ยารักษาวัณโรค Isoniazid

หากเกิดอาการดังต่อไปนี้ให้หยุดยาและปรึกษาแพทย์

  • มีอาการแพ้ยาเช่น ปาก ริมฝีปากบวม หายใจลำบาก หายใจเสียงดัง มีผื่นลมพิษ
  • อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร แน่ชายโครง ตัวเหลืองตาเหลือง ปัสสาวะเข้ม
  • มีผื่น
  • ชามือชาเท้า ปลายมือปลายเท้า
  • ซึม สับสน
  • มีไข้

ข้อควรระวังในการใช้ยานี้

เนื่องจากยา   Isoniazid จะทำให้เกิดภาวะตับอักเสบได้บ่อยปัจจัยเสี่ยงของการเกิดตับอักเสบได้แก่

  • อายุ พบว่าอายุมากจะเสี่ยงต่อการเกิดตับอักเสบได้มากกว่าอายุน้อย ผู้ที่อายุมากกว่า 35 ปีจะต้องเจาะเลือดการทำงานของตับ นอกจากการถามอาการของโรคตับอักเสบ
  • จะต้องมีการเจาะเลือดตรวจการทำงานของตับก่อนให้ยา
  • การดื่มสุรา
  • ผู้หญิงผิวสี และหลังคลอด

อาการของตับอักเสบ

อาการของตับอักเสบจากยาได้แก่ เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ตัวเหลืองตาเหลือง ปัสสาวะสีเข้ม ชาปลายมือปลายเท้า อ่อนเพลีย เจ็บชายโครงขวา หากอาการมากกว่า 3 วันให้พบแพทย์

ข้อบ่งชี้ในการใช้ยา

  1. ยานี้ใช้รักษาวัณโรคโดยใช้ร่วมกับยาอื่น
  2. และใช้ป้องกันในผู้ที่สัมผัสกับเชื้อวัณโรค

การใช้ยา INH เพื่อป้องกันวัณโรค

จะใช้ INH เพื่อป้องกันวัณโรคในผู้ที่ที่ทดสอบทางผิวหนังแล้วให้ผลบวกในกรณีดังต่อไปนี้

  • ผู้ป่วยโรคเอดส์ที่ทดสอบทางผิวหนังให้ผลบวกตั้งแต่ 5 มมขึ้นไป
  • ผู้ที่สัมผัสกับผู้ป่วยที่รายใหม่ที่ผลทดสอบทางผิวหนังให้ผลบวกตั้งแต่ 5 มม ขึ้นไป สำหรับเด็กที่ผลตรวจผิวหนังน้อยกว่า 5 มมและอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยวัณโรคก็สมควรได้ยาป้องกัน และให้ตรวจทดสอบทางผิวหนังซ้ำหากขนาดมากว่า 5 มมก็ให้ยาต่อจนครบ 1 ปี
  • ผู้ที่มีการเปลี่ยนแปลงของการตรวจทางผิวหนังRecent converters หากอายุน้อยกว่า 35 ปีหากการตรวจสอบทางผิวหนังมากกว่า 10 มมในการตรวจห่างกัน 2 ปี หรืออายุมากกว่า 35 ปีต้องมีขนาดใหญ่กว่า 15 มม สำหรับเด็กที่อายุน้อยกว่า 4 ขวบหากผลการตรวจผิวหนังพบว่าขนาดใหญ่กว่า 10 มม ก็ต้องให้ยา
  • ผู้ที่มีผลการตรวจรังสีทรวงอกผิดปกติ และผลการตรวจผิวหนังมีขนาดมากกว่า 5 มม
  • ผู้ที่ฉีดยาเสพติดเข้าเส้นมีผลการตรวจผิวหนังมากกว่า 10 มม
  • ผู้ที่มีโรคดังต่อไปนี้ silicosis  เบาหวาน ผู้ที่ใช้ยา steroid ยากดภูมิคุ้มกัน โรคมะเร็ง โรคไตวาย หากผลการตรวจผิวหนังมีขนาดมากกว่า 10 มม ก็ให้ยา

