การดูแลตัวเองที่บ้าน

 

  • รวบรวมคำแนะนำสำหรับการดูแลตัวเอง หากเกิดข้อสงสัยสามารถค้นหาอ่านได้
  • รวบรวมรายชื่อยาที่รับประทาน วิธีรับประทาน ขนาดที่รับประทาน ยาที่รับประทานอาจจะไม่เหมือนยารับประทานก่อนผ่าตัด
  • รวบรวมรายชื่อแพทย์ประจำตัวท่าน แพทย์โรคหัวใจที่ดูแลท่านพร้อมเบอร์โทรที่จะติดต่อ

    การดูแลแผล

    ต้องตรวจดูแผลผ่าตัดทุกวัน ต้องปฏิบัติตามข้อห้ามโดยเคร่งครัด

    • อาบน้ำอุ่นทุกวัน
    • ใส่น้ำยาฆ่าเชื้อที่แผล เช่น povidone-iodine หลังอาบน้ำ
    • ตรวจดูแผลทุกวัน
    • รายงานแพทย์หากมีอาการปวดแผล แผลบวม หรือมีไข้

ข้อห้าม

  • นำไหมหรือผ้าออกจากแผลโดยไม่ได้รับอนุญาติ
  • อาบน้ำในช่วงแรก ให้เช็ดตัว
  • ห้ามขัดหรือถูบริเวณแผล
  • ห้ามใส่โลชั่น หรือแป้งบริเวณแผล
  • ไม่ให้แผลเจอแสงแดด

ทรวงอก

เนื่องจากแพทย์จะต้องผ่าแยกกระดูกทรวงอกจากกัน แพทย์จะใช้ลวดมัดให้กระดูกชนกันซึ่งใช้เวลา 4-6สัปดาห์จึงจะแข็งแรงดังนั้นในระยะเวลาดังกล่าวไม่ควรที่จะใช้งานทรวงอกมากเกินไป โดยเฉพาะ

  • การยกของหนัก 2-3 กิโลกรัม เช่นอุ้มเด็ก ตะกร้าผ้า รถจักรยานเป็นต้น
  • การขับรถหากเกิดอุบัติเหตุก็จะทำให้แผลแยกได้

การดูแลแขนและขา

สำหรับผู้ที่ใช้เส้นเลือดจากขาหรือแขน แขนหรือขาท่านจะมีอาการบวมซึ่งต้องใช้เวลาในการปรับตัว วิธีการปฏิบัติตัว

  • ยกแขนหรือเท้าให้สูง
  • ใส่ถุงมือหรือถุงเท้ารัดเพื่อป้องกันมิให้บวม

การรับประทานยา

เนื่องจากหลังผ่าตัดอาจจะมีการปรับยาดังนั้นจะต้องมีรายชื่อยาพร้อมรายลัเอียด

  • ชื่อยาและขนาดที่รับประทาน
  • ทานวันละกี่ครั้งครั้งละกี่เม็ด
  • เวลาที่จะรับประทานยา
  • ผลข้างเคียงของยา
  • ยาที่เป็นข้อห้ามซึ่งอาจจะเกิดปฏิกิริยากับยาที่รับประทาน
  • รับประทานยาให้สม่ำเสมอ
  • เมื่อไปพบแพทย์ให้นำรายละเอียดของยาที่รับประทานไปด้วย
  • หากมีผลข้างเคียงของยาต้องบอกแพทย์
  • อย่าให้ขาดยา
  • เก็บยาให้ห่างมือเด็ก
  • อย่าเพิ่มหรือลดยาด้วยตัวเอง
  • หากลืมรับประทานยาห้ามรับประทานยาเป็นสองเท่า

สำหรับท่านที่รับประทานยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด อ่านที่นี่

เนื่องจากยานี้จะทำให้เลือดไม่แข็งตัวอาจจะทำให้เลือดออกง่าย จึงจำเป็นต้องตรวจเลือดอย่างสม่ำเสมอข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ที่รับประทานยานี้

