ข้อแตกต่างระหว่างคนที่ขี้ลืมกับผู้ที่ขี้ลืมจากสมองเสื่อมที่เริ่มป่วย



สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นสมองเสื่อมหรือที่เรียกว่า Dementia ,Alzheimer คงจะไม่มีปัญหาในการวินิจฉัยเพราะอาการจะเด่นชัด ญาติหรือเพื่อนคงจะสังเกตเห็นได้ชัด แต่สำหรับผู้ที่เริ่มเป็นอาการยังไม่มากที่เรียกว่า Mild cognitive impairment (MCI) จะมีอาการไม่เด่นชัด อาจจะมีปัญหาเรื่องความจำ การใช้ภาษา ความคิด หรือการตัดสิน ผิดไปจากปกติไม่มากทำให้คนทั่วไปไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นคนขี้ลืมตามอายุ หรือเป็นภาวะสมองเสื่อมที่เริ่มเป็น ซึ่งมักจะมีอาการดังต่อไปนี้

  • วางของผิดที่เช่นวางกุญแจในตู้เย็น หรือทำของหายบ่อยๆ
  • ลืมนัด หรือจำเรื่องที่พูดไม่ได้ หรือจำเหตุการณ์ไม่ได้บ่อยๆ
  • จำชื่อคนหรือสิ่งของที่คุ้นเคยไม่ได้
  • มีปัญหาเรื่องการสนทนากับผู้อื่น

หากพบคนที่รู้จักหรือญาติมีอาการดังกล่าวให้ไปพบแพทย์และเตรียมข้อมูล เช่นอาการต่างๆ ความถี่ของการเกิด เกิดเมื่อไร ความจำเป็นอย่างไรบ้าง พฤติกรรมมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ และเรียนรู้อาการของโรค Alzheimer

แบบสอบถามการประเมินโรค Alzheimer

แบบประเมินนี้มีทั้งหมด 21 ข้อตอบโดยญาติ เพื่อนสนิทหรือคนใกล้ชิด ใช้ประเมินว่ามีความเสี่ยงที่จะเป็นเป็นโรคสมองเสื่อมเริ่มต้นหรือไม่ แบบประเมินนี้เป็นเพียงการทดสอบเบื้องต้นหากท่านได้คะแนนสงสัยว่าจะเป็นโรคสมองเสื่อม ท่านจะต้องไปพบแพทย์เพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้อง

1การทดสอบความจำ

1.คนที่ท่านรู้จักทำเงินหายหรือไม่?

 ใช่ ไม่ใช่

2.ถ้าใช่ความจำของเขาแย่ลงในระยะเวลา2-3ปีนี้หรือไม่

 ใช่ ไม่ใช่

3.คนที่ท่านรู้จักถามคำถาม ประโยค หรือเรื่องราวบ่อยๆใน 1 วันหรือไม่ (2 คะแนน)

 ใช่ ไม่ใช่

4.คนที่ท่านรู้จักได้ผิดนัดและไม่สามรถแก้ปัญหาเองได้หรือไม่

 ใช่ ไม่ใช่

5.คนที่ท่านรู้จักเคยวางของผิดที่และหาไม่เจอมากกว่า 1 ครั้งต่อเดือนหรือไม่

 ใช่ ไม่ใช่

6.คนที่ท่านรู้จักสงสัยว่าจะมีคนขโมยของเมื่อเขาหาของไม่เจอหรือไม่

 ใช่ ไม่ใช่

2การทดสอบเรื่องคน เวลา สถานที่

7. คนที่ท่านรู้จักสับสนเรื่องเวลา วัน เดือน ปี และต้องตรวจสอบวัันเวลามากกว่า 2 ครั้งต่อวันหรือไม่ (2 คะแนน)

 ใช่ ไม่ใช่

8.คนที่ท่านรู้จักจำสถานที่คุ้นเคยไม่ได้?

