ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด  CABG

ภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบมีผลทำให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่เพียงพอต่อความต้องการ  ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจได้รับ oxygenไม่สมดุลกับ oxygenที่ใช้ การทำผ่าตัด CABG นั้น เป็นการผ่าตัดเพื่อเพิ่มเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ โดยการต่อเพิ่มหลอดเลือดใหม่กับหลอดเลือดหัวใจ ข้าม หรือ bypass ตำแหน่งที่ตีบของหลอดเลือด ประโยชน์ที่ได้จากการผ่าตัดเบี่ยงหลอดเลือด CABG คือ

  • ลดอาการแน่นหน้าอกที่เกิดจากหลอดเลือดตีบ และอาการหัวใจวายจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
  • ลดอัตราการเสียชีวิตเฉียบพลันจากภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายได้ดีกว่าการใช้ยา โดยเฉพาะในรายทตีบที่ี่หลอดเลือด left main coronary artery stenosis

ข้อบ่งชี้สำหรับการผ่าตัด CABG นั้น คำนึงถึง

  • อาการและความรุนแรงของอาการ
  • ตำแหน่งและความรุนแรงที่หลอดเลือดที่ตีบ
  • การตอบสนองต่อการรักษา
  • คุณภาพชีวิต
  • ปัญหาสุขภาพด้านอื่นๆ

อาการ และการทำงานของหัวใจห้องซ้าย เป็นหลัก แนวปฏิบัติที่เข้าใจง่ายและมีข้อมูลสนับสนุนมากได้แก่ American College of Cardiology and American Heart Association 2004 Guideline Update for CABG10 ซึ่งสรุปได้ดังนี้

ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด CABG ในผู้ป่วยที่หลอดเลือดตีบไม่มากและไม่มีอาการ

  • ตีบที่ left main coronary artery stenosis
  • ตีบที่หลอดเลือดหัวใจที่มีความรุนแรงเทียบเท่า Left main equivalent (เช่น proximal LAD และ proximal circumflex arteries)
  • เป็นโรคหลอดเลือดตีบทั้งสามเส้น
  • ตีบที่ Proximal LAD stenosisและมีตีบอีกเส้นหนึ่งร่วมกับการทำงานของหัวใจน้อยกว่า 50%(ejection fraction (EF)หรือพบบริเวณที่ขาดเลือดเป็นบริเวณกว้าง



ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดCABG in stable angina

  • เหมือนข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด CABG ในผู้ป่วยที่หลอดเลือดตีบไม่มากและไม่มีอาการ
  • เส้นเลือดหัวใจตีบ 1 หรือ 2 เส้น และมีบริเวณที่ขาดเลือดเป็นบริเวณกว้าง
  • ยังมีอาการเจ็บหน้าอกแม้ว่าจะได้รับการรักษาด้วยยาเต็มที่แล้ว

ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดCABGในผู้ป่วยที่กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดชนิด unstable angina/Non-ST segment elevation MI

  • หลอดเลือด left main coronary artery stenosis
  • Left main equivalent
  • หลอดเลือด Proximal LADตีบร่วมกับการตีบของหลอดเลือดอีกเส้นหนึ่ง
  • ยังมีอาการของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดแม้ว่าจะให้การรักษาเต็มที่

ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดCABGในผู้ป่วยที่มีกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดชนิด ST-segment elevation MI

  • ยังมีอาการของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดแม้ว่าจะให้การรักษาเต็มที่
  • มีโรคแทรกซ้อนจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เช่นผนังหัวใจทะลุ ลิ้นหัวใจรั่วเฉียบพลัน
  • ภาวะช็อคจากกล้ามเนื้อหัวใจ
  • หัวใจเต้นผิดปรกติชนิดรุนแรง

ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดCABGในผู้ป่วยที่กล้ามเนื้อหัวใจล้มเหลว poor left ventricular function

  • Significant left main coronary artery stenosis
  • Left main equivalent
  • Proximal LAD stenosis with 2 or 3 vessel disease

ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดCABGในผู้ป่วยที่หัวใจเต้นผิดปรกติอย่างรุนแรง life threatening ventricular arrhythmias

  • Caused by left main coronary artery stenosis
  • Caused by three vessel disease

ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดCABGในผู้ป่วยที่เคยทำขยายหลอดเลือดหัวใจ percutaneous coronary angioplasty (PTCA)

  • อาการไม่ดีขึ้น
  • สัญญาณชีพไม่คงที่

ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดCABG ที่เคยผ่าตัด CABG มาก่อน

  • ยังมีอาการของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดแม้ว่าจะให้การรักษาเต็มที่
  • ผ่าตัดครั้งก่อนไม่ประสบผลสำเร็จ
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด วิธีการผ่าตัด

เพิ่มเพื่อน