การรักษาวัณโรคในผู้ป่วยโรคเอดส์
ลักษณะของวัณโรคที่เกิดในผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสเอดส์ ขึ้นอยู่กับสภาพความเสื่อมของภูมิคุ้มกันร่างกาย ถ้าการป่วยเป็นวัณโรคเกิดขึ้นในขณะที่ ภูมิคุ้มกันเสื่อมสภาพไม่มาก ลักษณะของวัณโรคจะ เป็นแบบ typical tuberculosis กล่าวคือ อาการแสดง และภาพรังสีทรวงอกจะเหมือนกับผู้ป่วยวัณโรคทั่วๆ ไป แต่ในผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสเอดส์ระยะสุดท้ายจะมี อาการแสดงของวัณโรคนอกปอด (extrapulmonary tuberculosis) เช่น วัณโรคเยื่อหุ้มปอด วัณโรค ต่อมน้ำเหลือง วัณโรคเยื่อหุ้มหัวใจ และวัณโรคแพร่กระจาย ได้มากกว่า นอกจากนี้ภาพรังสีทรวงอกอาจ พบต่อมน้ำเหลืองในทรวงอกโต รอยโรคที่ปอดด้าน ล่าง และไม่ค่อยพบโพรงแผล (cavity) |
การวินิจฉัยและรักษาวัณโรคในผู้ป่วยโรค เอดส์ให้ปฏิบัติเหมือนกับการรักษาในคนปกติ กล่าว คือ ใช้สูตรยา 2HRZE/4HR ได้ แต่ให้ระมัดระวังเรื่อง การแพ้ยา เพราะผู้ป่วยเหล่านี้จะมีโอกาสเกิดการแพ้ ยาทั้งทางด้านผิวหนังและตับอักเสบได้ง่ายกว่าคน ปกติ การรักษาวัณโรคในผู้ป่วยโรคเอดส์ เนื่อง จากยา rifampicin (ไรแฟมปิซิน) มีปฏิกิริยากับยา ต้านไวรัสเอดส์กลุ่ม protease inhibitors (PI) และ non-nucleoside reverse transcriptase inhibitor (NNRTI) ซึ่งทำให้ระดับของยา rifampicin สูงขึ้น และระดับยาของกลุ่ม PI และ NNRTI ลดลงอย่าง มาก แต่ไม่มีปฏิกิริยากับยาต้านไวรัสเอดส์กลุ่ม nucleoside reverse transcriptase inhibitor (NRTI) ที่ มีจำหน่ายในประเทศไทย การรักษาวัณโรคแนะนำ ให้
- ในผู้ป่วยวัณโรคใหม่ควรจะให้การรักษา สูตรเหมือนกับผู้ป่วยวัณโรคปกติ การให้ยาต้านไวรัส เอดส์ให้ใช้ยากลุ่ม NRTI โดยหลีกเลี่ยงยากลุ่ม PI
- ในผู้ป่วยวัณโรคใหม่ที่ได้รับยาต้านไวรัส เอดส์อยู่โดยไม่มียากลุ่ม PI และยากลุ่ม NNRTI ให้ การรักษาวัณโรคโดยสูตรยาเช่นเดียวกับผู้ป่วยวัณ โรคปกติ
- ในผู้ป่วยวัณโรคที่ได้รับยาต้านไวรัสเอดส์ กลุ่ม PI หรือ NNRTI อยู่หรือผู้ป่วยมีความประสงค์ที่ จะได้รับยาต้านไวรัสเอดส์กลุ่ม PI หรือยากลุ่ม NNRTI พร้อมกัน การรักษาควรจะให้สูตรยา 2SHZE/7S3H3Z3 หรือ 2HSE/16HE หรือ 2HZE/16HE (ไม่มี rifampicin)
การให้ INH chemoprophylaxis ในผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสเอดส์
ผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อไวรัสโรคเอดส์ และมีการติดเชื้อวัณโรคร่วมด้วย จะมีโอกาสที่จะกำเริบ เป็นวัณโรคลุกลามได้มากกว่าผู้ป่วยที่ไม่ได้ติดเชื้อไวรัสโรคเอดส์ การให้ INH เพื่อป้องกันการกำเริบของ วัณโรคจะช่วยลดการแพร่กระจายของวัณโรค และทำให้ภูมิต้านทานของผู้ป่วยเสื่อมถอยช้าลง เนื่อง จากผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อไวรัสโรคเอดส์นั้น มีอัตราการรักษาวัณโรคไม่สม่ำเสมอสูง ดังนั้นจึงควรให้ INH ป้องกันการกำเริบของวัณโรคเฉพาะในสถาบัน หรือโรงพยาบาลที่มีโครงการให้ INH ชัดเจน มี TB Clinic ที่มีประสิทธิภาพมาก ต้องมีระบบให้สุขศึกษาแนะแนวแก่ผู้ป่วยที่ดี และการให้ INH เพื่อป้องกันการกำเริบของวัณโรค จะต้องเป็นไปโดยความสมัครใจของผู้ป่วยเอง และจะดีที่สุดถ้าให้ยา INH ภายใต้ระบบ DOPT=(Directly Observed Preventive Therapy)
ผู้ป่วยที่สมควรจะให้ INH เพื่อป้องกันการกำเริบของวัณโรค จะต้องเป็นผู้ป่วยที่ไม่มีวัณโรค ระยะลุกลาม จากอาการทางคลินิก ภาพรังสีทรวงอกและผลการตรวจเสมหะ มีการทดสอบแล้วยืนยัน ว่ามีการติดเชื้อไวรัสโรคเอดส์ มีผลการทดสอบทุเบอร์คุลินมากกว่าหรือเท่ากับ 5 มิลิเมตร
การป้องกัน
จะแนะนำให้ INH 300 มิลิกรัมต่อวันเป็นระยะ เวลา 6-12 เดือน
ความสำคัญของวัณโรค การติดต่อ ผู้ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ การวินิจฉัยโรค การทดสอบผิวหนัง วัณโรคนอกปอด วัณโรคดื้อยา ยาและการจัดการกับวัณโรค การรักษาวัณโรค การให้ยาแบบ DOT การรักษาวัณโรคในภาวะพิเศษ วัณโรคในเด็ก เอดส์และวัณโรค การป้องกันวัณโรค การฉีดวัคซีน BCG