 ใช่ ไม่ใช่

9.คนที่ท่านรู้จักจะสับสนมากขึ้นเมื่อออกนอกบ้านหรือไม่

 ใช่ ไม่ใช่

3การทดสอบเรื่องทักษะ

10.คนที่ท่านรู้จักมีปัญหาเรื่องการใช้เงินหรือไม่(การทอนเงิน การจ่ายเงิน)

 ใช่ ไม่ใช่

11.คนที่ท่านรู้จักมีปัญเรื่องการจ่ายเงินตามใบเสร็จรับเงิน หรือการทำธุระทางการเงินหรือไม่ (2 คะแนน)

 ใช่ ไม่ใช่

12.คนที่ท่านรู้จักมีปัญหาว่าจำไม่ได้ว่ารับประทานไปแล้วหรือยัง

 ใช่ ไม่ใช่

13.คนที่ท่านรู้จักมีปัญหาเรื่องการขับรถหรือไม่

 ใช่ ไม่ใช่

14.คนที่ท่านรู้จักมีปัญหาในการใช้เครื่องมือ(เตาไมโครเวฟ เตาอบ เตาแก๊ส โทรศัพท์ นาฬิกาปลุก หรือไม่?

 ใช่ ไม่ใช่

15.คนที่ท่านรู้จักมีปัญหาการซ่อมบ้าน หรือทักษะการดูแลบ้านหรือไม่ เช่นการเปลี่ยนก๊อกน้ำ การไขน๊อต

 ใช่ ไม่ใช่

16.คนที่ท่านรู้จักได้ลดกิจกรรมหลายๆอย่างเช่น งานอดิเรก การเล่นก็อลฟ์ การเต้นรำ การออกกำลังกายหรือไม่?

 ใช่ ไม่ใช่

4การประเมินความสามารถแยกแยะด้วยสายตา

17.คนที่ท่านรู้จักไม่คุ้นเคยกับสิ่งแวดล้อม เช่นจำเพื่อนบ้านไม่ได้ จำสถานที่ไม่ได้ (2 คะแนน)

 ใช่ ไม่ใช่

18.คนที่ท่านรู้จักสับสนเรื่องเส้นทาง?

 ใช่ ไม่ใช่

5การทดสอบด้านภาษา

19.คนที่ท่านรู้จักมีปัญหาเรื่องการใช้คำ

 ใช่ ไม่ใช่

20.คนที่ท่านรู้จักสับสนกับชื่อคนในครอบครัว เพื่อน(2 คะแนน)

  ใช่ ไม่ใช่

21.คนที่ท่านรู้จักจำคนที่คุ้นเคยไม่ได้? (2 คะแนน)

 ใช่ ไม่ใช่

คะแนน: 

การแปรผล

  • 0 ถึง 4:ยังไม่มีปัญหา
  • 5 ถึง 14:เริ่มมีปัญหาความจำเสื่อมซึ่งอาจจะเริ่มเป็น (MCI),หรือเป็นอาการเตือนของ Alzheimer's
  • มากกว่า 15 เป็นโรค Alzheimer

 

การแก้ปัญหาหากมีอาการสมองเสื่อมเบื้องต้น (MCI)

เรื่องความจำ

จะต้องฝึกนิสัยให้เป็นระเบียบ วางของให้เป็นที่เป็นทาง เช่นวางกุญแจไว้ที่เดียวตลอด จอดรถก็จอดไว้ที่เดียว หากจอดผิดที่ต้องเขียนโน๊ตเตือนความจำ ต้องมีการเชื่อมโยงกับกิจวัตรประจำวัน เช่นรับประทานยาหลังจากรับประทานอาหาร มีอุปกรณ์ช่วยจำเช่นกระดาษโน๊ตเตือนติดไว้ที่ตู้เย็นหรือโต๊ะทำงาน หรือตั้งนาฬิกาปลุกจากโทรศัพท์มือถือเป็นต้น

  • วางของให้เป็นที่เป็นทาง วางไว้ตำแหน่งเดิมหลังจากใช้งาน
  • หากจำเป็นต้องวางผิดตำแหน่งก็ให้พูดดังๆถึงตำแหน่งที่วาง เช่น วางกุญแจไว้บนโต๊ะ
  • หรืออาจจะเขียนโน๊ตไว้ในตำแหน่งที่เคยวาง

