การป้องกันโรคอัลไซเมอร์
จากการศึกษาทางระบาดวิทยา กิจกรรมที่ใช้ทักษะทางสติปัญญาเช่นเล่นหมากรุก หรือปฏิสัมพันธ์ทางสังคมพบว่าช่วยลดความเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์ แม้จะไม่พบความสัมพันธ์เชิงเหตุผลก็ตาม
การศึกษาจากทั่วโลกเพื่อวัดการป้องกันหรือชะลอการเกิดโรคอัลไซเมอร์มักให้ผลการศึกษาที่ขัดแย้งกัน ในปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานแน่ชัดสนับสนุนว่ามีวิธีใดที่ป้องกันโรคอัลไซเมอร์อย่างมีประสิทธิผล อย่างไรก็ตามการศึกษาทางระบาดวิทยาหลายชิ้นแสดงความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆ อาทิอาหาร โรคหลอดเลือดหัวใจ ยา หรือกิจกรรมที่ใช้ทักษะทางสติปัญญา กับการลดความเสี่ยงเป็นโรคอัลไซเมอร์ แต่ยังจำเป็นต้องมีงานวิจัยต่อไปเพิ่มเติมเพื่ออธิบายบทบาทว่าปัจจัยเหล่านี้ลดอัตราการเกิดของโรคนี้ได้อย่างไร
ส่วนประกอบของอาหารเมดิเตอร์เรเนียน ได้แก่ ผักและผลไม้ ขนมปัง ข้าวสาลีและธัญพืชต่างๆน้ำมันมะกอกปลา และไวน์แดง ทั้งหมดสามารถลดความเสี่ยงและช่วงเวลาการเป็นโรคอัลไซเมอร์
- รับประทานอาหาร organic หลีกเลี่ยงอาหารที่ผ่านขบวนการผลิตเนื่องจากมีสารที่เป็นอันตรายต่อสมอง เช่น น้ำตาล น้ำตาลผลไม้ (แนะนำอย่ารับประทานเกินวันละ 25 กรัม) ยาฆ่าแมลง DDT รับประทานเนื้อ นม ที่เลี้ยงด้วยหญ้า
- ทดแทนน้ำตาลด้วยไขมันที่มีคุณภาพ เช่น อะโวคาโด เนยที่ทำจากนมวัวที่เลี้ยงด้วยหญ้า น้ำมันมะพร้าว ถั่วต่างๆ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันทรานส์
- หลีกเลี่ยงอาหารที่มี gluten(พบมากในแป้งสาลี) และ casein (พบมากใน นม pasteurized) gluten จะกระตุ้นภูมิคุ้มกัน เกิดการอักเสบและภูมิคุ้มกันทำร้ายตัวเอง
- รักษาสมดุลของเชื้อในลำไส้ โดยการหลีกเลี่ยงอาหารที่ผ่านขบวนการผลิต หลีกเลี่ยงน้ำตาล อาหารผ่านการปรับแต่พันธุกรรม ยาปฏิชีวนะน้ำที่มีคลอรีน และรับ probiotic
วิธีการอื่นที่ช่วยป้องกันโรคสมองเสื่อม
- ให้อดอาหารเป็นระยะ เนื่องจากเมื่อร่างกายขาดอาหารร่างกายใช้ Ketones มาให้พลังงานแทนซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญในการป้องกันโรคอัลไซเมอร์
- รับประทานอาหารที่มีกรดโฟลิกสูงได้แก่ ผักและผลไม้ และควรจะรับประทานผักสดมากกว่าสุข
- ให้รับวิตามินดีให้เพียงพอ อาจจะโดยการรับประทานหรือการอาบแดด วิตามินดี จะลดการอักเสบซึ่งเป็นสาเหตุของโรคอัลไซเมอร์
- หลีกเลี่ยงสารปรอท วัสดุที่ใช้อุดฟันจะมีสารปรอทประมาณร้อยละ50 ให้ปรึกษาทันฑแพทย์เกี่ยวกับวัสดุที่ใช้อุดฟัน
- ลดการใช้สารที่มีอลูมิเนียม อลูมิเนียมเป็นส่วนประกอบสำคัญ ในยาดับกลิ่นกาย และวัคซีน
- ลดการใช้ยา นอนหลับ ยาต้านโรคซึมเศร้า ยาลดไขมันกลุ่ม Statin
- วิตามินหลายชนิดเช่น วิตามินบี12 วิตามินบี3 วิตามินซี หรือกรดโฟลิก ในบางงานวิจัยพบว่าช่วยลดความเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์ แต่ในบางการศึกษากล่าวว่าไม่พบผลของวิตามินต่อการเกิด หรือการดำเนินโรคอย่างมีนัยสำคัญ ซ้ำยังอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่สำคัญ
- สารเคอร์คิวมิน (curcumin) จากขมิ้นพบว่ามีประสิทธิผลบ้างในการป้องกันการทำลายสมองในหนูทดลอง
แม้ว่าปัจจัยเสี่ยงด้านโรคหลอดเลือดหัวใจ เช่น ภาวะเลือดมีคอเลสเทอรอลมาก ความดันโลหิตสูง เบาหวาน และการสูบบุหรี่ จะเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงต่อการเกิด และระยะเวลาการดำเนินโรคอัลไซเมอร์ หรือช่วยทำให้การดำเนินโรคอัลไซเมอร์ดีขึ้น
