โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน NSTEMI และ Unstable Angina


โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบชนิด NSTEMI และ Unstable Angina เป็นโรคหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบ coronaty artery disease เป็นโรคหัวใจที่จำเป็นต้องให้การรักษาอย่างรีบด่วน ในระยะเริ่มแรกของโรคเราไม่สามารถแยกโรคทั้งสองได้แน่ชัดในผู้ป่วยบางราย ทั้งสองโรคจะมีอาการเจ็บหน้าอกเหมือนกัน แตกต่างกันที่ กล้ามเนื้อหัวใจตายจะมีค่า Trop-t สูงแต่เนื่องจากผลเลือดที่บ่งบอกว่ากล้ามเนื้อหัวใจตายจะใช้เวลา 12 ชั่วโมง ดังนั้นจึงไม่สามารถแยกโรคในระยะแรกของโรค ลักษณะของอาการเจ็บหน้าอก

ลักษณของการเจ็บหน้าอกชนิด stable angina

  • จะเจ็บหน้าอกเมื่อทำงานหนัก เช่น การออกกำลังกาย การขึ้นบันได
  • สามารถคาดการณ์ได้ว่าทำงานหรือออกกำลังแค่ไหนจึงจะเจ็บหน้าอก
  • โดยทั่วไปเจ็บไม่เกิด 5 นาทีพักก็หายปวด
  • พักหรืออมยาขยายหลอดเลือดก็หายปวด

อาการเจ็บหน้าอกชนิด unstable angina และกล้ามเนื้อหัวใจตาย เป็นภาวะเร่งด่วนที่จะต้องไปโรงพยาบาล

  • อาการเจ็บเกิดขณะพัก
  • มีการเปลี่ยนแปลงอาการปวด เช่นปวดรุนแรงขึ้น ปวดนานขึ้น
  • อาการปวดไม่สามารถคาดการณ์ได้
  • อาการปวดมักจะเป็นนาน อาจจะปวดนาน 30 นาที
  • อมยาขยายหลอดเลือดไม่หายปวด
  • เป็นสัญญาณว่าจะเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตาย

อาการเจ็บหน้าอก Angina ในผู้หญิง

อาการเจ็บหน้าอกเนื่องจากหัวใจขาดเลือดในผู้หญิงอาจจะมีอาการที่แตกต่างออกไปเช่น ผุ้หญิงที่ป่วยด้วยโรคนี้จะมีอาการคลื่นไส้ หายใจเหนื่อย อ่อนเพลีย ปวดท้อง โดยที่อาจจะมีหรือไม่มีแน่นหน้าอก บางคนอาจจะรู้สึกไม่สบายบริเวณคอ กรามหรือหลัง ทำให้มาหาแพทย์ช้า

ดังนั้นหากมีอาการเจ็บหน้าอกครั้งแรก หรือมีการเปลี่ยนแปลงอาการเจ็บหน้าอก เช่น เจ็บรุนแรงกว่า เจ็บนานกว่า พักหรืออมยาแล้วไม่หายเจ็บ และมีอาการใจสั่นหน้ามืดเป็นลม อาการเจ็บหน้าอกแบบนี้จะต้องรีบไปพบแพทย์

ให้รีบไปพบแพทย์โทรแจ้งเบอร์ 1669

อาการเจ็บหน้าอกของผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

เจ็บหน้าอก

ผู้ที่มีหลอดเลือดตีบจะมีอาการเจ็บหน้าอกที่เรียกว่า angina จะเจ็บเมื่อออกกำลังกาย หรือทำงานหนัก แต่ผู้ป่วยที่มีกล้ามเนื้อหัวใจตายจากหลอดเลือดตีบ หรือ Unstable Angina จะมีอาการเจ็บหน้าอกนานกว่า เจ็บหน้าอกมากกว่า พักแล้วไม่หายปวด อมยาแล้วไม่หาย หรือมีอาการหน้ามืด ใจสั่น ปลายมือปลายเท้าเย็น หน้าซีด อ่านอาการเจ็บหน้าอกโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายจากขาดเลือดที่นี่




กลไกการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

กล้ามเนื้อหัวใจตาย

กลไกการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดของ Unstable Angina หรือ Non STMI จะเป็นแบบหลอดเลือดอุดแต่ไม่ถึงกับตัน ยังมีเลือดไปเลี้ยงหัวใจได้บางส่วน ทำให้กล้ามเนื้อตายบางส่วน อ่านกลไกการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด


ใครที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

อ้วน

ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงเช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน สูบบุหรี่จะเสี่ยงต่อการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ความเสี่ยงกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด


การประเมินความเสี่ยงของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

บอล

ในการประเมินความเสี่ยงจะแบ่งออกเป็น 1การประเมินว่าอาการเจ็บหน้าอกจะเกิดจากโรคหลอดเลือดตีบหรือไม่ 2ประเมินความรุนแรงของโรคจากคลื่นไฟฟ้าหัวใจและผลเลือด 3 ประเมินว่ามีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตหรือไม่ อ่านความเสี่ยงที่นี่


กลุ่มที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

แกง

ผู้ที่มีประวัติครอบครัว หรือเป็นโรคบางอย่าง จะเป็นความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ อ่านกลุ่มที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดที่นี่


การวินิจฉัยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

การตรวจโดยการวิ่งสายพาน

การวินิจฉัยโรคจะต้องอาศัยประวัติ การตรวจร่างกาย การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และการตรวจเลือด อ่านการวินิจฉัยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดที่นี่


การรักษากล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

การตรวจคลื่นเสี่ยงความถี่สูง

การรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบแบ่งเป็น การรักษาแบบฉุกเฉินที่จะต้องรีบเปิดหลอดเลือด ให้เลือดไหลเวียน และการรักษาด้วยยา อ่านการรักษากล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดที่นี่