การตรวจผ่ายทางหน้าอกหรือที่เรียกว่า Transthoracic echocardiogram

การตรวจผ่ายทางหน้าอกหรือที่เรียกว่า Transthoracic echocardiogram (TTE)เป็นวิธีการตรวจที่ง่ายและเป็นที่นิยมทำ จะวางเครื่องมือบนผนังทรงอก ตำแหน่งที่วางมี 4 ตำแหน่งได้แก่่

Parasternal views

การตรวจท่านี้ผู้ป่วยจะนอนตะแคงซ้าย หัวเครื่องมือจะวางบนช่องซี่โครงที่4-5ดังรูป

การตรวจแบบนี้มีด้วยกัน 2 ท่า

Parasternal Long-Axis Plane

รูปหัวใจตัดตามยาว

ภาพที่ได้จากการทำ

เงาของหัวใจ

เป็นการตรวจหัวใจในระนาบตามยาวของหัวใจซึ่งจะเห็น หัวใจห้องขวา(right ventricle) หลอดเลือดใหญ่ (aorta) ลิ้นหัวใจหลอดเลือดแดงใหญ่ (aortic valve) หัวใจห้องบนซ้าย( left atrium)

 

Parasternal Short-Axis Plane

เป็นการตรวจหัวใจในระนาบตามขวางของหัวใจ ตำแหน่งที่วางหัวเครื่องมือเหมือนกับ Parasternal Long-Axis Plane แต่บิดเครื่องมือไป 90 องศา

ภาพตัดขวางหัวใจ

แสดงส่วนของหัวใจที่ตรวจ

ตัวอย่างภาพ

การตรวจท่านี้จะตรวจกล้ามเนื้อหัวใจห้องซ้าย left ventricular wall ลิ้นหัวใจกั้นระหว่างหัวใจห้องบนและล่างซ้าย (Mitral valve) หัวใจห้องขวา (right ventricle) ลิ้นหัวใจกั้นระหว่างห้องใจห้องบนขวาและล่างขวา ( tricuspid valve ) และที่สำคัญคือได้ดูการเคลื่อนไหวของลิ้น Mitral valve

Apical view

เป็นการตรวจที่ยอดหัวใจ การตรวจท่านี้จะให้ผู้ป่วยนอนตะแคงซ้าย หัวเครื่องมือจะวางที่สำแหน่งส่วนยอดหัวใจคลื่นเสียงจะสะท้อนเงาภาพหัวใจตั้งแต่ส่วยปลายสุดถึงส่วนบนสุดของหัวใจ การตรวจส่วนยอดหัวใจยังตรวจได้ 2 ท่าคือ

Apical Long-Axis Plane

วางตัวกำเนิดสัญญาณไว้ที่ยอดหัวใจ คลื่นเสียงจะผ่านหัวใจจากยอดไปสู่ขั่วหัวใจในแนวตั้ง ทำให้เห็นหัวใจล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้ายโดยเฉพาะส่วนยอดหัวใจ apical หัวใจห้องบนซ้าย หลอดแดงใหญ่ ลิ้นหัวใจ mitral valve ลิ้นหัวใจ aortic valve

เครื่องกำเนิดเสียงอยู่ตำแหน่งยอดหัวใจ

รูปหัวใจที่ตรวจ

ภาพแสดงหัวใจจากการตรวจ

Apical Four-chamber Plane

เป็นการตรวจหัวใจจาดยอดหัวใจไปสู่ขั่วหัวใจในแนวนอนซึ่งจะเห็นหัวใจทั้ง 4 ห้อง ผนังกั้นหัวใจห้องล่าง และห้องบน ลิ้นหัวใจ mitral valve,tricuspid valve

ภาพแสดงตำแหน่งที่วางเครื่องมือ

ภาพวาดแสดงการตรวจหัวใจ

กล้ามเนื้อหัวใจส่วนที่ตรวจ

ตัวอย่างภาพที่ตรวจ

Subcostal plan

เป็นการตรวจหัวใจตรงตำแหน่งใต้ชายโครงขวา ผู้ป่วยจะนอนหงานหนุนหมอนที่เอว เมื่อแพทย์ตรวจให้หายใจเข้าให้เต็มที่เพื่อให้หัวใจอยู่ติดกำบังลม การตรวจท่านี้ยังแบ่งออกเป็น

แสดงตำแหน่งการตรวจ

Subcostal Four-Chamber Plane

เป็นการดูหัวใจในแนวนอนหรือขนานกับแกนหัวใจซึ่งจะเห็นหัวใจทั้ง 4 ห้องท่านี้จะเห็นกล้ามเนื้อที่กั้นระหว่างหัวใจห้องบนและห้องล่างได้ดี ดังนั้นผู้ที่มีผนังหัวใจรั่วการตรวจท่านี้จะเห็นได้ง่ายที่สุด และสามารดูน้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจได้ดี

ภาพแสดงแนวคลื่นเสียงที่ตัดผ่านหัวใจ

ภาพแสดงส่วนของหัวใจ ที่เห็นกล้ามเนื้อหนาๆคือหัวใจห้องล่างซ้าย

ภาพแสดงหัวใจที่ได้รับการตรวจ

Subcostal Short-Axis Views

เป็นการดูหัวใจในแนวขวางซึ่งจะมองเห็นหัวใจห้องขวาได้ดี แต่เนื่องจากการตรวจทำได้ลำบากจึงไม่นิยม และยังมีการตรวจท่าอื่นซึ่งมองเห็นหัวใจเหมือนการตรวจท่านี้

Suprasternal views

การตรวจท่านี้จะเห็นหลอดเลือดแดงใหญ่ aorta ได้ชัดรวมทั้งหลอดเลือด pulmonary และหัวใจห้องบนซ้าย การตรวจท่านี้จะช่วยในการวินิจฉัยโรค dissecting aneurysm โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

ประโยชน์ของการตรวจวิธีนี้ได้แก่

  • ตรวจหัวใจเพิ่มในกรณีที่แพทย์ตรวจพบเสียงหัวใจผิดปกติ
  • ตรวจหาความผิดปกติของลิ้นหัวใจ
  • ตรวจวัดขนาดของหัวใจ
  • วัดความหนาของกล้ามเนื้อหัวใจ
  • ตรวจวัดความสามารถในการบีบตัวของหัวใจ ทางการแพทย์เรียก Ejaction fraction คืออัตราส่วนเลื้อที่บีบออกไปแต่ละครั้งเมื่อเทียบกับเลือดที่มีอยู่ในหัวใจ ค่าปกติประมาณ 50-80% ถ้าต่ำกว่านี้หมายถึงการทำงานของหัวใจไม่ดี
  • ตรวจหาลิ่มเลือดในหัวใจ
  • ตรวจความผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจพิการแต่กำเนิด
  • ตรวจการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจหลังเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตาย
  • ตรวจหาสาเหตุของหัวใจวาย
  • ตรวจหาน้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ
  • ตรวจหาว่าลิ้นหัวใจมีการอักเสบหรือไม
  • ตรวจหลอดเลือดแดงใหญ่ว่ามีการฉีกขาดหรือไม่

การเตรียมตัวในการตรวจ

ไม่จำเป็นต้องเตรียมตัวพิเศษ ไม่ต้องงดอาหาร

ความเสี่ยงในการตรวจ

ไม่มีความเสียงในการตรวจหัวใจด้วยวิธีนี้

การตรวจหัวใจ