- อย่างไรก็ตามการใช้ยากลุ่มยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตรอยด์ (NSAIDs) เช่น แอสไพริน ไอบูโปรเฟน ช่วยลดความเสี่ยงจะเป็นโรคอัลไซเมอร์ในบางคน
- กิจกรรมที่ใช้ทักษะทางสติปัญญาเช่นอ่านหนังสือ เล่นหมากกระดาน เล่นปริศนาอักษรไขว้ เล่นดนตรี หรือมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมช่วยชะลอการเกิดหรือลดความรุนแรงของโรคอัลไซเมอร์ การพูดได้สองภาษาสามารถชะลอการเกิดโรคอัลไซเมอร์เช่นกัน
สรุปว่าไม่มีหลักฐานอันสอดคล้องกันหรือเชื่อได้ว่าแปะก๊วยให้ผลในการป้องกันความบกพร่องของการรู้ และการศึกษาล่าสุดสรุปว่าแปะก๊วยไม่มีผลในการลดอัตราอุบัติการณ์ของโรคอัลไซเมอร์
อาหารจะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคอัลไซเมอร์ Alzheimer
จากการวิจัยพบว่าอาหารจะมีส่วนสำคัญของการเกิดโรคอัลไซเมอร์โดยเฉพาะอาหารที่ผ่านขบวนการผลิต ซึ่งจะมีไขมันที่ไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพเป็นจำนวนมากและมีไขมันที่ดีต่อสุขภาพลดลง และอาหารยังอุดมไปด้วยอาหารจำพวกแป้ง ปัจจัยเหล่านี้จะเสริมกันทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอัลไซเมอร์
ผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคอัลไซเมอร์
ภาวะดื้อต่ออินซูลินจะเป็นความเสี่ยงของเกิดโรคหลอดเลือดแข็งซึ่งภาวะดังกล่าวจะพบในผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจและโรคอัลไซเมอร์ เชื่อว่า ผู้ที่สูบบุหรี่ ผู้ที่ดื่มสุรา เบาหวาน ผู้ที่น้ำตาลในเลือดสูง และอ้วนจะเป็นความเสี่ยงร่วมของการเกิดโรคทั้งสอง
น้ำตาลในเลือดสูงจะสัมพันธ์กับการเกิดโรคอัลไซเมอร์
มีการศึกษาตีพิมพ์ปี2013 พบว่าน้ำตาลสูงจะมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคอัลไซเมอร์น้ำตาลที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 70-85 โดยไม่ควรเกิด 95 มก%
การออกกำลังกายทำให้โรคอัลไซเมอร์ดีขึ้น
มีการรายงานว่าการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะป้องกันสมองจากโรคสมองเสื่อและอัลไซเมอร์
- ผู้ป่วยที่เริ่มเป็นโรคนี้หากออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะพบว่าเรื่องความจำและอารมณ์ดีขึ้นเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ออกกำลัง
- พบว่าการออกกำลังแบบ aerobic สัปดาห์ละ 4 ครั้งติดต่อกันหกเดือนพบว่าระดับ tau tangles (สารที่บ่งถึงโรคอัลไซเมอร์) ลดลงในกลุ่มที่ออกกำลังกาย
- การออกกำลังกายทำให้ขบวนการเรียนรู้ การตัดสินใจ ดีขึ้น
การนอนหลับสนิทและพอเพียงจะช่วยป้องกันโรคได้
สมองของคนเราจะขับของเสียรวมทั้งproteins amyloid-beta ในช่วงที่หลับสนิทเซลล์สมองจะลดขนาดลงทำให้เกิดการขับของเสียดีขึ้นดังนั้นจึงต้องหลับสนิทอย่างเพียงพอ
- เด็กวัยเรียนควรจะได้นอนวันละ 10-13 ชั่วโมง
- ผู้ที่มีอายุ118-64 ปีควรจะนอนวันละ7-9 ชั่วโมง
- ผู้ที่อายุมากกว่า 65 ปีนอนวันละ7-8 ชั่วโมง
การดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ |
สาเหตุของโรคอัลไซเมอร์ ระยะความรุนแรงของโรค พฤติกรรมของผู้ป่วยอัลไซเมอร์ การดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ การวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์ ยารักษาความจำเสื่อม การป้องโรคอัลไซเมอร์ ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค ปัญหารการนอนหลับ การรักษาโรคอัลไซเมอร์ อาการของโรคอัลไซเมอร์