มะเร็งผิวหนัง

 

ประเทศไทยพบมะเร็งผิวหนังน้อยกว่าประเทศอื่นๆทั้งๆที่เราเป็นเมืองที่มีแสงแดดจัดซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของมะเร็งผิวหนัง อาจเป็นเพราะผิวหนังของคนไทยมีเม็ดสีเมลานินที่ช่วยป้องกันอันตรายจากแสงแดด หรือเป็นจากเราไม่ได้ให้ความสำคัญ และละเลยในการค้นหาเฝ้าระวัง โรคนี้เนื่องจากเห็นว่าเป็นที่ผิวหนังไม่อันตรายก็เป็นได้

เนื้องอกที่ผิวหนังเป็นได้ทั้งเนื้องอกที่ไม่เป็นมะเร็ง และเนื้องอกที่เป็นมะเร็งซึ่งมีความแตกต่างกันดังนี้

  • เนื้องอกที่ไม่เป็นมะเร็งเช่น ไฝ
    • ไม่อันตรายถึงกับเสียชีวิต
    • เมื่อผ่าตัดออกแล้วจะไม่เป็นซ้ำ
    • เนื้องอกไม่ลุกลามเนื้อเยื่อข้างเคียง
    • ไม่มีการแพร่กระจายไปส่วนอื่นของร่างกาย
  • เนื้องอกมะเร็งเช่น melanoma, basal cell cancer, หรือ squamous cell cancer
    • หากรักษาช้าอาจจะอันตรายต่อชีวิต
    • หลังตัดออกอาจจะกลับมาเป็นใหม่
    • ลุกลามเนื้อเยื่อข้างเคียง
    • แพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น

รู้จักมะเร็งผิวหนังกันก่อน

มะเร็งผิวหนังคือเนื้อร้ายที่เกิดบนผิวหนังและเยื่อบุ  เนื่องจากความผิดปกติของการเจริญเติบโต และการแบ่งเซลล์ของผิวหนังและเยื่อบุ มะเร็งผิวหนังมีหลายชนิด ที่พบบ่อย ได้แก่

  • มะเร็งผิวหนังชนิดสเควมัสเซลล์ Squamous cell carcinoma,
  • ชนิดเบเซลเซลล์ Basal cell carcinoma
  • เมลาโนมา malignant melanoma พบไม่บ่อย แต่มีความร้ายแรง เพราะสามารถกระจายเข้าสู่กระแสเลือดได้รวดเร็วคือ มะเร็งของเซลล์เม็ดสี

มะเร็งผิวหนังอาจจะมีขนาดใหญ่ขึ้นช้าๆ และลุกลามเฉพาะที่ หรืออาจจะแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นได้ด้วย เช่นต่อมน้ำเหลือง ส่วนมากจะพบในผู้ที่อายุมากกว่า 40 ปี และพบในชายมากกว่าหญิง

จะทราบได้อย่างไร ว่าไฝที่มีอยู่เป็นมะเร็งหรือไม่

คนที่มีไฝเป็นจำนวนมาก หรือมีไฝขนาดใหญ่ จะมีความเสี่ยงที่จะเกิดมะเร็งไฝได้สูงกว่าคนที่ไม่มี 

โดยปกติแล้วอาการจะดูออกยากเพราะจะเหมือนเป็นไฝทั่วไป แต่เราสามรถวินิจฉัยด้วยตัวเอง โดยสังเกตการเปลี่ยนแปลงง่ายดังนี้

  • ดูบริเวณไฝที่เป็นว่ามีผื่นหรือก้อนที่โตเร็วกว่าปกติหรือไม่
  • มีสีเปลี่ยน
  • มีแผลเรื้อรังที่ไม่หายและขยายออกหรือไม่
  • พบผื่นที่ใช้ยาทาแล้วไม่หายหรือไม่
  • ตรวจสอบตนเองว่าเคยมีประวัติการใช้ยาหม้อ กินหมากหรือสูบบุหรี่หรือไม่ 
  • และมีสมาชิกในครอบครัวเคยเป็นมะเร็งดังกล่าวหรือไม่ 

ถ้ามีข้อสงสัย ให้ปรึกษาแพทย์ผิวหนังเพื่อการวินิจฉัย ซึ่งทำได้โดยการตัดชิ้นเนื้อบริเวณที่สงสัย ส่งตรวจทางพยาธิวิทยา

ลักษณะที่ทำให้สงสัยว่าจะเป็นมะเร็งผิวหนัง

 ไฝที่เป็นอยู่เดิม มีรูปร่างเปลี่ยนไป อาจใช้หลักง่ายๆ คือ ABCD ดังนี้

Asymmetryลักษณะของไฝสองข้างม่เหมือนกัน
Border irregularity ขอบของไฝไม่เรียบ
Colorสีของไฝไม่สม่ำเสมอ
SADADAD Diameter ขนาดของไฝมากกว่า 6 มม
    1. มีผื่นหรือก้อนที่เกิดขึ้นใหม่ และไม่หายใน4-6 สัปดาห์
    2. ไฝหรือปานที่โตเร็ว และรูปร่างเปลี่ยนไปจากเดิม มีอาการคัน แตกเป็นแผล และมีเลือดออก
    3. แผลเรื้อรังไม่หายใน 4 สัปดาห์

