การฉีดวัคซีนบีซีจี BCG

การฉีดวัคซีนบีซีจี BCGเป็นวัคซีนที่ทำจากเชื้อ bacille Calmette-Guerin มักจะฉีดในประเทศที่มีอัตราการติดเชื้อวัณโรคค่อนข้างสูง จุดประสงค์เพื่อป้องการติดเชื้อวัณโรคในเด็กและวัณโรคเยื่อหุ้มสมอง สำหรับประเทศที่ไม่มีการระบาดก็ไม่แนะนำให้ฉีดวัคซีนนี้

คำแนะนำในการฉีดวัคซีนบีซีจี BCG

สำหรับประเทศไทยมีอัตราการติดเชื้อวัณโรคค่อนข้างสูง ดังนั้นจึงแนะนำให้เด็กที่เกิดใหม่ทุกคนต้องฉีดวัคซีน

สำหรับเด็กที่ไม่ได้อยู่ในถิ่นระบาดจะแนะนำให้ฉีดในกรณีต่อไปนี้

  • อยู่กับคนที่เป็นวัณโรคที่ไม่รักษาหรือรักษาไม่ครบ
  • มีเชื้อวัณโรคดื้อต่อยา isoniazid และ rifampin.

เด็กโตและผู้ใหญ่ควรจะได้รับวัคซีน BCG เมื่อเขาเหล่านั้นเสี่ยงต่อการติดเชื้อวัณโรค

  • อายุน้อยกว่า 16 ปีมีมาจากแหล่งที่มีวัณโรค
  • อายุน้อยกว่า 16 ปีที่มีคนใกล้ชิดเป็นวัณโรค
  • ไม่เคยได้รับวัคซีนนี้มาก่อน

พนักงานประเภทใดที่ควรจะได้รับวัคซีน BCG

หากท่านอายุน้อยกว่า 35 ปี และทำงานที่เสี่ยงต่อการเกิดวัณโรคควรจะได้รับการฉีดวัคซีน BCG

  • เจ้าหน้าที่ทำงานห้องปฏิบัติการที่ต้องสัมผัส เลือด ปัสสาวะ ชิ้นเนื้อ
  • ผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับสัตว์
  • ผู้คุมนักโทษ
  • เจ้าหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุ
  • เจ้าหน้าที่ดูแลผู้ไร้ที่ผึ่ง
  • เจ้าหน้าที่ดูแลผู้อพยพ
  • เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์

การให้วัคซีนบีซีจี BCGแก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขให้พิจารณาเป็นรายๆดังนี้

  • ผู้ป่วยวัณโรคมีอัตราการติดเชื้อวัณโรคที่ดื้อต่อยา isoniazid และ rifampin ในอัตราที่สูง
  • เจ้าหน้าที่สาธารณสุขมีการติดเชื้อวัณโรค
  • มีการควบคุมวัณโรคเต็มที่แต่ยังมีการติดเชื้อวัณโรคอยู่

จะต้องฉีดวัคซีน BCG ก่อนไปประเทศใดบ้าง

ผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 16 ปีและอยู่ในประเทศที่ไม่ได้มีการฉีดวัคซีน BCG แก่เด็กจะต้องฉีดวัคซีน BCG เมื่อเดินทางและพักอยู่ประเทศนั้นเกิน 3 เดือน

  • Africa, Nigeria and South Africa 
  • ประเทศ southeast Asia India, Pakistan, Indonesia และ Bangladesh
  • Russia
  • China 
  • South America 

ข้อห้ามของการฉีดวัคซีนบีซีจี BCG

  • ผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันไม่ดี เช่นโรคเอดส์ หรือได้รับยาที่กดภูมิคุ้มกันเช่นที่ต้องการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ
  • คนท้อง
  • ผู้ที่เคยได้รับการฉีดวัคซีน BCG มาก่อน
  • ผู้ที่เคยติดเชื้อวัณโรคมาก่อน
  • ผู้ที่เคยทดสอบทางผิวหนังให้ผลบวก
  • ผู้ที่เคยแพ้วัคซีนนี้มาก่อน
  • ทารกที่คลอดมาในครอบครัวที่มีการติดเชื้อวัณโรค
  • มีแผลติดเชื้อบริเวณที่ฉีด
  • ได้รับวัคซีนชนิดอื่นภายใน 3 สัปดาห์
  • ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำเช่น ผู้ป่วนโรคเอดส์ กำลังได้รับเคมีบำบัด หรือได้รับยากดภูมิเช่นยา steroid
  • ผู้ที่เป็นมะเร็งเม็ดเลือด
  • ผู้ที่กำลังป่วยหนัก

วัคซีนนี้ไม่นิยมให้ในคนที่อายุมากกว่า 16 ปีเนื่องจากไม่ค่อยได้ผล

การทดสอบภูมิต่อเชื้อวัณโรคทางผิวหนังสำหรับผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีน BCG

ไม่แนะนำให้เจาะเลือดหรือทดสอบทางผิวหนังสำหรับการหาภูมิต่อเชื้อวัณโรคในผู้ป่วยที่ได้รับการฉีดวัคซีน BCG เนื่องจากเมื่อทดสอบทางผิวหนังก็จะให้ผลบวก(หลอก)ซึ่งจะทำให้สับสนในการวินิจฉัยโรค นอกจากนั้นการทดสอบผิวหนังให้ผลบวก หรือขนาดของปฏิกิริยาที่ผิวหนังก็ไม่ได้บ่งบอกว่าจะป้องกันวัณโรคได้ ดังนั้นจึงไม่แนะนำให้ทดสอบ

เมื่อไรจะต้องตรวจภูมิทางผิวหนังก่อนให้วัคซีน BCG

ผู้ที่ควรจะได้รับการตรวจภูมิต่อเชื้อวัณโรคก่อนการวัคซีน BCG

  • อายุมากกว่า 6 ขวบ
  • มีประวัติพัก(มากกว่า 3 เดือน)ในพื้นที่ที่มีการติดเชื้อวัณโรคสูง(อัตราการติดเชื้อมากกว่า40คนต่อ100000 คน)
  • คนใกล้ชิดเป็นวัณโรค
  • ประวันมีสมาชิกในครอบครัวเป็นวัณโรคเมื่อ5ปีที่ผ่านมา

หากการตรวจผิวหนังให้ผลลบก็สามารถฉีดวัคซีนได้

ความสำคัญของวัณโรค การติดต่อ ผู้ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ การวินิจฉัยโรค การทดสอบผิวหนัง วัณโรคนอกปอด วัณโรคดื้อยา ยาและการจัดการกับวัณโรค การรักษาวัณโรค การให้ยาแบบ DOT การรักษาวัณโรคในภาวะพิเศษ วัณโรคในเด็ก เอดส์และวัณโรคการป้องกันวัณโรค การฉีดวัคซีน BCG วัณโรค

ทบทวนวันที่

โดย นายแพทย์ ประพันธ์ ปลื้มภาณุภัทร อายุรแพทย์,แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว

Google
 

เพิ่มเพื่อน