ความเครียดมีผลเสียต่อสุขภาพ
ความเครียดเล็กน้อยเป็นสิ่งที่ดีเพื่อกระตุ้นให้เราทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความมุ่งมั่นที่จะประสบผลสำเร็จในการงาน และการกีฬา แต่ความเครียดระดับต่ำ มีรับอย่างสม่ำเสมอ และหาทางแก้ไขไม่ได้มักจะก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพตามมา ความเครียดเหล่านั้นได้แก
- ความเครียดที่เกิดจากงาน หรือความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ที่ยากจะแก้ไข
- ความเครียดที่เกิดจากการสูญเสีย เช่นอุบัติเหตุรถยนต์
- ไม่สามารถผ่อนคลายความเครียด
- ภาวะเครียดที่เกิดจากโรค เช่น อัมพาต โรคหัวใจ
ความเครียดมีผลกระทบต่อด้านจิตใจ
พบว่าผู้ที่มีความเครียดเรื้อรังและไม่สามารถผ่อนคลายจะมีปัญหาเป็นโรคซึมเศร้าและวิตกกังวลได้สูงกว่าคนทั่วไป ทำให้คุณภาพชีวิต ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล รวมทั้งหน้าที่การงานแย่ลง
ความเครียดมมีผลกระทบต่อหัวใจ
ความเครียดสามารถกระตุ้นให้เกิดอาการเจ็บหน้าอกในผู้ป่วยโรคหัวใจโดยมีกลไกดังนี้
- ทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น หัวใจบีบตัวมากขึ้น หัวใจเต้นเร็วขึ้น
- อาจจะเกิดการเต้นผิดปกติของหัวใจ
- เลือดมีความหนืดเพิ่มเนื่องจากมีไขมันในเลือดเพิ่มขึ้นและเกิดอุดตันหลอดเลือดได้ง่ายขึ้น
- ในผู้หญิงจะทำให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง ฮอร์โมนนี้จะป้องกันโรคหัวใจ
- ความเครียดทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น
ความเครียดมีผลโรคหลอดเลือดสมอง
พบว่าผู้ชายที่มีความเครียดสูงจะทำให้เกิดความดันโลหิตสูงและเกิดโรคหลอดเลือดสมองบ่อยกว่าคนที่ไม่เครียด
ความเครียดมีผลการติดเชื้อ
คนที่เครียดเรื้อรังจะมีภูมิตอบสนองต่อการติดเชื้อและจำนวนเม็ดเลือดขาวน้อยกว่าคนทั่วไป จึงทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย เช่นหวัด เริม เป็นต้น
ความเครียดมีผลต่อระบบทางเดินอาหาร
พบว่าความเครียดเรื้อรังสามารถทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารได้ดังนี้
- โรคกระเพาะอาหาร เป็นที่ทราบกันดีว่าสาเหตุของการเกิดโรคกระเพาะคือการรับประทานยาแก้ปวดกลุ่ม nsaid และจากเชื้อ H.pyroli แต่ความเครียดเรื้อรังก็เป็นส่วนส่งเสริมทำให้เกิดโรคดังกล่าว
- ท้องร่วงจากโรค Irritable Bowel Syndrome ผู้ป่วยจะมีอาการปวดมวนท้อง ถ่ายเหลวเป็นๆหายโดยมีท้องผูกสลับกับถ่ายเหลว
ความเครียดมีผลต่อการรับประทานอาหาร
คนที่เครียดเรื้อรังจะมีปัญหาการรับประทานอาหารได้ 3 รูปแบบกล่าวคือ
- น้ำหนักเกิน เนื่องจากเมื่อเกิดความเครียดผู้ป่วยจะรับประทานอาหารเค็ม มัน หวานเพื่อไปต่อสู้กับความเครียด และทำให้เกิดลักษณะอ้วนลงพุง
- น้ำนักลดลงเนื่องจากเบื่ออาหาร
- มีการรับประทานอาหารผิดปกติ เช่น Anorexia nervosa and bulimia nervosa
ความเครียดมีผลต่อโรคเบาหวาน
ความเครียดทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น เกิดการดื้อต่ออินซูลิน
ความเครียดมีผลต่ออาการปวด
ผู้ที่เครียดเรื้อรังอาจจะมีอาการ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ
ความเครียดมีผลต่อระบบสืบพันธ์
- ความต้องการทางเพศจะลดลงทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ผู้ชายอาจจะมีปัญหาเรื่องการแข็งตัวขององคชาติ ส่วนผู้หญิงจะมีปัญหาเรื่องการถึงจุดสุดยอด
- การเป็นหมัน การปวดประจำเดือน และการแท้งก็พบได้บ่อย
ความเครียดมีผลต่อความจำและการเรียนรู้
ความสามารถในการเรียนรู้และความจำจะลดลง สมาธิจะไม่ดี เกิดอุบัติเหตุได้บ่อย