การช่วยการตัดสินใจ

ต้องมีตัวช่วยในการตัดสินใจเช่น ตารางปฏิทินจะต้องมีการกำหนดกิจกรรมที่จะต้องทำและมีการเตือน จะต้องป้องกันปัญหาที่จะทำให้ผู้ป่วยสับสน เช่น เลือกเสื้อผ้ามาให้ จำนวนชิ้นของอุกรณ์ทำครัวทำครัวต้องมีพอดีไม่มากไป จะต้องเขียนคำอธิบายติดไว้ เช่นในกล่องนี้มีอะไรอยู่ สวิตซ์นี้ปิดไฟดวงไหน ประตูนี้จะไปที่ไหนเป็นต้น

  • เขียนโน๊ตติดไว้ที่ที่มองเห็นได้ง่ายเช่นบนโต๊ะทำงาน หน้าจอคอมพิวเตอร์ หน้าตู้เย็น
  • เขียนนัดที่สำคัญ หรืองานที่สำคัญไว้บนปฏิทิน และอ่านทบทวนทุกเช้า หรืออาจจะเขียนนัดไว้ในปฏิทินบนคอมพิวเตอร์พร้อมทั้งตั้งเวลาเตือน
  • จดเบอร์โทรศัพท์และข้อมูลไว้ในสมุดโน๊ตหรือลงในคอมพิวเตอร์
  • หากมีปัญหาในการจำขั้นตอนก็ให้เขียนขั้นตอนลงในคอมพิวเตอร์หรือสมุดโน๊ต
  • ตั้งนาฬิกาเพื่อเตือนก่อนถึงเวลานัดหมาย

การแยกแยะเส้นทาง

เนื่องจากผู้ป่วยมักจะไม่สามารถแยกแยะเส้นทาง และระยะทางกลับบ้านได้อาจจะใช้เครื่องมือนำทางเช่น GPS ในการนำทาง ควรจะหลีกเลี่ยงการขับรถที่จราจรหนาแน่ หรือสภาพอากาศไม่ดี

  • ใช้แผนที่ช่วยในการเดินทาง
  • ให้เพื่อนหรือคนสนิทเตือนเมื่อถึงเวลา และเตือนสถานที่จะต้องไป

การใช้ภาษาและการเรียนรู้

แม้ว่าผู้ที่เริ่มป่วยจะมีปัญหาในการเลือกคำมาใช้อย่างเหมาะสม คนใกล้ชิดต้องพยายามพูดคุยกับผู้ป่วยเพื่อเป็นการฝึกทักษะ และเมื่อผู้ป่วยคิดไม่ออกก็ต้องให้เวลากับผู้ป่วย และต้องไม่หงุดหงิด การทำให้ผู้ป่วยหงุดหงิดจะทำให้เขาลืมมากขึ้น

  • ให้ตั้งใจฟัง
  • ทบทวนสิ่งที่ได้ยินมา
  • พูดเรื่องที่ได้ยินมาให้คนอื่นฟัง
  • มุ่งสนใจที่ละเรื่อง

การเข้าสังคม

ต้องพยายามให้ผู้ป่วยเข้าสังคม ฝึกให้ผู้ป่วยเรียกชื่อคนที่รู้จักทุกครั้งที่พบ ฝึกให้ผู้ป่วยจำเนื้อหาของการสนทนา หรือให้เล่าเรื่องใหม่ที่ได้ประสบมาซึ่งจะทำให้มีการฝึกสมองอยู่ประจำ ญาติ เพื่อน คนสนิทจะต้องมาพูดคุยกับผู้ป่วย และพาผู้ป่วยเข้าสังคม เช่นไปเดินเที่ยวตามสวนสาธารณะ ดูภาพยนต์ เต้นรำ ไปเดินตามศูนย์การค้าเป็นต้น

