พิษสุราเรื้อรัง
|
ผู้ป่วยที่เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง และเกิดอาการลงแดง เมื่อหยุดสุราก็ยังไม่ยอมรับว่าตัวเองเป็นโรค ต้องอาศัยเพื่อนร่วมงาน และครอบครัวสังเกตอาการ และส่งผู้ป่วยเข้ารักษาตั้งแต่เริ่มต้นเป็น โรคพิษสุราเรื้อรัง เป็นโรคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆจนกระทั่งเกิดอาการทางประสาท และทางร่างกาย สุขภาพ
แอลกอฮอล์จะมีผลต่อทุกเซลล์ของร่างกายโดยเฉพาะระบบประสาท เมื่อได้รับแอลกอฮอล์เป็นประจำ สมองจะปรับตัวต้องการแอลกอฮอล์เพื่อการดำเนินชีวิตประจำวัน การทำงาน ความคิด อารมณ์ และการกระทำทั่งหมดขึ้นกับแอลกอฮอล์
ยังไม่มีการแยกที่เด่นชัดระหว่างติดสุราและพิษสุราเรื้อรัง แต่อาการเตือนว่าจะเป็นพิษสุราเรื้อรังได้แก่เมื่อหยุดสุราจะมีอาการไม่มีความสุข
ผู้ที่ติดสุรา | ผู้ที่เป็นพิษสุราเรื้อรัง |
จะต้องมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งหรือมากกว่า
|
ผู้ที่เป็นพิษสุราเรื้อรังจะมีลักษณะดังนี้
|
ผู้ที่เป็นพิษสุราเรื้อรังจะดื่มสุราโดยไม่จำกัด ดื่มได้ตลอดเวลา มักจะปฏิเสธว่าไม่ติดสุรา ดื่มทั้งๆที่รู้ว่าเป็นสิ่งไม่ดี หลังจากดื่มไปได้ระยะหนึ่งผู้ป่วยจะเริ่มดื้อต่อแอลกอฮอล์จะต้องเพิ่มปริมาณสุรา ผู้ป่วยมักจะมีอาการเมาค้างทำให้ไปทำงานไม่ทัน ผู้ป่วยมักจะมีประวัติดื่มสุราตั้งแต่เช้า และมักชอบใช้ความรุนแรงกับครอบครัว

ผลเสียของโรคพิษสุราเรื้อรัง
- ได้รับแอลกอฮอล์เกินขนาดซึ่งอาจจะทำให้เสียชีวิต มักเกิดในวัยรุ่นที่ต้องการแสดงว่าตัวเองคอแข็ง
- อุบัติเหติ การดื่มเพียง 1 หน่วยสุราก็ทำให้ความสามารถในการขับขี่ลดลง
- ความรุนแรงในครอบครัว ผู้หญิงและเด็กที่มีพ่อบ้านขี้เมามักจะได้รับความรุนแรงบ่อย เด็กมักจะเป็นโรคซึมเศร้า วิตกกังวล และมีความมั่นใจในตัวเองต่ำ
- ผลต่อหัวใจและหลอดเลือด ผู้ที่ดื่มมากกว่า 3 หน่วยสุราจะมีความดันโลหิตสูงกว่าผู้ที่ไม่ดื่ม สำหรับผู้ที่ดื่มครั้งละมากกว่า 9 หน่วยสุราสัปดาห์ละ 2 ครั้งจะมีโอกาสเกิดโรคหัวใจ 2-3 เท่าของผู้ไม่ดื่ม
- มะเร็ง ตัวแอลกอฮอล์ไม่ได้เป็นสารก่อมะเร็งแต่จะส่งเสริมให้เกิดมะเร็งจากสารอื่นได้ง่าย เช่นบุหรี่ หากใช้ร่วมกันจะเกิดโรคมะเร็งปาก กล่องเสียงและหลอดอาหารได้มาก
- ตับอักเสบ ไขมันเกาะตับ และตับแข็ง
- การดื่มสุราทำให้เกิดท้องร่วงและริดสีดวงทวาร และแผลในกระเพาะอาหาร
การวินิจฉัยการวินิจฉัยทำได้ค่อนข้างยากโดยเฉพาะในผู้ป่วยสูงอายุเนื่องจากความจำก็ไม่ดี สับสน และหกล้มอาการต่างๆเหล่านี้ก็สามารถพบได้ในคนแก่ เมื่อมีผู้ป่วยที่มีประวัติดื่มสุราและสงสัยว่าจะเป็นพิษสุราเรื้อรังการเจาะเลือดตรวจไม่ช่วยในการวินิจฉัย ต้องอาศัยการซักประวัติซึ่งมีคำถามง่ายๆที่ควรจะถามผู้ป่วยดังนี้
- ปริมาณที่ดื่ม
- ความถี่ในการดื่ม
- ดื่มทันที่หลังตื่นนอนหรือไม่
- เคยพยายามที่จะอดสุราหรือไม่
- โกรธเมื่อมีคนวิจารณ์เรื่องดื่มสุรา
- มีความรู้สึกผิดหรือไม่
- มีอาการลงแดงเมื่ออดสุราหรือไม่
การอดสุรา | โรคพิษสุราเรื้อรัง | คุณเมาหรือไม่ | อาการขาดสุรา | สุราช่วยลดอัตราการเสียชีวิต | ผลเสียต่อสุขภาพ | การรักษา