วัณโรคนอกปอด

การวินิจฉัยวัณโรคนอกปอดจะยากกว่าวัณโรคที่เกิดในปอดเนื่องจากอาการไม่ชัดเจน ตำแหน่งที่เกิดก็ตรวจหาเชื้อลำบาก เชื้อที่เกิดก็มีปริมาณน้อยทำให้ตรวจพบลำบาก และแพทย์ก็ไม่คุ้นเคย การวินิจฉัยอาศัยหลักการเช่นเดียวกับวัณโรคปอด ต้องตรวจพบเชื้อวัณโรคจึงจะเป็นการวินิจฉัยโรคที่ แน่นอน เนื่องจากวัณโรคของอวัยวะนอกปอดมี จำนวนเชื้อวัณโรคน้อย โอกาสที่จะตรวจพบเชื้อจึงมี น้อยกว่า การวินิจฉัยโรคส่วนใหญ่อาศัยการตรวจชิ้น เนื้อทางพยาธิวิทยา การตรวจน้ำที่เจาะได้จาก อวัยวะต่างๆ ร่วมกับอาการและอาการแสดงที่เข้าได้ กับวัณโรคเป็นเครื่องช่วยในการวินิจฉัย



เกณฑ์การวินิจฉัยวัณโรคนอกปอด

  1. ผู้ป่วยที่มีอากรทางคลินิกและผลการตรวจทาง ห้องปฏิบัติการเข้าได้กับวัณโรคนอกปอด
  2. ผู้ป่วยที่มีผลการตรวจทางพยาธิวิทยาเข้าได้ กับวัณโรคนอกปอด
  3. ผู้ป่วยที่มีผลการเพาะเชื้อจากสิ่งส่งตรวจพบ เชื้อวัณโรค

1.วัณโรคแพร่กระจาย Disseminated tuberculosis

หมายถึงภาวะที่ภูมิของร่างการไม่สามารถจำกัดเชื้อไว่บริเวณใดบริเวณหนึ่ง เชื้อวัณโรคจะแพร่กระจายไปยังอวัยวะต่างๆ ดังนั้นอาการของโรคจึงไม่เฉพาะ อาการส่วนใหญ่ได้แก่ ไข้ น้ำหนักลด เหงื่อออก เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย อาจจะมีอาการไอเป็นบางราย ตรวจร่างกายอาจจะปกติ ตับอาจจะโต ต่อมน้ำเหลืองอาจจะโต ลักษณะของรังสีทรวงอกจะมีลักษณะเฉพาะซึ่งพบไดร้อยละ ้50-98 ของผู้ป่วย ดูภาพที่นี่

2.วัณโรคต่อมน้ำเหลือง

มักจะเป็นต่อมน้ำเหลืองที่คอโดยมากมักจะเป็นข้างเดียว แรกๆจะไม่เจ็บและไม่มีการอักเสบ แต่เมื่อไม่รักษาก็จะแตกเป็นหนอง แผลจะหายช้า ต่อมน้ำเหลืองที่ขั้วปอดอาจจะมีการอักเสบและโตซึ่งกดหลอดลมทำให้ปอดแฟบได้ หากมีไข้อาจจะมีวัณโรคที่อื่น ผู้ป่วยโรคเอดศืที่มีต่อมน้ำเหลืออักเสบอาจจะมีวัณโรคปอดได้ร้อยละ 5-70

3.วัณโรคเยื่อหุ้มปอด

กลไกการเกิดวัณโรคปอดมีได้สองวิธีคือ

  1. เชื้อวัณโรคปริมาณเล็กน้อยเข้าสู่เยื่อหุ้มปอด ร่างกายก็สร้างภูมิต่อต้านเชื้อ และเกิดปฎิกิริยาภูมิแพ้ทำให้เกิดน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีอาการ สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการจะมีไข้ เจ็บหน้าอก หากมีน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอดมากอาจจะมีอาการหอบเหนื่อย ผู้ป่วยร้อยละ 30 ของผู้ป่วยวัณดรคเยื่อหุ้มปอดจะไม่พบจากการตรวจทางรังสี แต่อย่างไรก็ตามผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีเชื้อวัณโรคในปอดจากการตรวจชิ้นเนื้อปอด
  2. ชนิดที่2เกิดจากเชื้อปริมาณมากซึ่งอาจจะเกิดจากแตกของโพรงหนองเข้าในช่องเยื่อหุ้มปอด ทำให้เกิดหนองในช่องเยื่อหุ้มปอด Empyema ส่วนใหญ่จะพบวัณโนคปอดร่วมด้วย

