เกลื้อน Tinea vesicolor

 

เกลื้อนคือการติดเชื้อราที่ผิวหนัง ทำให้สีของผิวหนังเปลี่ยนแปลง บางรายจางบางรายเข้มขึ้น สาเหตุ

เกิดจากเชื้อราที่มีชื่อว่า Pityrosporum orbiculare เป็นโรคเชื้อราผิวหนังชั้นตื้น อาศัยอยู่ในรูขุมขนของคน และกินไขมันที่อยู่ในขุมขนเป็นอาหาร ถ้าผู้ป่วยมีความต้านทานลดลง เหงื่อไคลมากหมักหมม เชื้อราชนิดนี้จะเพิ่มจำนวนมากขึ้นแล้วก่อให้เกิดโรคที่ผิวหนังเป็นดวงมีขุย โรคนี้พบบ่อยในบริเวณผิวหนังที่มีต่อมไขมันมากๆ เช่นหน้าอก และหลังเป็นต้น

เกลื้อน

เกลื้อน

อาการเกลื้อน

ผู้ที่เป็นมักจะไม่มีอาการ จะเป็นผื่นและมีขุยอยู่รอบรูขุมขน ผื่นมีทั้งสีจางและสีเข้ม หรือชมพูอ่อนๆ อยู่ต่อกันเป็นแผ่นใหญ่ บริเวณที่พบผื่นเป็นบริเวณที่มีต่อมไขมันมากได้แก่ผิวหน้าอก หลัง แขน อาจจะมีอาการคันเมื่อเหงื่อออกโดยทั่วไปประชาชนก็สามารถวินิจฉัยโรคนี้ได้อยู่แล้ว

ใครที่เป็นเกลื้อน

เกลื้อนจะพบได้ในกลุ่มวัยรุ่น ทั้งหนุ่มและสาว เพราะเป็นวัยที่ต่อมไขมันทำงานมาก ผู้ที่เป็นเกลื้อนจะเป็นผู้ที่มีผิวมัน มีความต้านทานต่อเชื้อต่ำกว่าคนอื่น ผู้ที่ทำงานในที่อบ ร้อน เหงื่อมากจะมีโอกาสเกิดโรคนี้ได้ง่าย

การรักษาเกลื้อน

ดังที่ได้เกล่ามาแล้วว่าผู้ที่เป็นเกลื้อน จะมีแนวโน้มทางพันธุกรรมที่จะเป็นเกลื้อนร่วมกับอยู่ในสภาวะที่เหมาะสม เชื้อราจะเจริญเติบโตเพิ่มจำนวน ดังนั้นการดูแลรักษาควรจะทำ2 ทางคือ

  1. ใช้ยากดการเจริญเติบโตของเชื้อเกลื้อน เป็นยาทาได้แก่
  • ยาน้ำชนิดทา เช่น 20% sodium sulfide เหมาะกับผื่นที่เป็นมากๆ
  • ยาทาที่มีส่วนผสมของ selenium sulfideหรือ ketoconazole ให้อาบน้ำฟอกตัวให้สะอาดด้วยสบู่ตามปกติ แล้วอย่าเพิ่งเช็ดน้ำออก ให้ใช้แชมพูที่มีส่วนผสมของยาดังกล่าวลูบไปทั่วบริเวณที่เป็นโรค ทิ้งไว้ 10 นาทีแล้วไปอาบน้ำ เป็นเวลาสองสัปดาห์ สำหรับรายที่รักษาไม่ค่อยได้ผลอาจจะต้องทาทิ้งข้ามคืนแต่อาจจะมีการระคายเคืองต่อผิวหนัง
  • ยาทาที่มีส่วนผสมของยาฆ่าเชื้อรา เช่น clotrimazole ,ketoconazole,ให้ทาก่อนนอนวันละครั้งเป็นเวลาสองสัปดาห์ หลังจากนั้นทาสัปดาห์ละครั้งเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ
  • ยารับประทานฆ่าเชื้อราได้แก่ ketoconazole, itraconazole, fluconazole จะใช้ในกรณีที่เป็นมาก และควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ เพราะรับประทานเหล่านี้เกิดผลข้างเคียงได้ โดยให้รับประทาน 5 วัน
  1. การรักษาอนามัยส่วนบุคคล เช่นเสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว ควรจะซักและผึ่งให้แห้งก่อนนำมาใช้อีกครั้ง และไม่ควรใช้ร่วมกับผู้อื่น อาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาดอยู่เสมอ อย่าปล่อยให้เหงื่อไคลหมักหมม

ดวงขาวจะหายหรือไม่

เนื่องโรคเกลื้อนจะมีลักษณะผื่นสีจางซึ่งอาจจะอยู่เป็นเวลาหลายเดือนทั้งๆที่เชื้อราได้ถูกทำลายไปหมดแล้ว เนื่องเพราะเชื้อราได้สร้างสารเคมีบางชนิดกดการทำงานของเซลล์เม็ดสี ดังนั้นสีของผิวจะกลับสู่ปกติเมื่อเซลล์เม็ดสีสร้างเม็ดสีกลับมาดังเดิม ซึ่งต้องใช้เวลานานเป็นเดือนในผู้ป่วยบางราย

การปฏิบัติตนเมื่อเป็นเกลื้อน

  1. รักษาความสะอาดของร่างกายให้ทั่วถึงอย่างสม่ำเสมอ อาบน้ำฟอกสบู่ และเช็ดตัวให้แห้งทุกครั้ง โดยเฉพาะบริเวณซอก เช่น รักแร้ ขาหนีบ ง่ามนิ้วเป็นต้น
  2. ตัดเล็บมือเล็บเท้าให้สั้น หมั่นล้างมือให้สะอาด และอย่้าเกาเพราะจะทำให้เชื้อลุกลามไปที่อื่น
  3. ไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกัน เสื้อผ้าควรจะซักให้สะอาดและตากให้แห้งทุกครั้ง
  4. เมื่อมีผื่นควรไปตรวจรักษาเพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้อง
  5. การรักษาเชื้อราที่ผิวหนังโดยทั่วไปจะใช้ยาทาวันละ 2-3 ครั้งติดต่อกันจนผื่นหาย โดยทายาที่ผื่นและบริเวณใกล้เคียงโดยรอบ หลังจากผื่นหายแล้วควรจะทายาต่ออีกประมาณ 2สัปดาห์และอย่าใช้มือเปื้อนยาขยี้ตา สำหรับเชื้อราที่เล็ยและหนังศีรษะการรักษายุ่งยากกว่าต้องใช้นารับประทาน
  6. ยาที่ใช้ได้แก่ micronazole clotrimazole

การติดเชื้อรา เชื้อราที่หนังศีรษะ เชื้อราตามลำตัว สังคัง เชื้อราที่เล็บ เชื้อราที่หน้า เชื้อราในปาก ฮ่องกงฟุต เกลื้อน การรักษาเชื้อรา