    ปัจจัยที่เป็นสาเหตุของมะเร็งผิวหนัง

    1. แสงอัลตราไวโอเลต (UVA,UVB) พวกที่ต้องทำงานกลางแดด เล่นกีฬากลางแจ้ง ชอบอาบแดด จะมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดมะเร็งผิวหนัง
    2. เชื้อชาติ คนผิวขาว ผมสีบลอนด์ ผิวไหม้แดดง่าย มีโอกาสเสี่ยงสูง เพราะมีเม็ดสีที่ผิวหนังน้อย ความสามารถในการป้องกันเซลล์ผิวหนังจากแสงอัลตราไวโอเลตจึงน้อยกว่าคนผิวคล้ำ คนที่เป็นโรคผิวหนัง Albinism ซึ่งมีความผิดปกติของการสร้างเม็ดสี จะพบมะเร็งผิวหนังได้บ่อย
    3. การได้รับสารเคมีก่อมะเร็ง เช่น สารหนูที่ปนอยู่ในน้ำ ยาหม้อ ยาไทย ยาจีน ยาลูกกลอน
    4. แผลเป็นจากไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แผลจากผื่นผิวหนังบางโรค เช่น DLE
    5. มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งผิวหนัง
    6. เชื้อไวรัสบางชนิด เช่น HPV ที่ทำให้เกิดหูดที่อวัยวะเพศ
    7. ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ได้รับยากดภูมิคุ้มกันหลังการปลูกถ่ายไต
    8. ผิวหนังในบริเวณที่เคยได้รังสีรักษา
    9. คนที่สูบบุหรี่นานๆ จะเกิดมะเร็งในช่องปากได้

    การป้องกันและรักษามะเร็งผิวหนัง

    มะเร็งทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นที่อวัยวะใด ถ้าสามารถตรวจพบตั้งแต่แรก และกำจัดเซลล์ที่ผิดปกติออกได้หมด ก็สามารถหายขาดได้ มะเร็งผิวหนังมีข้อเด่นคือ ผิวหนังเป็นอวัยวะที่ห่อหุ้มอยู่ภายนอก เราสามารถมองเห็นได้ จึงทำให้สามารถตรวจพบความผิดปกติในระยะเริ่มแรกได้รวดเร็ว และยังติดตามการรักษาได้ง่าย

     การรักษามีหลายวิธี ขึ้นกับชนิด ตำแหน่ง และการลุกลามของโรค โดยทั่วไปมักใช้วิธีผ่าตัดเอามะเร็งผิวหนังออกให้หมด หลายครั้งที่มะเร็งเกิดบนใบหน้า ในบริเวณที่อาจมีการผิดรูปจากการผ่าตัดได้ ปัจจุบันมีวิธีผ่าตัดโดยวิธีที่เรียก Mohs micrographic surgery แพทย์จะทำการตัดชิ้นเนื้อและส่งตรวจทางพยาธิวิทยา ในคราวเดียวกัน เพื่อตรวจดูว่าได้ตัดมะเร็งออกได้หมด หากยังมีหลงเหลือ ก็จะกลับมาผ่าตัดซ้ำจนหมด จึงจะเย็บปิดแผล วิธีนี้จะทำให้สามารถตัดมะเร็งออกได้หมดในคราวเดียว โดยไม่ตัดเนื้อดีออกมากเกินจำเป็น แต่ในบางครั้ง มะเร็งถูกทิ้งไว้จนมีขนาดใหญ่เกินที่จะตัดออกได้หมด อาจรักษาโดยการใช้รังสีรักษา หรือถ้ามีการแพร่กระจาย จะต้องให้เคมีบำบัดร่วมด้วย

    มะเร็งผิวหนังสามารถรักษาให้หายขาดได้ ถ้าได้รับการวินิจฉัย และรักษาตั้งแต่เริ่มแรก ถ้ามีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งผิวหนัง ควรพบแพทย์ผิวหนัง เพื่อตรวจหามะเร็งตั้งแต่ระยะแรก ในคนทั่วๆ ไปก็ไม่ควรประมาท ระวังอย่าถูกแสงแดดจัด ใช้ครีมกันแดดให้ถูกต้องและเหมาะสม ไม่ควรใช้สารที่ทำให้ผิวขาวหรือทำลายเม็ดสี โดยเฉพาะการฉีดสารกลูต้าไธโอนเข้าเส้นเลือดดำ สังเกตการเปลี่ยนแปลงของหูด,ไฝ, ปาน หากมีแผลเรื้อรังหรือแผลที่ไม่หายใน 2 สัปดาห์ ควรปรึกษาแพทย์ สำหรับผู้ที่อยู่ใกล้บริเวณ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ในวันที่ 29 และ 30 พฤศจิกายน 2553 นี้ทางสมาคมแพทย์ผิวหนังจะจัดแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางผิวหนังไปออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ขอเชิญไปรับบริการและคำปรึกษาได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