4.วัณโรคทางเดินปัสสาวะ

ผู้ป่วยมักจะมีอาการปัสสาวะบ่อย ปวดปัสสาวะ ปัสสาวะมีัเลือด อาจจะมีอาการเจ็บเอวร่วมด้วย สำหรับผู้หญิงก็อาจจะมีอาการปวดประจำเดือน ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ หรือเป็นหมัน ส่วนผู้ชายก็อาจจะมีก้อนที่อัณฑะ การวินิจฉัยส่วนใหญ่จะได้จากการตรวจปัสสาวะพบมีเม็ดเลือดขาวแต่ไม่มีเชื้อแบคทีเรีย เมื่อนำปัสสาวะมาเพาะเชื้อวัณโรคก็อาจจะพบเชื้อวัณโรค หรือตรวจภาพรังสีทรวงอกก็อาจจะพบความผิดปกติได้ร้อยละ 40-75

5.วัณโรคกล้ามเนื้อและกระดูก

ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่เป็นวัณโรคกระดูกหรือข้อมักจะไปพบแพทย์ด้วยเรื่องปวดและเคลื่อนไหวลำบาก โดยเฉพาะในเด็กต้องวินิจฉัยให้เร็วเพราะเชื้ออาจจะทำลายการเจริญของกระดูกซึ่งอาจจะทำให้เกิดการพิการ และหากเป็นที่กระดูกสันหลังก็อาจจะทำให้กดไขสันหลังและพิการ



6.วัณโรคเยื่อหุ้มสมอง

เป็นภาวะที่มีความรุนแรงมากซึ่งอาจจะทำให้เกิดความพิการ เชื้อสามารถเข้าสู่สมองได้โดยสองวิธีคือ เชื้อที่มาตามกระแสเลือดเนื่องมาจากการติดเชื้อครั้งแรกหรือจากการที่เชื้อจากปอด หรือเกิดจากเชื้อที่ในสมองแตกเข้าเยื่อหุ้มสมอง ผู้ป่วยจะมีไข้ ปวดศรีษะเวลาเบ่งอุจาระหรือไรจะปวดมากขึ้น หากไม่ได้รักษาผู่ป่วยจะซึมลง การวินิจฉัยนอกจากประวัติแล้วหากตรวจร่างกายจะพบว่ามีอาการคอแข็งร่วมด้วย หากสงสัยต้องมีการเจาะหลังเอาน้ำไขสันหลังออกมาตรวจ ผู้ป่วยวัณโรคเยื่อหุ้มสมองมักจะมีวัณโรคปอดร่วมด้วยร้อยละ 50

7.วัณโรคในช่องท้อง

อวัยวะในช่องท้องเป็นวัณโรคได้ทุกตำแหน่ง ตั้งแต่ปากจรดทวารหนัก แต่ตำแหน่งที่พบได้บ่อยคือบริเวณลำไส้เล็กต่อกับลำไส่ใหญ่ที่เรียกว่า caecum ผู้ป่วยมักจะพบแพทย์ด้วยเรื่องปวดท้องหรือคลำได้ก้อนบริเวณท้องน้อยซึ่งอาจจะเหมือนอาการของโรคมะเร็ง การวินิจฉัยทำได้โดยการผ่าเอาชิ้นเนื้อไปตรวจ

นอกจากนั้นเชื้อวัณโรคยังสามารถเกิดที่เยื่อบุช่องท้องที่เรียกว่า peritoneum ทำให้เกิดการอักเสบ ผู้ป่วยจะมาด้วยเรื่องปวดท้องทั่วไป ท้องบวมขึ้น ไข้ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ท้องมารมีน้ำในช่องท้อง การวินิจฉัยทำได้โดยการเจาะน้ำในช่องท้องออกมาวินิจฉัย

8.วัณโรคเยื่อหุ้มหัวใจ

อาการของผู้ป่วยวัณโรคเยื่อหุ้มหัวใจก็จะมีไข้เบื่ออาหาร น้ำนักลดเหมือนวัณโรคทั่วไปแต่จะมีอาการเจ็บหน้าอก หากมีน้ำในช่องหัวใจมากก็จะมีอาการของหบเหนื่อยและบวมหลังเท้า การวินิจฉัยทำได้โดยการตรวจภาพรังสีทรวงอกพบว่าหัวใจโต ตรวจคลื่นเสียงหัวใจ 2D Echocardiography พบว่ามีน้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ และต้องเจาะเอาน้ำไปตรวจ

การรักษาวัณโรคนอกปอด

ให้การรักษาเหมือนวัณโรคปอด ยกเว้นการ รักษาวัณโรคเยื่อหุ้มสมองให้ใช้เวลารักษา 9-12 เดือน

ความสำคัญของวัณโรค การติดต่อ ผู้ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ การวินิจฉัยโรค การทดสอบผิวหนัง วัณโรคนอกปอด วัณโรคดื้อยา ยาและการจัดการกับวัณโรค การรักษาวัณโรค การให้ยาแบบ DOT การรักษาวัณโรคในภาวะพิเศษ วัณโรคในเด็ก เอดส์และวัณโรคการป้องกันวัณโรค การฉีดวัคซีน BCG วัณโรค

ทบทวนวันที่

โดย นายแพทย์ ประพันธ์ ปลื้มภาณุภัทร อายุรแพทย์,แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว

Google
 

เพิ่มเพื่อน