  • รับประทานยาให้ตรงเวลาทุกวัน
  • จะต้องรับประทานให้ถูกขนาด
  • ติดตามผลการตรวจเลือด
  • ใช้แปรงสีฟันที่ขนนุ่ม
  • ระวังได้รับบาดเจ็บจากการโกนหนวด
  • บอกแพทย์ทุกครั้งเมื่อแพทย์จะจ่ายยาระวังยา aspirin,NSAID
  • หากมีเลือดออก หรือมีจ้ำเลือดต้องรายงานแพทย์
  • สำหรับผักสีเขียวต้องรับประทานอย่างสม่ำเสมอ
  • งดดื่มสุรา
  • งดบุหรี่
  • หลีกเลี่ยงการเล่นกีฬาที่มีการกระทบ

หมั่นชั่งน้ำหนัก

เรื่องน้ำหนักเป็นเรื่องที่มีความสำคัญที่จะต้องติดตาม การเพิ่มน้ำหนักอย่างรวดเร็วจะบ่งบอกว่ามีการคั่งน้ำเกิดขึ้น

  • ชั่งน้ำเวลาเดียวกันทุกวัน
  • จดผลลงในมุด
  • เมื่อไปพบแพทย์ให้นำสมุดไปด้วยทุกครั้ง
  • หากน้ำหนักเพิ่ม1กิดลใน 2-3 วันให้แจ้งแพทย์



ป้องกันลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดที่ขา

เมื่อรางกายเริ่มจะฟื้นตัว ท่านต้องออกกำลังกาย การออกกำลังกายจะทำให้ปอดและหัวใจแข็งแรงป้องกันการเกิดลิ่มเลือดที่ขา การออกกำลังที่ดีคือการเดินช่วงแรกควรจะมีคนเดินเป็นเพื่อน หากแพทย์เลาะเส้นเลือดที่ขาไปต่อหลอดเลือดหัวใจอาจจะทำให้เกิดอาการปวดขาแต่อย่าหยุดการออกกำลังกาย

ทำหัวใจให้แข็งแรง

แพทย์จะแนะนำให้เริ่มออกกำลังกายหลังผ่าตัด 4-6สัปดาห์ โดยการควบคุมของพยาบาล วิธีการออกกำลังอาจจะใช้การเดินบนสายพาน หรือขี่จักรยาน แนวทางปฏิบัติ

  • ให้เดินวันละหลายเที่ยว
  • อย่าออกกำลังเกินกำลังตนเอง เมื่อเหนื่อยก็พัก
  • เพิ่มระยะทาง หรือเวลาที่ละน้อย อย่าหักโหม
  • ให้มีเพื่อไปออกกำลังด้วยกัน
  • ขึ้นบันไดช้าๆ
  • ห้ามลากหรือจูงของหนัก
  • อย่าออกกำลังหักโหม

จะต้องมีการปรับพฤติกรรมหลังผ่าตัดเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจอะไรบ้าง

  • งดบุหรี่
  • รับประทานอาหารสุขภาพ
  • ลดความเครียด
  • ออกกำลังกาย
  • ความคุมความเสี่ยงเรื่องหลอดเลือดตีบ

จะมีเพศสัมพันธ์อีกเมื่อไร

สามารถมีเพศสัมพันธ์เมื่อร่างกายเรื่องฟื้นตัวจากการผ่าตัด แต่ส่วนใหญ่จะกังเรื่องเจ็บหน้าอก และกังวลเรื่อเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ซึ่งจะต้องอาศัยความเข้าใจกับคู่ครอง และปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สำหรับท่านที่รับประทานยาขยายหลอดเลือดหัวใจไม่ควรซื้อยากระตุ้นการแข็งตัวมารับประทานเพราะอันตราย

วิธีการผ่าตัดโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคแทรกซ้อนจากการผ่าหัวใจ

เพิ่มเพื่อน