การออกกำลังต้องปรึกษาแพทย์หรือไม่

แม้ว่าการออกกำลังกายจะมีประโยชน์มากมาย แต่ก็อาจจะมีโทษหรือผลเสียสำหรับคนบางกลุ่ม กลุ่มคนเหล่านี้สมควรที่ปรึกษาแพทย์ เพื่อประเมินว่าจะออกกำลังได้หรือไม่ จะออกกำลังอย่างไร หนักแค่ไหน การออกกำลังกายหนักปานกลางจะมีประโยชน์ในการป้องกันโรค หากท่านมีโรคประจำตัวเหล่านี้ควรจะต้องพบแพทย์ก่อนออกกำลังกาย

  • ความดันโลหิตสูง
  • โรคเบาหวาน
  • โรคหัวใจ
  • โรคหอบหืด
  • โรคไต
  • โรคข้อ

และควรจะปรึกษาแพทย์หากมีอาการใดอาการหนึ่งเกิดขึ้น

  • มีอาการแน่หน้าอก หรือแน่คอบริเวณกรามขณะออกกำลังกาย
  • เป็นลมหมดสตหรือหน้ามืดิขณะออกกำลังกาย
  • เหนื่อยง่ายแม้ว่าจะออกกำลังกายเพียงเล็กน้อย หรือนอนแล้วจะแน่นหน้าอก
  • บวมหลังเท้า
  • มีโรคข้อเสื่อมหรือข้ออักเสบ
  • หัวใจเต้นเร็ว
  • แพทย์เคยบอกว่าเป็นโรคหัวใจ
  • มีประวัติโรคหัวใจในครอบครัวสูบบุหรีหรือเคยสูบบุหรี่

 

สมาคมแพทย์ American college sport and medicine ได้แนะนำว่าหากจะออกกำลังกายอย่างหนักหากมีอาการมากกว่า 2 ข้อจะต้องปรึกษาแพทย์ก่อนออกกำลังกาย

คำแนะนำสำหรับผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงหากจะออกกำลังกาย

การออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยความดันโลหิตสูง

  • หากออกกำลังปานกลางไม่ต้องตรวจร่างกายก่อนออกกำลังกาย
  • ผู้ที่สูงอายุหากออกกำลังกายอย่างหนักจะต้องตรวจร่างกาย แต่สำหรับคนอายุน้อยไม่ต้องตรวจ

สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจมากกว่า 2 ข้อ

  คนที่มีปัจจัยเสี่ยง 2 ข้อ คนที่มีโรค
ความหนักของการออกกำลัง คนหนุ่ม คนแก่ ไม่มีอาการ    
ปานกลาง ไม่ต้องตรวจ ไม่ต้องตรวจ ไม่ต้องตรวจ ต้องตรวจ  
หนัก ไม่ต้องตรวจ ต้องตรวจ ต้องตรวจ ต้องตรวจ  

อายุน้อยกว่า40,50ใน ชายและหญิง

ปัจจัยเสี่ยงได้แก่ สูบบุหรี่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นโรคหัวใจก่อนวัย

โรคหัวใจ โรคปอด โรคประจำตัวอื่นๆ


เรื่องเกี่ยวกับการออกกำลังกายที่น่าสนใจ

แพทย์จะประเมินสุขภาพของท่าน บางรายอาจต้องตรวจหัวใจโดยการวิ่งสายพาน treadmill exercise

หากขณะออกกำลังกายและเกิดอาการดังต่อไปนี้ ท่านควรจะหยุดการออกกำลังกาย และปรึกษาแพทย์

  • เป็นไข้หวัด หรือโรคอื่นๆ
  • รู้สึกเหนื่อยง่ายกว่าปกติ
  • บวม ปวดกล้ามเนื้อหรือปวดข้อ
  • เจ็บหน้าออก หรือหัวใจเต้นเร็ว
  • หายใจเหนื่อย
  • เป็นไส้เลื่อน

ข้อห้ามในการออกกำลังกายเด็ดขาด

  1. หัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
  2. หัวใจเต้นผิดปกติ
  3. หัวใจวายที่ยังคุมอาการไม่ได้
  4. โรคติดเชื้อ

ปรึกษาแพทย์ก่อนออกกำลังกายในภาวะต่อไปนี้

  • ความดันโลหิตยังควบคุมไม่ได้ >200/115
  • โรคหัวใจ
  • เกลือแร่บกพร่อง
  • ตั้งครรภ์
  • โรคติดเชื้อ

ทบทวน12-Dec-2014

การออกกำลัง | เมื่อไร่ต้องปรึกษาแพทย์ | ตะคริว | คำนิยาม | ออกกำลังแค่ไหนถึงพอ | ออกกำลังอย่างปลอดภัย | วิธีออกกำลัง | การประเมินการออกกำลัง | จะออกกำลังนานแค่ไหน | การอุ่นร่างกาย | ทำไมต้องออกกำลัง | การดื่มน้ำก่อนออกกำลังกาย | ออกกำลังกายมากไป

เอกสารอ้างอิง

การออกกำลังกาย คำนิยามการออกกำลังกาย