อาการโรคไตเสื่อม

อาการของโรคไตเสื่อม

 

ในระยะเริ่มแรกของโรคไตคนอาจไม่พบอาการใด ๆ เมื่อไตเสื่อมถึงระดับหนึ่งจะเกิดอาการ


อาการโรคไตเรื้อรัง

  1. เหนื่อยล้า เนื่องจากไตจะสร้างฮอร์โมนเพื่อเพิ่มเม็ดเลือดแดง เมื่อไตเสื่อมการสร้างฮอร์โมนลดลงทำให้เกิดโลหิตจาง สมองและกล้ามเนื้อจะได้รับออกซิเจนลดลงทำให้เกิดอาการล้าเร็ว อาการที่ผู้ป่วยมักจะเล่าได้แก่ทำงานแล้วเหนื่อยง่าย หลับเก่งกลับถึงบ้านก็ง่วง
  2. รู้สึกขี้หนาว แม้ว่าอากาศจะไม่เย็นแต่ผู้ป่วยจะรู้สึกขี้หนาว เย็นปลายมือปลายเท้าเนื่องจากโลหิตจาง
  3. เหนื่อยง่าย แน่หน้าออก หายใจลำบาก จากสาเหตุสองประการคือ การที่มีน้ำคั่งในปอดเนื่องจากไตขับน้ำน้อยลง และจากสาเหตุอีกข้อคือภาวะโลหิตจาง ทำให้เลือดไปเลี้ยงร่างกายลดลง ผู้ป่วยจะให้ประวัติว่าทำงานที่เคยทำแล้วเหนื่อย เดินขึ้นบันไดไม่ได้ หรือกลางคืนต้องตื่นนอนเพราะแน่หน้าอกเหมือนคนจมน้ำ
  4. เวียนศีรษะ หน้ามืดจะเป็นลม เนื่องจากโลหิตจางทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองน้อยลงจึงเกิดอาการเวียนศีรษะ หน้ามืด
  5. คิดช้า ขี้ลืม เนื่องจากโลหิตจางทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองน้อยลง
  6. คันตามผิวหนัง เนื่องจากของเสียที่สะสมในร่างกาย ทำให้คันผิวหนัง
  7. บวมหลังเท้า เนื่องจากไตขับน้ำส่วนเกินไม่ได้ทำให้เกิดอาการบวมซึ่งมักจะให้ประวัติบวมตอนสายๆ ตอนเช้าหลังตื่นนอนจะไม่บวม พอเดินไปเดินมาจะเริ่มมีอาการบวมเท้าบวม
  8. หน้าบวม หนังตาบวม เนื่องจากการคั่งของน้ำส่วนเกิน
  9. มีกลิ่นปาก ทานอาหารไม่อร่อยเนื่องจาก มีของเสียคั่งในเลือด
  10. ลมหายใจบางทีมีกลิ่นเหมือนปัสสาวะ หรือกลิ่นผลไม้เนื่องจากมีการคั่งของยูเรีย
  11. คลื่นไส้อาเจียนเนื่องจากมีการคั่งของเสียในเลือด
  12. ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะสีใสโดยเฉพาะเวลากลางคืน
  13. ปัสสาวะเป็นฟอง หรือบางทีมีสีน้ำล้างเนื้อ
  14. ปัสสาวะออกน้อยและมีสีเข้ม เมื่อไตเสื่อมมากขึ้นปัสสาวะจะออกน้อยและมีสีเข้มขึ้น
  15. ปัสสาวะลำบากและออกน้อย

 

นอกจากนั้นยังมีอาการอื่นๆ

เนื่องจากโรคไตเสื่อมเป็นภาวะตลอดชีวิต จึงมีความจำเป็นที่จะต้องตรวจสุขภาพเป็นประจำ เพื่อตรวจสอบการทำงานของไต

ผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรังมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดรวมทั้งหัวใจวายและโรคหลอดเลือดสมอง การตรวจสุขภาพเป็นประจำช่วยให้สามารถตรวจพบปัญหาได้เร็วและป้องกันภาวะแทรกซ้อนได้

  1. โรคไตเสื่อม
  2. อาการโรคไตเสื่อม
  3. การวินิจฉัยโรคไตเสื่อม
  4. การแบ่งระดับความรุนแรงของโรคไตเสื่อม
  5. การักษาไตเสื่อม
  6. การป้องกันไตเสื่อม
  7. การรับประทานอาหารเพื่อป้องกันไตเสื่อม
  8. การออกกำลังกายสำหรับไตเสื่อม

เพิ่มเพื่อน