ขนาดยาและวิธีใช้

โดยทั่วไปผู้ใหญ่รับประทานครั้งละ 300 มก. วันละครั้งก่อนอาหาร ระยะเวลารักษาตามแพทย์สั่ง ควรรับประทานยาเวลาเดียวกัน

ผลข้างเคียงของยา

  1. ตับอักเสบ โดยผู้ป่วยบางรายอาจมีการทำงานของตับผิดปกติ ซึ่งจะตรวจพบว่ามีระดับ เอนไซม์ทรานซ์อะมิเนสสูงขึ้นโดยที่ไม่มีอาการแสดง พบได้ร้อยละ 10-20 ของผู้ป่วยที่ได้รับยา ไอ โซไนอะซิด นอกจากนี้พบว่าความเสี่ยงในการเกิดตับอักเสบเพิ่มขึ้นเมื่อผู้ป่วยได้รับยาไรแฟมพิ ซินร่วมด้วย หรือมีประวัติเป็นโรคตับอยู่เดิม หรือผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มที่มี แอลกอฮอล์ในปริมาณมาก ซึ่งอาการแสดงของผู้ป่วยที่มีภาวะตับอักเสบ ได้แก่ อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ตัวเหลือง และตาเหลือง เป็นต้น
  2. อาการชาปลายประสาท ซึ่งแปรผันตามขนาดยาที่ได้รับ และโอกาสเกิดอาการชาปลายประสาท เพิ่มขึ้นในผู้ป่วยที่มีภาวะต่างๆ ได้แก่ ขาดสารอาหาร เบาหวาน ติดเชื้อเอชไอวี ไตวาย บริโภค เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในปริมาณมากเป็นประจำ ซึ่งสามารถป้องกันการเกิดอาการชาปลาย ประสาทจากยาไอโซไนอะซิดได้ด้วยการให้วิตามินบี 6 (Pyridoxine) ขนาด 15-50 มิลลิกรัมต่อวัน
  3. อาการข้างคียงต่อระบบผิวหนัง เช่น ผื่น (ร้อยละ 2) สิว ผิวหนังลอก
  4. อาการข้างเคียงต่อระบบเลือด เช่น โลหิตจาง เม็ดเลือดขาวต่ำ
  5. อาการข้างเคียงต่อระบบทางเดินอาหาร เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย หมายเหตุ ผู้ที่ขาดอาหาร ผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์ ผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ดื่มสุราจัด ควรให้วิตามินบี 6 (Pyridoxine) ขนาด 15-50 มิลลิกรัม/วัน ร่วมด้วย

ข้อควรระวัง

การให้ยา  isoniazid ควรจะติดตามใกล้ชิดในภาวะดังต่อไปนี้

  1. การดื่มสุราในขณะยังรับประทานยาอาจจะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดตับอักเสบ
  2. ผู้ที่มีโรคตับหรือโรคไตอยู่เก่า
  3. อายุมากกว่า 35 ปี
  4. ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวและใช้ยาหลายชนิดร่วมกัน
  5. การใช้ยา isoniazid ซ้ำ
  6. ผู้ที่มีปลายประสาทอักเสบอยู่
  7. การตั้งครรภ์
  8. ติดยาเสพติด
  9. หลังคลอด
  10. ผู้ที่เป็นโรคเอดส

ความปลอดภัยของยานี้ในสตรีมีครรภ์ สำหรับสตรีมีครรภ์ ยานี้จัดอยู่ในประเภท c เก็บยาอย่างไร     

เก็บยาในภาชนะที่บรรจุมา ปิดให้สนิท และพ้นมือเด็ก เก็บที่อุณหภูมิห้องในที่แห้ง ไม่ถูกความร้อนและแสงโดยตรง