค การให้ยาแบบ DOT การรักษาวัณโรคในภาวะพิเศษ วัณโรคในเด็ก เอดส์และวัณโรค การป้องกันวัณโรค การฉีดวัคซีน BCG วัณโรค