สาเหตุของความจำเสื่อม

ก่อนที่จะบอกว่าเป็นโรคสมองเสื่อมหรือ Alzheimer จะต้องหาสาเหตุที่พอจะแก้ไขได้เช่น

  • ภาวะซึมเศร้า ผู้ที่ซึมเศร้าจะมีขี้หลงขี้ลืมเนื่องจากขาดสมาธิ ไม่เป็นระเบียบ ไม่สามารถจดจำทั้งเหตุการณืและคำพูด ซึ่งบางครั้งแยกจากภาวะสมองเสื่อมยาก ภาวะซึมเศร้ามักจะพบในผู้ที่แยกตัวเอง มีสังคมไม่มากและมีภาวะมากระตุ้น เช่น การเกษียณอายุ การป่วยเป็นโรคร้ายแรง การสูญเสียคู่ครอง การต้องย้ายที่อยู่
  • ภาวะขาดวิตามินบี12 วิตามินบี12 จะทำให้สมองทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ การขาดวิตามินบี12 จะทำให้สมองพิการอย่างถาวร เนื่องจากผู้สูงอายุมักจะรับประทานอาหารได้ไม่มาก และการดูดซึมก็ไม่ดี หากมีปัญหาเรื่องการสูบบุหรี่ หรือดื่มสุราก็จะเพิ่มความเสี่ยงของการขาดวิตามินบี12
  • ปัญหาโรคของต่อมไทรอยด์ ภาวะทั้งไทรอยด์ทำงานมาก หรือไทรอยด์ทำงานน้อยก็จะมีผลต่อความจำ
  • ผู้ที่ติดสุราเรื้อรัง การดื่มสุรามากไปจะมีการทำลายเนื้อสมอง หากดื่มมากจะทำให้ความจำเสื่อม
  • ภาวะขาดน้ำ ผู้สูงอายุจะมีความเสี่ยงต่อการขาดน้ำ หากขาดน้ำจะทำให้สับสน ความจำเสื่อม ผู้สูงอายุควรจะดื่มน้ำให้พอ
  • ผลข้างเคียงจากยาชนิดต่างๆที่รับประทานเช่น ยานอนหลับ ยาแก้แพ้ ยาลดความดันโลหิต ยาแก้ปวดข้อ ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาต้านซึมเศร้า ยาลดความวิตกกังวล

การป้องกันความจำเสื่อม

การฝึกสมอง

สมองก็เหมือนกับกล้ามเนื้อหากเรายิ่งใช้กล้ามกล้ามเนื้อก็จะแข็งแรง สมองก็เช่นกันหากมีการฝึกฝนอยู่เป็นประจำ สมองก็จะมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างการฝึกสมอง

  • การเล่นเกมส์โดยเฉพาะเกมส์ที่ต้องวางแผน เช่นหมากรุก การต่อคำ Scrabble
  • เล่น crossword เล่น jigsaw
  • อ่านหนังสือพิมพ์ magazines เพื่อเพิ่มพูนความรู้
  • ฝึกนิสัยการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆเช่น เกทส์ อาหาร การขับรถไปเส้นทางใหม่ การเล่นเครื่องดนตรี ภาษา
  • เข้าเรียนรู้สิ่งใหม่ๆที่ไม่คุ้นทีคุณสนใจ
  • มีโครงการใหม่เช่น การจัดสวนเป็นต้น

การเตรียมตัวก่อนพบแพทย์

หากคนที่ท่านรู้จักมีอาการดังกล่าวข้างต้น ท่านจะต้องเตรียมข้อมูล และเตรียมคนที่จะให้ประวัติเนื่องจากแพทย์จะซักประวัติค่อนข้างจะละเอียด สิ่งที่ท่านต้องเตรียมได้แก่

  • ประวัติเกี่ยวกับความจำว่าเป็นมานานแค่ไหน และการเปลี่ยนแปลงแต่ละช่วงเวลา
  • ของหรือเหตุการณือะไรที่ผู้ป่วยชอบลืม
  • อาการความจำเสื่อมเป็นขึ้นทันทีหรือค่อยเป็นค่อยไป
  • ผู้ป่วยมีปัญหาเรื่องทักษะพื้นฐานในการดำรงชีวิตหรือไม่ ตั้งแต่เมื่อไร
  • ประวัติการรับประทานยา
  • ประวัติการนอนหลับ
  • ประวัติโรคประจำตัวเช่นโรคซึมเศร้า

อาการสูญเสียความจำ | อาหารบำรุงสมอง | สมองเสื่อมเริ่มต้น | ขี้หลงขี้ลืม | วิธีป้องกันอาการขี้ลืม