    สาเหตุของมะเร็งผิวหนัง

    มะเร็งผิวหนังเป็นมะเร็งที่สามารถป้องกันได้

    • แสงแดด โดยเฉพาะผู้ที่เคยผิวไหม้หรือพวกที่นอนอาบแดดผิวสี tan
    • ผู้ที่ได้รับรังสี
    • แผลเป็นจากรอยไหม้ของผิวหนัง
    • ผู้ที่สัมผัสน้ำมัน
    • กรรมพันธุ์
    • การป้องกันที่สำคัญคือการป้องกันการถูกแสงแดด
    • หลีกเลี่ยงแสงแดดช่วง 10.00-15.00 น ซึ่งเป็นช่วงที่มีรังสี UV สูงสุด
    • สวมเสื้อผ้าสีอ่อน เนื้อแน่น หมวกปีกกว้าง 3 นิ้วเมื่อเวลาออกแดด
    • ทาครีมกันแสงแดดที่มีค่า SPF มากกว่า 15
    • การทาครีมควรทาตั้งแต่ในวัยเด็กเพราะรังที่ประมาณร้อยละ 80 จะได้รับก่อนอายุ 18 ปี

    การตรวจมะเร็งผิวหนังแรกเริ่ม

    ควรจะต้องเริ่มตรวจร่างกายตัวเอง การรักษามะเร็งผิวหนังที่ดีที่สุดคือการค้นพบตั้งแต่แรกเริ่ม โดยต้องสำรวจร่างตายตัวเองให้ทั่วซึ่งต้องใช้กระจกตั้งและกระจกมือช่วย

    SADASDASDA

    ยืนหน้ากระจกส่องข้างหน้า ข้างหลัง ด้านข้างซ้ายขวา ยกแขนขึ้น

    • ตรวจแขน รักแร้ มือ หลังมือ ข้อศอก
    • ตรวจต้นขาด้านหน้า ด้านหลัง น่อง หน้าแข็ง เท่ หลังเท้า ซอกนิ้ว
    • ตรวจหลัง คอด้านหน้า ด้านหลัง หนังศีรษะ ไรผม
    • ตรวจหลัง หนังศีรษะ ไรผม

    มะเร็งผิวหนังเริ่มแรก

    เราเรียก Actinic keratoses เป็นผื่นเล็กๆมีขุยมักจะพบบริเวณใบหน้า แขน หลังมือโดยเฉพาะบริเวณที่ได้รับแสงมาก หากไม่รักษาก็จะกลายเป็นมะเร็งในภายหลัง

    มะเร็งผิวหนังที่พบได้บ่อยคือ

    SaAS ลักษณะมะเร็งจะเป็นก้อนนูนขึ้นมา พบบ่อยบริเวณที่เจอแสงเช่น ใบหน้า มือ ศีรษะ แต่ก็อาจจะพบตามลำตัวมักจะพบในคนผิวขาว ก้อนโตช้า

    s เป็นมะเร็งผิวหนังที่พบเป็นอันดับ 2 มักจะพบในคนผิวขาว มักจะพบบริเวณผิวหนังที่ไม่ถูกแสงเช่น เท้า บริเวณขอบหู ริมฝีปาก หน้า ก้อนโตช้าหากพบได้เร็วการรักษาจะหายขาด

    As

    เป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยและมีอัตราการตายสูง มักจะพบมากในคนที่เคยมีผิวไหม้จากแดด พวกผิวขาวผู้ชายจะพบมะเร็งไฝผิวหนังบริเวณศีรษะ คอ ไหล่และสะโพก ส่วนผู้หญิงจะพบผิวหนังบริเวณขาและผิวหนังตั้งแต่ไหลถึงสะโพก ส่วนคนผิวสีจะไม่ค่อยพบมะเร็งไฝ แต่มักจะเกิดใต้เล็บ ฝ่ามือ ฝ่าเท้า

    ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งไฝ

    • ปัจจัยเสี่ยงเรื่องผิวตา
      • ผิวขาวมีกระและผิวไหม้จากแสงแดดได้ง่าย
      • ตาสีฟ้าหรือสีเขยว
      • ผมสีทอง
    • สัมผัสแสงแดดมากเกินไป
    • มีประวัติผิวไหม้จากแดด
    • มีไฝมาก
    • มีประวัติครอบครัวว่าเป็นมะเร็งไฝ
    • ผิวขาว

    เพิ่มเพื่อน